ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ชีวกลศาสตร์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Buddhi (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Buddhi (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 23:
ในทางการแพทย์ การศึกษาชีวกลศาสตร์ของมนุษย์ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเดินและการเคลื่อนไหวร่างกาย สามารถแบ่งออกเป็นหัวข้อย่อยๆตามแง่มุมที่ต้องการศึกษา เช่น
 
1. การศึกษา'''แรงกลทางชีวภาพ''' (Kinetic study)
2. การศึกษา'''รูปแบบของการเคลื่อนไหว ''' (Kinematic study)
 
3. การศึกษา'''รูปแบบของการหด-คลายตัวของกล้ามเนื้อ''' (Sequential muscular activity study )
4. การศึกษา'''พลังงานที่ร่างกายใช้ไปในการเคลื่อนไหว''' (Energetic study) เป็นต้น
 
'''ตัวอย่าง'''การประยุกต์ใช้ชีวกลศาสตร์ของมนุษย์ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเดินและการเคลื่อนไหวร่างกาย
 
*''การศึกษาแรงกลทางชีวภาพ'' (Kinetics) เน้นศึกษาปริมาณ ทิศทาง รูปแบบ ของแรงที่กระทำต่อร่างกาย ต่ออวัยวะเฉพาะส่วน เช่น ขา แขน สันหลัง เป็นต้น หรือเฉพาะส่วนย่อยของอวัยวะนั้นๆ เช่น ข้อเข่า เป็นต้น โดยไม่สนใจถึงรายละเอียดอื่นๆแต่อย่างใดเช่น รูปแบบของการเคลื่อนไหว เป็นต้น
*''การศึกษารูปแบบของการเคลื่อนไหว'' (Kinematics) เน้นการศึกษาถึงรูปแบบการเคลื่อนไหวทั้งที่ปรกติและผิดปรกติ ของร่างกาย ของอวัยวะเฉพาะส่วน เช่น ขา แขน หรือของส่วนย่อยๆของอวัยวะนั้นๆ เช่น ข้อเข่า เป็นต้น โดยไม่สนใจถึงปัจจัยอื่นๆที่เกี่ยวข้อง อาทิ ปริมาณแรงที่กระทำ เป็นต้น
*''จุดศูนย์ถ่วงของร่างกาย'' (Center of gravity หรือ CoG หรือ CG) คือ จุดศูนย์กลางสมมติของวัตถุหรือร่างกายมนุษย์ ที่ถูกแรงโน้มถ่วงกระทำ ซึ่งเป็นจุดสมมติที่แทนถึงน้ำหนักตัวทั้งหมด ซึ่งในทางฟิสิกส์ คำว่า “จุดศูนย์กลางของมวล” และ “จุดศูนย์ถ่วง”นั้น มีความหมายแตกต่างกันดังกล่าวข้างต้น แต่โดยทั่วไปมักอนุโลมใช้แทนกันได้ หากเป็นการศึกษาถึงวัตถุหรือมนุษย์ที่อยู่ในอาณาเขตของโลก '''มนุษย์ในท่ายืนตรงจุดศูนย์ถ่วงจะอยู่ที่หน้าต่อกระดูกสันหลังส่วนก้นกบอันที่ 2 (the second sacral vertebral bone หรือเรียกง่ายๆว่า S2) ประมาณ 1-2 ซม.'''
*''สแตติค'' (Static) คือ สภาพขณะที่อยู่นิ่ง ไม่มีการเคลื่อนไหว
*''ไดนามิค'' (Dynamic)คือ สภาพขณะเคลื่อนไหว หรือมีแรงมากระทำ ทำให้ไม่อยู่นิ่งและมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
*''การวิเคราะห์การเคลื่อนไหว'' (Gait analysis) คือ การศึกษาถึงรูปแบบการเคลื่อนไหวของมนุษย์ ทั้งรูปแบบปรกติ และผิดปรกติ
*''ระนาบของการเคลื่อนที่ร่างกาย'' (MotionBody plane) ร่างกายของมนุษย์ เหมือนกับวัตถุชนิดอื่นๆ ในแง่ที่มีรูปทรงเป็น 3 มิติ กล่าวคือ มีความกว้าง, ความยาว (หรือความสูง ซึ่งก็คือส่วนสูงนั่นเอง), และความลึก (หรือความหนาของร่างกาย) และพื้นที่รอบๆตัวมนุษย์ ก็เป็นพื้นที่ที่มี 3 มิติเช่นกัน โดยระนาบทั้งสามมีชื่อเรียกดังนี้
**''ระนาบใน – นอก'' เป็นระนาบสมมติที่มีแกนอยู่ในแนวด้านในไปยังด้านนอกของอวัยวะ (กรณีใช้กับทั้งตัว แกนวิ่งจากซ้ายไปขวา) ระนาบนี้จะแบ่งร่างกายหรืออวัยวะเป็นส่วนหน้าและส่วนหลัง โดยมักเรียกตามชื่อในภาษาอังกฤษว่า “ระนาบฟรอนทัล” (Frontal plane) หรือ “ระนาบโคโรนัล” (Coronal plane)
**''ระนาบหน้า – หลัง'' เป็นระนาบสมมติที่มีแกนวิ่งจากด้านหน้าไปยังด้านหลังของร่างกาย ระนาบนี้ จะแบ่งร่างกายหรืออวัยวะเป็นส่วนในและส่วนนอก (หรือแบ่งร่างกายเป็นข้างซ้ายและข้างขวา ในกรณีใช้กับทั้งตัว) โดยมักเรียกตามชื่อในภาษาอังกฤษว่า “ระนาบซาจิทัล” (Frontal plane)
**''ระนาบขนานกับพื้นโลก'' เป็นระนาบสมมติที่มีแกนวิ่งตัดขวางกับลำตัว บางครั้งจึงเรียกว่า “ระนาบตัดขวาง” ระนาบนี้ จะแบ่งร่างกายหรืออวัยวะเป็นส่วนบนและส่วนล่าง โดยมีชื่อในภาษาอังกฤษว่า “ระนาบฮอริซอนทัล” (Horizontal plane) หรือ “ระนาบทรานสเวิร์ส” (Transverse plane)
*''รูปแบบการเคลื่อนไหวร่างกายปรกติ'' (Normal gait pattern) คือ รูปแบบการเดินหรือการเคลื่อนไหวที่คนส่วนใหญ่ใช้ ซึ่งรูปแบบนี้จะทำให้เดินได้ระยะทางที่ต้องการโดยเสียพลังงานไปน้อยที่สุด
*''ความมั่นคงของร่างกาย'' (Stability)คือการที่มนุษย์สามารถคงท่าทางเอาไว้ได้ โดยที่ไม่ล้มลงไป เช่น สามารถยืนตัวตรงได้โดยที่ไม่ล้มลง สามารถนั่งได้โดยไม่ล้ม เป็นต้น ซึ่งประกอบไปด้วยหลายปัจจัย อาทิ ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ความสามารถของระบบประสาท และปัจจัยต่างๆทางชีวกลศาสตร์ เป็นต้น ซึ่งสำหรับปัจจัยทางชีวกลศาสตร์ที่สำคัญ ซึ่งทำให้ร่างกายมนุษย์สามารถคงความมั่นคงของร่างกายเอาไว้ได้ ได้แก่
**''ระดับความสูงของจุดศูนย์ถ่วง'' (Height of C.G.) หากจุดศูนย์ถ่วง(คือ จุดศูนย์กลางสมมติของร่างกายมนุษย์ ซึ่งแทนน้ำหนักตัวทั้งหมด และถูกกระทำด้วยแรงโน้มถ่วงอยู่ตลอดเวลา)อยู่สูง ร่างกายย่อมมีแนวโน้มที่จะไม่สามารถตั้งตรงอยู่ได้และล้มลงมาได้ง่ายกว่า
**''น้ำหนักตัว'' (Body weight) หากน้ำหนักตัวมากกว่า ร่างกายย่อมมีแนวโน้มที่ล้มลงมาได้ง่ายกว่าเช่นกัน
**''ขนาดของพื้นที่ฐานรองรับ'' (Area of base of support) หากพื้นที่ฐานรองรับแคบ (หรือพื้นที่ของส่วนที่สัมผัสกับพื้น) ร่างกายย่อมมีแนวโน้มที่จะไม่สามารถตั้งตรงอยู่ได้และล้มลงมาได้ง่ายกว่า
**ในการประยุกต์กับผู้ป่วยและผู้พิการ เพื่อให้มีความมั่นคงของร่างกายที่ดีนั้น สามารถทำได้โดยการเพิ่มขนาดของพื้นที่ฐานรองรับ เนื่องจากไม่สามารถทำการแก้ไขระดับความสูงของจุดศูนย์ถ่วงและน้ำหนักตัวได้ โดยการเพิ่มขนาดของพื้นที่ฐานรองรับทำได้ โดยการใช้เครื่องช่วยเดินชนิดต่างๆ ซึ่งมีประโยชน์ในการเพิ่มขนาดของพื้นที่ฐานรองรับอีกด้วย ทำให้ผู้ป่วยหรือผู้พิการมีความมั่นคงยิ่งขึ้นในขณะยืนหรือเดิน นอกเหนือไปจากหน้าที่อื่นๆเช่น ช่วยทดแทนในกรณีที่ผู้ป่วยอ่อนแรง หรือช่วยผ่อนแรงกรณีมีความเจ็บปวด เป็นต้น
*''การศึกษาเรื่องโมเม้นต์'' หรือการเคลื่อนที่ของวัตถุรอบจุดศูนย์กลางการเคลื่อนไหวซึ่งเป็นผลจากแรงนั้น มีประโยชน์ในการดัดแปลงอุปกรณ์ต่างๆทางการแพทย์เช่น ขาเทียม แขนเทียม เครื่องประคองต่างๆ เป็นต้น การรักษาโดยการดัดข้อต่อ การฝึกเดิน ฯลฯ และมีประโยชน์ในการเพิ่มสมรรถภาพของนักกีฬาอีกด้วย