ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สุลัยมานผู้เกรียงไกร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
InternetArchiveBot (คุย | ส่วนร่วม)
Rescuing 5 sources and tagging 0 as dead.) #IABot (v2.0.8
InternetArchiveBot (คุย | ส่วนร่วม)
Rescuing 4 sources and tagging 0 as dead.) #IABot (v2.0.8.2
บรรทัด 68:
เมื่อทรงยึดเบลเกรดได้แล้วก็ดูเหมือนว่าหนทางที่จะเอาชนะราชอาณาจักรฮังการีและ[[ออสเตรีย]]ก็เปิดโล่ง แต่สุลต่านสุลัยมานกลับทรงหันไปสนพระทัยกับ[[เกาะโรดส์]]ทางตะวันออกของ[[เมดิเตอร์เรเนียน]]ซึ่งขณะนั้นเป็นที่ตั้งมั่นของ[[อัศวินแห่งโรดส์]]มาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 14 โรดส์เป็นจุดยุทธศาสตร์อันสำคัญที่ตั้งอยู่ไม่ไกลจาก[[อานาโตเลีย]] และ[[บริเวณลว้าน]] ที่อัศวินแห่งโรดส์หรือฝ่ายคริสเตียนใช้เป็นฐานในการสร้างความคลอนแคลนให้แก่จักรวรรดิออตโตมันในบริเวณนั้นมาโดยตลอด ในฤดูร้อนของปี [[ค.ศ. 1522]] สุลต่านสุลัยมานก็ทรงส่งกองทัพเรือจำนวน 400 ลำไปล้อมโรดส์ ส่วนพระองค์เองก็เสด็จนำทัพจำนวนอีก 100,000 คนเดินทางทางบกไปสมทบ&nbsp;ข้ามอานาโตเลียไปยังฝั่งตรงข้ามกับเกาะโรดส์<ref>Kinross, 176</ref> หลังจาก[[การล้อมเมืองโรดส์ (ค.ศ. 1522)|การล้อมเมืองโรดส์]]อยู่เป็นเวลาห้าเดือนโดยการปิดอ่าว ระเบิดทำลายกำแพงเมือง และเข้าโจมตีต่อเนื่องกันอย่างรุนแรงหลายครั้ง ในปลายปี [[ค.ศ. 1522]] ทั้งสองฝ่ายต่างก็หมดแรงและตกลงทำการเจรจาหาทางสงบศึก สุลต่านสุลัยมานทรงเสนอว่าจะทรงยุติการโจมตี จะไม่ทรงทำลายชีวิตประชากร และจะทรงประทานอาหารถ้าชาวโรดส์ยอมแพ้ แต่เมื่อฝ่ายโรดส์เรียกร้องให้พระองค์ทรงยืนยันคำมั่นสัญญาที่หนักแน่นกว่าที่ประทานพระองค์ก็พิโรธและมีพระราชโองการให้เริ่มการโจมตีเมืองขึ้นอีกครั้ง กำแพงเมืองโรดส์เกือบทั้งหมดถูกทำลาย เมื่อเห็นท่าว่าจะแพ้แกรนด์มาสเตอร์ของอัศวินแห่งโรดส์ก็ยื่นข้อเสนอขอเจรจาสงบศึกอีกครั้ง และเมื่อวันที่ [[22 ธันวาคม]] [[ค.ศ. 1522]] ประชากรชาวโรดส์ก็ยอมรับข้อแม้ของสุลต่านสุลัยมาน พระองค์พระราชทานเวลาสิบวันแก่อัศวินในการอพยพออกจากโรดส์ แต่พระราชทานเวลาสามปีให้แก่ประชากรผู้ประสงค์ที่จะย้ายออกจากเกาะ เมื่อวันที่ [[1 มกราคม]] [[ค.ศ. 1523]] [[อัศวินแห่งโรดส์]]ก็เดินทางออกจาก[[โรดส์|เกาะ]]พร้อมกับเรือ 50 ลำไปยัง[[ครีต]]
 
เมื่อ[[พระเจ้าหลุยส์ที่ 2 แห่งฮังการี]]เสกสมรสกับ[[แมรีแห่งออสเตรีย สมเด็จพระราชินีแห่งฮังการีและโบฮีเมีย|แมรีแห่งออสเตรีย]]ในปี [[ค.ศ. 1522]] ความสัมพันธ์ของฮังการีกับออสเตรียทำให้ฝ่ายออตโตมันเห็นว่าเป็นการสร้างความไม่มั่นคงต่ออำนาจใน[[คาบสมุทรบอลข่าน]] ที่ในที่สุดก็เป็นสาเหตุที่ทำให้สุลต่านสุลัยมานทรงกลับเข้ามาเริ่ม[[การรณรงค์ทางทหาร]]ใน[[ยุโรปตะวันออก]]ใหม่ เมื่อวันที่ [[29 สิงหาคม]] [[ค.ศ. 1526]] พระองค์ก็ทรงได้รับชัยชนะต่อ[[พระเจ้าหลุยส์ที่ 2 แห่งฮังการี]]ใน[[ยุทธการที่โมฮาก]] พระเจ้าหลุยส์เองเสด็จสวรรคตในสนามรบ เมื่อทรงพบร่างที่ปราศจากชีวิตของพระเจ้าหลุยส์ ก็เชื่อกันว่าสุลต่านสุลัยมานทรงมีความโทมนัสและทรงรำพึงถึงการเสียชีวิตว่าเป็นการเสียชีวิตอันไม่สมควรแก่เวลาของพระเจ้าหลุยส์ผู้มีพระชนมายุเพียง 20 พรรษา<ref>Severy, 580</ref><ref>Embree, [http://www.ccds.charlotte.nc.us/History/MidEast/04/embree/embree.htm Suleiman The Magnificent] {{Webarchive|url=https://web.archive.org/web/20060930054118/http://www.ccds.charlotte.nc.us/History/MidEast/04/embree/embree.htm |date=2006-09-30 }}.</ref> หลังจากชัยชนะในยุทธการที่โมฮากแล้วการต่อต้านของฮังการีก็สิ้นสุดลง จักรวรรดิออตโตมันจึงกลายเป็นมหาอำนาจอันสำคัญของยุโรปตะวันออกแทนที่<ref>Kinross, 187</ref>
 
แต่ในปี [[ค.ศ. 1529]] [[จักรพรรดิคาร์ลที่ 5 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์]]และ[[จักรพรรดิแฟร์ดีนันด์ที่ 1 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์|แฟร์ดีนันด์ อาร์ชดยุกแห่งออสเตรีย]] พระอนุชาก็ยึด[[บูดา]]และราชอาณาจักรฮังการีคืนได้ ซึ่งเป็นผลให้สุลต่านสุลัยมานต้องทรงนำทัพกลับเข้ามาในยุโรปอีกครั้งในปี [[ค.ศ. 1529]] โดยทรงเดินทัพทางหุบเขาแม่น้ำดานูบและทรงยึดบูดาคืนในฤดูใบไม้ร่วง หลังจากนั้นก็ทรงเดินทัพต่อไป[[การล้อมกรุงเวียนนา|ล้อมเมืองเวียนนา]]ซึ่งเป็นความทะเยอทะยานอันสูงสุดของจักรวรรดิออตโตมันในการขยายอำนาจเข้ามาทาง[[ยุโรปตะวันตก]] โดยมีจำนวนกองหนุนด้วยกันทั้งสิ้น 16,000 คน<ref>{{cite book|first=Stephen|last=Turnbull|title=The Ottoman Empire 1326 – 1699|location=New York|publisher=Osprey Publishing|year=2003|pages=50}}</ref> แต่ออสเตรียก็สามารถเอาชนะสุลต่านสุลัยมานได้ ซึ่งเป็นความพ่ายแพ้ครั้งแรกของพระองค์ ที่เป็นผลให้ทั้งสองจักรวรรดิมีความความขัดแย้งกันต่อมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 20<ref>Imber, 50</ref>
บรรทัด 84:
ระหว่างปี [[ค.ศ. 1548]] ถึงปี [[ค.ศ. 1549]] สุลต่านสุลัยมานก็ทรงเริ่มการรณรงค์เป็นครั้งที่สองในการพยายามที่จะทรงปราบปรามชาห์แห่งเปอร์เชียได้อย่างเด็ดขาด แต่ก็เช่นเดียวกับครั้งแรก[[ชาห์ทาห์มาสพ์ที่ 1|ทาห์มาสพ์]]เลี่ยงการต่อสู้แบบเผชิญหน้ากับกองทัพของจักรวรรดิออตโตมัน และทำทีถอยทัพ ระหว่างทางก็เผาบริเวณ[[อาเซอร์ไบจาน (อิหร่าน)|อาเซอร์ไบจาน]]ที่เป็นผลให้กองทัพของจักรวรรดิออตโตมันต้องเผชิญกับความทารุณของฤดูหนาวในบริเวณ[[คอเคซัส]]<ref name=sicker206/> สุลต่านสุลัยมานจึงทรงจำต้องละทิ้งการรณรงค์เป็นการชั่วคราวหลังจากที่ได้ทาบริซและบริเวณ[[อาเซอร์ไบจาน (อิหร่าน)|อาเซอร์ไบจาน]] [[มณฑลวาน|แคว้นวาน]] และป้อมปราการบางแห่งใน[[รัฐจอร์เจีย|จอร์เจีย]]แล้ว<ref name=bartleby794>[http://www.bartleby.com/67/794.html 1548–49]</ref>
 
ในปี [[ค.ศ. 1553]] สุลต่านสุลัยมานทรงเริ่มการรณรงค์ในเอเชียเป็นครั้งที่สามและครั้งสุดท้ายในการพยายามปราบปราม[[ชาห์ทาห์มาสพ์ที่ 1|ชาห์ทาห์มาสพ์]] เมื่อเริ่มการรณรงค์พระองค์ก็เสียดินแดนใน[[เอร์ซูรุม]]แก่พระโอรสของชาห์ แต่ก็ทรงตอบโต้โดยการยึดเอร์ซูรุมคืนได้ และเสด็จข้ามด้านเหนือของ[[แม่น้ำยูเฟรทีส]]ไปทำลายดินแดนบางส่วนของจักรวรรดิเปอร์เซีย กองทัพของชาห์ก็ยังคงใช้ยุทธการเดิมในการเลี่ยงการประจันหน้าที่เป็นผลทำให้ไม่มีฝ่ายที่ได้เปรียบหรือเสียเปรียบ ในปี [[ค.ศ. 1554]] ทั้งสองฝ่ายก็ลงนามตกลงยุติความขัดแย้ง ซึ่งเป็นการทำให้การรณรงค์ในทวีปเอเชียของสุลต่านสุลัยมานมายุติลง ในการยุติความขัดแย้งสุลต่านสุลัยมานทรงคืนทาบริซให้กับชาห์ทาห์มาสพ์ แต่ทรงได้แบกแดด, ด้านใต้ของ[[เมโสโปเตเมีย]] ปากแม่น้ำยูเฟรทีสและ[[แม่น้ำไทกริส]] และบางส่วนของ[[อ่าวเปอร์เซีย]]มาเป็นการตอบแทน<ref name=Kinross236>Kinross, 236</ref> นอกจากนั้นชาห์ทาห์มาสพ์ก็ทรงสัญญายุติการก่อกวนเข้าไปในอาณาบริเวณที่อยู่ในการปกครองของจักรวรรดิออตโตมัน<ref name=bartleby795>[{{Cite web |url=http://www.bartleby.com/67/795.html |title=ค.ศ. 1553–55] |access-date=2009-04-20 |archive-date=2009-01-30 |archive-url=https://web.archive.org/web/20090130012437/http://bartleby.com/67/795.html |url-status=dead }}</ref>
 
=== ยุทธการที่ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและแอฟริกาเหนือ ===
บรรทัด 202:
<div class="references-small">
* {{cite web |url=http://www.bartleby.com/67/794.html|title=1548-49|accessdate=2007-04-18 |work=The Encyclopedia of World History|year=2001}}
* {{cite web |url=http://www.bartleby.com/67/795.html|title=1553-55|accessdate=2007-04-18 |work=The Encyclopedia of World History|year=2001|archive-date=2009-01-30|archive-url=https://web.archive.org/web/20090130012437/http://bartleby.com/67/795.html|url-status=dead}}
* {{cite web |url=http://www.womeninworldhistory.com/sample-10.html |title=A 400 Year Old Love Poem|accessdate=2007-04-18 |work=Women in World History Curriculum Showcase}}
* {{cite web |url=http://www.ccds.charlotte.nc.us/History/MidEast/04/embree/embree.htm|title=Suleiman The Magnificent |accessdate=2007-04-18 |first=Mark|last=Embree|year=2004|archive-date=2006-09-30|archive-url=https://web.archive.org/web/20060930054118/http://www.ccds.charlotte.nc.us/History/MidEast/04/embree/embree.htm|url-status=dead}}
* {{cite web|archiveurl=https://web.archive.org/web/20060309091926/http://www.byegm.gov.tr/yayinlarimiz/NEWSPOT/1999/JulyAug/N6.htm|title=Suleyman the Magnificent Poet|archivedate=2006-03-09|url=http://www.byegm.gov.tr/yayinlarimiz/NEWSPOT/1999/JulyAug/N6.htm|accessdate=2007-04-18|last=Halman|first=Talat|year=1988|url-status=live}}
* {{cite web |url=http://www.malta.com/about-malta/history-of-malta.html|title=The History of Malta |accessdate=2007-04-27 |first= |last= |year=2007}}