ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ตำบลเกาะสาหร่าย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Ekströmz (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Ekströmz (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
{{กล่องข้อมูล ตำบล|name=เกาะสาหร่าย|roman_name=Ko Sarai|province=สตูล|district=เมืองสตูล|area_footnotes=|area=218.08|population_footnotes=|population_as_of=เดือนสิงหาคม 2564|population=3,857|density=771.40|postal_code=91000|geocode=940309|image=TaRuTao11.jpg|image_caption=อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา ตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลเกาะสาหร่าย อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล}}{{กล่องข้อมูล องค์การบริหารส่วนตำบล
<!-- ข้อมูลจำเป็น -->|ชื่อ=เกาะสาหร่าย|ประชากร=3,857|map_caption=ที่ตั้งที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะสาหร่าย|คำขวัญ=|ชื่อนายกองค์การบริหารส่วนตำบล=|จังหวัด=สตูล|อำเภอ=เมืองสตูล|พื้นที่=218.08|coordinates={{coord|6|39|56.9|N|99|51|00.0|E|display=inline, title}}|ปีสำรวจประชากร=เดือนสิงหาคม 2564|ความหนาแน่น=771.40|รหัส อปท.=06940307|ที่ทำการ=หมู่ที่ 6 ตำบลเกาะสาหร่าย อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล 91000|เว็บไซต์={{URL|https://www.kohsarai.go.th}}|pushpin_map=Thailand Satun}}'''เกาะสาหร่าย''' เป็นตำบลหนึ่งใน[[อำเภอเมืองสตูล]] [[จังหวัดสตูล]] อยู่ทางทิศตะวันตกของตัวอำเภอ ห่างจากที่ว่าการอำเภอเมืองสตูลประมาณ 35 กิโลเมตร และห่างจากศาลากลางจังหวัดสตูลประมาณ 30 กิโลเมตร เป็นที่ตั้งของเกาะสำคัญ อาทิ [[เกาะตะรุเตา]] [[เกาะหลีเป๊ะ]] [[เกาะอาดัง|เกาะอาดัง-เกาะราวี]] และอีก 69 เกาะที่อยู่ในเขต[[อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา]]
[[ไฟล์:Ao Ta Lo Woo Pier, Ko Tarutao - Tarutao National Park (16750772789).jpg|thumb|275x275px|อ่าวตะโละวาว เกาะตะรุเตา]]
[[ไฟล์:Beach_of_Koh_Tarutao_(2007-03-450).jpg|thumb|275x275px|ชายหาดของเกาะตะรุเตา]]
[[ไฟล์:Ao_Sunset,_Koh_Lipe_(2007-03-321).jpg|thumb|275x275px|หาดซันเซ็ท]]
[[ไฟล์:Koh_Adang_sunset.jpg|thumb|391x391px|เกาะอาดังยามพระอาทิตย์อัสดง]]
 
== ที่ตั้งและอาณาเขต ==
เส้น 92 ⟶ 96:
| align="right" |414
|-
|**หลีเป๊ะพัฒนา<ref name=":0">{{cite journal|date=October 31, 2019|title=ประกาศจังหวัดสตูล เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตหมู่บ้าน|url=http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/D/083/T_0168.PDF|journal=ราชกิจจานุเบกษา|language=|volume=136|issue=83 ง|pages=168-169}}</ref>
| align="right" style="background-color:#cfc;" |366
| align="right" style="background-color:#cfc;" |357
เส้น 136 ⟶ 140:
| align="right" style="background:#cccccc;" |5,146
|}
<nowiki>**</nowiki>ในวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2562 ทางราชการได้แยกพื้นที่หมู่ 7 บ้านเกาะอาดัง (เกาะหลีเป๊ะ) จัดตั้งเป็นหมู่บ้านใหม่อีก 1 หมู่บ้าน ชื่อว่า "หมู่บ้านหลีเป๊ะพัฒนา" และกำหนดให้เป็นพื้นที่หมู่ 8 ของตำบลเกาะสาหร่าย อำเภอเมืองสตูล<ref name=":0" />
 
== สถานที่สำคัญ ==
 
* '''[[อุทยานแห่งชาติตะรุเตา]]''' เป็น[[อุทยานแห่งชาติ]]อยู่ใน[[ทะเลอันดามัน]] บริเวณ[[ช่องแคบมะละกา]] [[มหาสมุทรอินเดีย]] เขตตำบลเกาะสาหร่าย [[อำเภอเมืองสตูล]] [[จังหวัดสตูล]] อุทยานประกอบไปด้วยเกาะจำนวน 51 เกาะ มีพื้นที่ประมาณ 931,250 ไร่ หรือ 1,490 [[ตารางกิโลเมตร]] มีชื่อเสียงที่โด่งดังทางด้านธรรมชาติ สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาที่มีสภาพเป็นป่าดิบชื้นซึ่งยังมีพรรณไม้ และสัตว์ป่าที่น่าสนใจจำนวนไม่น้อย และมีพื้นที่ส่วนหนึ่งเป็นป่าชายเลน นอกจากนี้ยังมีอ่าวน้อยใหญ่ที่มีชายหาดสวยงามอยู่หลายแห่ง และในท้องทะเลของเกาะตะรุเตายังมีพันธุ์ปลามากมายหลายชนิดรวมทั้งเต่าทะเลที่ใกล้สูญพันธุ์ 4 ชนิด คำว่า “ตะรุเตา” นี้ เพี้ยนมาจาก คำว่า “ตะโละเตรา” ในภาษามลายูแปลว่า มีอ่าวมาก
* '''[[เกาะตะรุเตา]]''' เป็นเกาะหลัก เกาะใหญ่ที่สุดใน[[อุทยานแห่งชาติตะรุเตา]] ซึ่งประกอบด้วยเกาะน้อยใหญ่จำนวน 51 เกาะ ตั้งอยู่บริเวณ[[ทะเลอันดามัน]] บริเวณ[[ช่องแคบมะละกา]] มหาสมุทรอินเดีย ในท้องที่ตำบลเกาะสาหร่าย [[อำเภอเมืองสตูล]] [[จังหวัดสตูล]] ด้านใต้ของเขตอุทยานแห่งชาติตะรุเตา ห่างจาก[[เกาะลังกาวี]] ของมาเลเซีย 4.8 กิโลเมตร ในปี พ.ศ. 2479 มีการประกาศพระราชบัญญัติกักกันผู้มีสันดานเป็นโจรผู้ร้าย กรมราชทัณฑ์จึงหาสถานที่ที่มีภูมิประเทศเหมาะสม ซึ่งในที่สุดได้เลือกเกาะตะรุเตาและจัดตั้งขึ้นเป็นทัณฑสถาน โดยเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2480 กลุ่มบุกเบิกของกรมราชทัณฑ์ ภายใต้การนำของขุนพิธานทัณฑทัย ได้ขึ้นสำรวจเกาะตะรุเตาบริเวณอ่าวตะโละอุดังและอ่าวตะโละวาว เพื่อจัดทำเป็นทัณฑสถาน โดยฟันฝ่าอุปสรรคทางธรรมชาตินานัปการเป็นเวลา 11 เดือน งานบุกเบิกจึงสิ้นสุดลง หลังจากเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2481 เกาะตะรุเตาก็เป็นทัณฑสถานและเป็นนิคมฝึกอาชีพของนักโทษเด็ดขาด และนักโทษผู้มีสันดานเป็นผู้ร้าย ต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตหวงห้ามที่ดินบนเกาะนี้ เพื่อประโยชน์แก่การราชทัณฑ์โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 56 หน้า 566 ลงวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2482 ปลายปี พ.ศ. 2482 รัฐบาลได้ส่งนักโทษการเมืองจากคดี[[กบฏบวรเดช]] (พ.ศ. 2476) และ[[กบฏนายสิบ]] (พ.ศ. 2478) จำนวน 70 นาย มายังเกาะตะรุเตาซึ่งถูกกักบริเวณไว้ที่อ่าวตะโละอุดัง โดยจำนวนนักโทษทั้งหมดมีราว 4,000 คน ในช่วง[[สงครามมหาเอเชียบูรพา]] (พ.ศ. 2484 - 2488) เกาะตะรุเตาถูกตัดขาดออกจากแผ่นดินใหญ่ เกิดปัญหาขาดแคลนอาหาร ยา และเครื่องใช้ต่าง ๆ ต้นปี พ.ศ. 2487 ผู้คุมนักโทษได้ทำตัวเป็นโจรสลัดเข้าปล้นสะดมเรือบรรทุกสินค้าชาวไทยและต่างประเทศที่แล่นแผ่นไปมา ในที่สุดรัฐบาลไทยและทหารอังกฤษได้เข้าปราบโจรสลัดเกาะตะรุเตาสำเร็จเมื่อปี พ.ศ. 2489 และอีกสองปีต่อมากรมราชทัณฑ์ จึงได้ยกเลิกนิคมฝึกอาชีพตะรุเตาในที่สุด ในเกาะมีนักโทษการเมืองรวมกว่า 4,000 คน นักโทษเหล่านี้ถูกทารุณกรรมหลายรูปแบบ ทั้งการเฆี่ยนตี สมอบก การใช้แรงงานอย่างทารุณกรรม รวมถึงการฆาตกรรม เช่น การยิงทิ้ง ทั้งนี้ยังเจอกับนักการเมืองคณะราษฎร ที่ฉ้อราชบังหลวง กักตุนยารักษาโรค อาหาร เป็นเหตุให้ต้องมีความอดอยาก เจ็บป่วยเหมือนขังลืม นักโทษที่หลงเหลือได้รับการอภัยโทษ ตามพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่บรรดานักการเมือง เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2487 โดย นายควง อภัยวงศ์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2516 จึงได้มีการประกาศให้เป็นอุทยานแห่งชาติทางทะเล
* '''[[เกาะอาดัง]]''' เป็นเกาะกลางทะเลอันดามัน ตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลเกาะสาหร่าย [[อำเภอเมืองสตูล]] [[จังหวัดสตูล]] เป็นเกาะที่มีความใหญ่เป็นอันดับสองรองจาก[[เกาะตะรุเตา]] อันเป็นส่วนหนึ่งใน[[อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา]]หรืออุทยานแห่งชาติตะรุเตา อยู่ใกล้กับ[[เกาะหลีเป๊ะ]]หรือเกาะลีเป๊ะ มีความยาว 6 กิโลเมตร และกว้าง 5 กิโลเมตร จุดสูงสุดของเกาะคือ 690 เมตร สภาพของเกาะอาดังมีความสงบ สะอาด และเป็นสถานที่ตั้งของหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา บนเกาะไม่มีที่พักของเอกชนให้บริการ จะมีก็แต่บ้านพักของหน่วยพิทักษ์อุทยานฯ และจุดให้กางเต็นท์ ผู้ที่จะมาท่องเที่ยวจึงมักจะไปพักค้างแรมบนเกาะหลีเป๊ะที่อยู่ใกล้เคียงกันมากกว่า มี[[น้ำตก]]อยู่ 2 แห่งบนเกาะ ทางทิศตะวันออกของเกาะเป็นหาดทรายขาวยาวราว 200 เมตร ในน้ำเต็มไปด้วยปะการังโขดและปะการังชนิดอื่น ๆ รวมถึงสัตว์ทะเลต่าง ๆ ที่อาศัยตามแนวปะการัง เช่น ดาวทะเล, เม่นทะเล, ปลาสลิดหิน, ปลาขี้ตังเบ็ด, ปลานกแก้ว
* '''[[เกาะหลีเป๊ะ]]''' หรือเกาะลีเป๊ะ เป็นเกาะกลางทะเลอยู่ในเขต[[ตำบลเกาะสาหร่าย]] [[อำเภอเมืองสตูล]] [[จังหวัดสตูล]] อยู่ทางตอนใต้ของ[[เกาะอาดัง]] ห่างจากแผ่นดินของจังหวัดสตูล 85 กิโลเมตร เขตอำนาจการควบคุมของ[[อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา]]ใน[[จังหวัดสตูล]] เป็นชายหาดบนเกาะที่อุดมไปด้วยท้องทะเลที่สดใสสะอาด สวยงาม เป็นเกาะที่เงียบสงบ และมีน้ำที่ตื้นเขิน จุดเด่นของทางเกาะหลีเป๊ะ คือ ความเป็นธรรมชาติของปะการังรายล้อมรอบเกาะ มีเวิ้งอ่าวที่สวยงาม หาดทรายละเอียดนิ่มนวลขาวเหมือนแป้ง เกาะหลีเป๊ะ มีชายหาดที่สำคัญ ๆ อยู่ 4 หาด ได้แก่ "หาดพัทยา" ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของเกาะหลีเป๊ะ เป็นเกาะที่นักท่องเที่ยวนิยมเดินทางไปมากที่สุด "หาดซันไรท์" อยู่ทางทิศตะวันออกของเกาะหลีเป๊ะ ใกล้ ๆ กับหมู่บ้านชาวเล "หาดคาร์มา" อยู่ทางตอนเหนือ ซึ่งหันหน้าเข้ากับเกาะอาดัง "หาดซันเซ็ท" อยู่ทางทิศตะวันตก ซึ่งหันหน้าเข้ารับแสงของพระอาทิตย์ ตามชื่อของหาด เกาะหลีเป๊ะ เป็นเกาะที่มีความกว้างระหว่างหัวเกาะไปถึงท้ายเกาะประมาณ 3 กิโลเมตร จัดเป็นเกาะขนาดเล็ก ถือเป็นเกาะที่อยู่สุดท้ายทางตอนใต้ของทะเลอันดามันของไทย เนื่องจากพื้นที่ถัดไปคือทะเลสากลที่เชื่อมกับทะเลของประเทศเพื่อนบ้าน คือ มาเลเซีย
 
== อ้างอิง ==