ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อำเภองาว"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nubbkao (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 159:
พ.ศ. 2272 สวาธุหลวง (เจ้าอาวาส) วัดนายาง ตั้งตัวเป็นตนบุญเลี้ยงผีพราย มีคนเข้าหานับถือมาก ธุหลวงวัดสามขากับธุหลวงวัดบ้านฟ่อนสึกออกมาเป็นเสนา เวลานั้นเมืองลำปางไม่มีเจ้าเมืองปกครอง มีแต่พ่อเมืองทั้ง 4 ดูแลบ้านเมือง เจ้าเมืองลำพูนได้ข่าวตนบุญวัดนายาง จึงส่งกองทัพลำพูน นำโดยท้าวมหายสมาปราบ สู้รบกันที่ป่าทันคุมเมือง ฝ่ายตนบุญวัดนายางแตกพ่ายไป แกนนำทั้ง 3 ถูกยิงเสียชีวิต ท้าวมหายสมาตั้งทัพที่วัดพระธาตุลำปางหลวง ท้าวมหายสออกอุบายส่งหาญฟ้าแมบ หาญฟ้างำ หาญฟ้าฟื้นไปทำทีเจรจากับแสนหนังสือ แสนเทพ นายเรือน ชะเรหน้อย ท้าวลิ้นก่าน แต่เกิดการสู้รบกันขึ้น ชาวลำปางแตกหนีไปอยู่เมืองต้า เมืองลอง เมืองเมาะ เมืองขาง
 
{{คำพูด|ท้าวมหายสละพูนถอยฅืนมาอยู่วัดหลวงลำพาง แล้วแต่งใช้เรียกร้องไพร่บ้านไทเมืองออกมาแล้วเก็บเบี้ยเก็บเงินหลังค่าหลังค่าตอ ผู้ใดขัดขวางหล้างควรข้าค็ข้า ควรตีค็ตี มีอันใดริบล้อนเอาเสีย ดั่งร้องวังฝ่ายเหนืออันเปนผู้แต่งบ้านปองเมือง มีแสนหนังสือ แสนเทพ นายเรือน ชะเรหน้อยขัดขวาง บ่สู้อ่อนน้อม ท้าวมหายสละพูนจิ่งแต่งหานฟ้างำ หานฟ้าแมบ หานฟ้าฟื้น ขึ้นไพพร้อมกับแสนหนังสือแลท้าวขุนยังสนามเหมือนจักทือคำเมือง หานฟ้าแมบ ฟ้างำ ฟ้าฟื้น สัญญาพรับตาร่อกันลวดฟันแทงกันยังสนามที่นั้น เปนอันขร้ำเขรือกโกลาหลแตกกระจัดกระจายเข้าห้วยท้างหว่างดอย ขุนแต่งเมืองคือชะเรหน้อย แลท้าวิ้นก่านท้าวลิ้นก่าน นายน้อยธัมม์ แลชาวบ้านชาวเมือง ละบ้านชองหอเรือนเสีย หนีไพลี้อยู่เมืองต้า เมืองลอง เมืองเมาะ เมืองขางชู่แห่ง ค็มีแล|ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่}}<ref>ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ฉบับเชียงใหม่ 700 ปี. เชียงใหม่:ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่ สถาบันราชภัฎเชียงใหม่, 2538</ref>
 
ตำนานมุขปาฐะของท้องถิ่นเล่าว่า หนานข้อมือเหล็กเป็นศิษย์ของวัดนายาง ภายหลังเป็นองครักษ์ให้ท้าวลิ้นก่าน เมื่อท้าวลิ้นก่านและชะเรหน้อยหลบหนีไปยังประตูผา กองทัพเมืองลำพูนติดตามมา หนานข้อมือเหล็กจึงสู้รบกับกองทัพลำพูนตายไปจำนวนมาก สามารถปกป้องท้าวลิ้นก่านกับชะเรหน้อยไว้ได้ กองทัพลำพูนถอยทัพกลับเมืองลำปาง ส่วนหนานข้อมือเหล็กสู้รบกับทหารลำพูนจำนวนมากจนตัวเองจนมุมยืนหยัดพิงหน้าผาตาย ต่อมาท้าวลิ้นก่านและชะเรหน้อยสร้างศาลเพียงตาให้แก่หนานข้อมือเหล็ก ซึ่งรู้จักกันในเวลาต่อมาว่า “เจ้าพ่อประตูผา”