ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กรีโกรี เปเรลมัน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Prame tan (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Portalian (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 20:
'''กริกอรี ยาคอฟเลวิช เพเรลมาน''' ({{lang-ru|риго́рий Я́ковлевич Перельма́н}} , {{lang-en|Grigori Yakovlevich Perelman}}) หรือที่รู้จักในชื่อ '''"กริชา เพเรลมาน"''' เป็น[[นักคณิตศาสตร์]]ชาวรัสเซียผู้อุทิศตนให้กับ[[:en:Riemannian geometry|เรขาคณิตแบบรีมันน์]] (Riemannian geometry) และ [[:en:geometric topology|ทอพอโลยีเชิงเรขาคณิต]] มีชื่อเสียงจากการพิสูจน์ปัญหา [[ข้อความคาดการณ์ของปวงกาเร]] ได้เป็นคนแรก เขาได้รับรางวัล[[ฟีลด์สมีดัล]]ในปี 2006 แต่เขาได้ปฏิเสธที่จะรับรางวัลนี้ และในวันที่ 1 กรกฎาคม ปี 2010 เพเรลมานตัดสินใจที่จะไม่รับรางวัล[[มิลเลนเนียม ไพรซ์]]
 
ปัจจุบัน เพเรลมานอาศัยอยู่กับมารดาซึ่งชรามากใน[[เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก]] เขาเป็นหนึ่งในนักคณิตศาสตร์ที่ไม่ชอบออกสื่อและหาตัวได้ยาก จึงมีข้อมูลเกี่ยวกับตัวเขาน้อยมาก <ref name="ข่าวจากผู้จัดการออนไลน์">[http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9530000044985 “กริกอรี เพเรลมัน” นักคณิตศาสตร์ผู้ไม่แยแสเงินรางวัล]</ref>
 
== ประวัติและการศึกษา ==
 
กริกอรี เพเรลมาน เกิดเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน ค.ศ. 1966 ที่เมือง[[เลนินกราด]] [[สหภาพโซเวียต]] (ปัจจุบันคือเมือง[[เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก]] [[สหพันธรัฐรัสเซีย]]) เขาเข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนมัธยมเลนินกราด 239 (ปัจจุบันคือตึกบรรยายเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก 239) สถาบันคณิตศาสตร์และฟิสิกส์แนวหน้า ปี ค.ศ. 1982 เขาเป็นตัวแทนเข้าร่วมการแข่งขัน[[คณิตศาสตร์โอลิมปิก]] ซึ่งเขาทำคะแนนได้ดีมากคะแนนเต็มและได้เหรียญทองกลับมายังบ้านเกิด <ref name="คณิตศาสตร์โอลิมปิก">[http://www.imo-official.org/participant_r.aspx?id=10481 ผลคะแนนของเพเรลมานในการแข่งขันคณิตศาสตร์โอลิมปิก]</ref> ปลายทศวรรษที่ 1980 เขาเข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยรัฐเลนินกราด (มหาวิทยาลัยปีเตอร์สเบิร์กในปัจจุบัน) ในสาขาคณิตศาสตร์และกลศาสตร์ ได้ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตจากวิทยานิพนธ์เรื่อง "พื้นที่อานม้าในช่องว่างของยูคลิด (Saddle surfaces in Euclidean spaces)"
 
หลังจบการศึกษา เขาเริ่มทำงานในแผนกเลนินกราดที่สถาบันสเตคลอฟ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์แห่งสหภาพโซเวียต โดยมี[[:en:Alexandr Alexandrov|อเล็กซานเดอร์ อเล็กซานดรอฟ]] และ[[:en:Yuri Burako|ยูริ บูราโก]] เป็นที่ปรึกษา ปี ค.ศ. 1992 เขาได้รับเชิญให้ไปทำงานที่สถาบันคอร์เรนท์แห่ง[[มหาวิทยาลัยนิวยอร์ก]] และมหาวิทยาลัยสโตนี่บรู้คแห่งละภาคเรียน ที่สโตนี่บรู้ค เขาได้ศึกษาเกี่ยวกับความโค้งของริกกี้ (Ricci curvature) ค.ศ. 1993 เขาได้เข้าเป็นสมาชิกสมาคมมิลเลอร์เพื่อการวิจัยของ[[มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย]]เป็นเวลา 2 ปี เมื่อหมดสมาชิกภาพในฤดูร้อนปี ค.ศ. 1995 เขาจึงกลับไปค้นคว้าวิจัยต่อที่สถาบันสเตคลอฟ
บรรทัด 52:
เดือนพฤษภาคม ปี 2006 คณะกรรมการเก้านักคณิตศาสตร์ได้มอบเหรียญ "ฟีลด์สมีดัล" ให้แก่เพเรลมาน ในฐานะที่เขาเป็นผู้ไขความลับของทฤษฎีปวงกาเรได้ ฟีลด์สมีดัลเป็นรางวัลที่มีค่าสูงสุดในวงการคณิตศาสตร์ ทุกๆ สี่ปีจะมีครั้งหนึ่ง และแต่ละครั้งก็จะมอบเพียงสองถึงสี่เหรียญเท่านั้น
 
เดือนมิถุนายน ปีเดียวกัน เซอร์จอห์น บอล ประธาน[[:en:International Mathematical Union|สหพันธ์คณิตศาสตร์แห่งชาติ]] (IMU) ได้เดินทางไปยืนข้อเสนอให้กับเพเรลมาน ณ เมือง[[เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก]] แต่เขาก็ปฏิเสธ สองสัปดาห์ต่อมาเพเรลมานออกมากล่าวว่า "เขาให้ผมมาสามตัวเลือก: ตกลงและมารับ, ตกลงแต่ไม่มารับ เดี๋ยวเราจะส่งเหรียญมาให้เอง, หรือไม่ตกลง ผมยืนกรานตั้งแต่ต้นว่าผมเลือกข้อสาม เพราะผมไม่เหมาะสมที่จะรับรางวัลนี้ ทุกคนรู้แล้วว่าผมพิสูจน์ได้ แต่จะเข้าใจหรือไม่ก็อีกเรื่องหนึ่ง" <ref name="Nasar">Nasar and Gruber</ref> "ผมไม่สนใจเงินทองหรือชื่อเสียง ผมไม่อยากเป็นเหมือนสิงสาในสวนสัตว์ ผมไม่อยากเป็นวีรบุรุษโลกคณิตฯ ผมไม่อยากเป็นคนประสบความสำเร็จด้วยซ้ำ ผมไม่อยากให้ทุกคนมาสนอกสนใจผมเลย"
 
วันที่ 22 สิงหาคม เพเรลมานออกมาปฏิเสธอย่างเป็นทางการต่อหน้าสภานักคณิตศาสตร์นานาชาติ ณ กรุง[[มาดริด]] เขาไม่เข้ารับเหรียญรางวัล หรือแม้แต่เข้าร่วมพิธีด้วยซ้ำ ถือเป็นนักคณิตศาสตร์คนแรกที่ปฏิเสธฟีลด์สมีดัล
บรรทัด 73:
[[หมวดหมู่:บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่]]
[[หมวดหมู่:นักคณิตศาสตร์ชาวรัสเซีย]]
[[หมวดหมู่:ผู้ได้รับรางวัลเหรียญฟิลด์ส|กริกอรี เพเรลมาน ]]
[[หมวดหมู่:ชาวรัสเซียเชื้อสายยิว]]
[[หมวดหมู่:บุคคลจากเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก]]