ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปรีดี พนมยงค์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Suphakorn343 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขขั้นสูงด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่
Suphakorn343 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขขั้นสูงด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 79:
| footnotes =
}}
ศาสตราจารย์ ดร. '''ปรีดี พนมยงค์''' หรืออำมาตย์ตรี '''หลวงประดิษฐ์มนูธรรม''' (11 พฤษภาคม พ.ศ. 2443 – 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2526) เป็น[[นักกฎหมาย]] [[ครู|อาจารย์]] นักกิจกรรม [[นักการเมือง]] และ[[เจ้าหน้าที่การทูต|นักการทูต]]ชาวไทยผู้ได้รับการยกย่องเกียรติคุณอย่างสูง เป็น[[รัฐบุรุษอาวุโส]] [[ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ (ประเทศไทย)|ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์]] [[นายกรัฐมนตรีไทย|นายกรัฐมนตรี]]คนที่ 7 และ[[รัฐมนตรี]]หลายกระทรวง หัวหน้าสมาชิก[[คณะราษฎร]]สายพลเรือน [[อธิการบดี|ผู้ประศาสน์การ]] (ผู้ก่อตั้ง) [[มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง]] และเป็นผู้ก่อตั้งธนาคารชาติไทย (ปัจจุบันคือ [[ธนาคารแห่งประเทศไทย]])
 
เขาเกิดในครอบครัวชาวนาที่[[กรุงเก่า]] แต่ได้รับการส่งเสียให้ได้รับการศึกษาที่ดี สำเร็จการศึกษาจาก[[เนติบัณฑิตยสภา ในพระบรมราชูปถัมภ์|เนติบัณฑิตยสภา]] และสอบไล่ได้เป็น[[เนติบัณฑิต]]ตั้งแต่อายุ 19 ปี เป็นนักเรียนทุนศึกษาต่อด้านกฎหมายที่[[ประเทศฝรั่งเศส]] จนสำเร็จการศึกษาขั้นดุษฎีบัณฑิต ณ [[มหาวิทยาลัยปารีส]] ในปี 2469 เขาเป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ก่อตั้งคณะราษฎรในประเทศฝรั่งเศสในปีเดียวกัน จากนั้นเดินทางกลับประเทศเพื่อประกอบอาชีพเป็น[[ผู้พิพากษา]] ผู้ช่วยเลขานุการกรมร่างกฎหมาย และอาจารย์ผู้สอนวิชา[[กฎหมายปกครอง]] ณ [[โรงเรียนกฎหมาย]] หลัง[[การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475|การปฏิวัติสยาม]]ในปี 2475 เขามีบทบาทสำคัญในการร่าง[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย|รัฐธรรมนูญ]]สองฉบับแรกของประเทศ และวางแผนเศรษฐกิจ หลังเดินทางออกนอกประเทศช่วงสั้น ๆ เนื่องจากปฏิกิริยาต่อแผนเศรษฐกิจของเขา เขาเดินทางกลับมารับตำแหน่งรัฐมนตรีหลายกระทรวงในรัฐบาล[[พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน)|พระยาพหลพลพยหุเสนา]]และ[[แปลก พิบูลสงคราม]] มีบทบาทสำคัญในการปรับปรุงกฎหมายให้ทันสมัย การวางรากฐานการบริหารราชการแผ่นดินโดยเฉพาะ[[ราชการส่วนท้องถิ่น (ประเทศไทย)|ราชการส่วนท้องถิ่น]] การเจรจาแก้ไขสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมกับต่างประเทศ ตลอดจนการปฏิรูปภาษี