ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เสือใบ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Patcha007 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 3:
'''เสือใบ''' ([[22 สิงหาคม]] [[พ.ศ. 2464]] – [[24 พฤษภาคม]] [[พ.ศ. 2558]]) มีชื่อจริงว่า '''ใบ สะอาดดี''' เป็นชาวจังหวัด[[สุพรรณบุรี]] เป็นจอมโจรชื่อดังในยุคหลัง[[สงครามโลกครั้งที่สอง]]ที่โด่งดัง ร่วมสมัยกับ [[เสือดำ (โจร)|เสือดำ]], [[เสือหวัด]], [[เสือฝ้าย]], [[เสือมเหศวร]] โดยเวลาออกปล้นจะแต่งชุด[[สีดำ]] สวมหมวกดำ และปล้นด้วยความสุภาพ จนได้รับฉายาว่า '''สุภาพบุรุษเสือใบ''' และในช่วง[[สงครามโลกครั้งที่สองในประเทศไทย|สงครามโลกครั้งที่สอง]] ยังได้เข้าร่วมกับขบวนการไทยถีบ ดักปล้นและถีบสินค้าหรืออาวุธของทางทหารญี่ปุ่นจากขบวนตู้รถไฟด้วย
 
== ประวัติ ==
เสือใบ ได้กลายเป็นจอมโจรที่มีชื่อเสียงในราวปี พ.ศ. 2487 เมื่อมีอายุ 30 ปี หลังจากถูกโจรกลุ่มหนึ่งเข้ามาปล้นควายที่บ้านพร้อมกับฉุดผู้เป็นน้องภรรยาไปด้วย จึงแค้นและตามไปล้างแค้น และได้กลายเป็นโจรร้ายไป โดยสังกัดในชุมโจรของเสือฝ้าย ที่จังหวัดสุพรรณบุรี ก่อนที่จะแยกตัวเองออกมาเป็นอิสระ มีสมุนบริวารในสังกัดตัวเองกว่า 30 คน เมื่อมีชื่อเสียง เสือใบจะปล้นแต่เฉพาะในเขตจังหวัดสิงห์บุรี, อ่างทอง และชัยนาท เท่านั้น โดยไม่ล่วงล้ำเข้าไปในเขตของจังหวัดสุพรรณบุรี เพราะถือว่าเป็นเขตอิทธิพลของเสือฝ้าย ผู้มีศักดิ์ศรีเป็นเจ้านายเก่า และจะเลือกปล้นเฉพาะคนรวยที่ขูดเลือดคนจนเท่านั้น โดยจะไม่ปล้นเอาทรัพย์สินทั้งหมด แต่จะเอาไปเพียงครึ่งเดียวเท่านั้น และถ้าหากเจ้าทรัพย์ไม่ยินยอม ก็จะไม่ทำร้ายหรือข่มขู่บังคับ รวมถึงไม่ทำร้ายเจ้าทรัพย์ด้วย เว้นแต่ขัดขืนหรือต่อสู้
 
เมื่อเสือใบถูกจับได้ และกลายเป็นอาชญากร ศาลได้ตัดสินลงโทษให้ประหารชีวิต แต่เจ้าตัวยอมรับสารภาพ จึงได้รับการหย่อนโทษให้เหลือจำคุกตลอดชีวิต และกลายมาเป็นจำคุกเพียง 20 ปี อีกทั้งในระหว่างที่ต้องโทษ ยังได้ช่วยเหลือพัศดีจากการถูกนักโทษด้วยกันทำร้ายด้วย
 
== สิ่งสืบเนื่อง ==
เรื่องราวของเสือใบ โด่งดังเป็นที่รู้จักกันอย่างมาก จนกลายมาเป็นวรรณกรรมของ [[ป. อินทรปาลิต]] ถูกนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์สามครั้ง ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2514 ชื่อ ''สุภาพบุรุษเสือใบ'' ผู้รับบทเสือใบ คือ [[ครรชิต ขวัญประชา]], ครั้งที่สองในชื่อ ''เสือไบ'' ในปี พ.ศ. 2527 นำแสดงโดย ไชยยัณห์ สรไกร, [[สมบัติ เมทะนี]], [[โกวิท วัฒนกุล]] และในปี [[พ.ศ. 2541]] ในเรื่อง ''[[เสือ โจรพันธุ์เสือ]]'' ซึ่งบทเสือใบ นำแสดงโดย [[อำพล ลำพูน]] กำกับการแสดงโดย [[ธนิตย์ จิตนุกูล]] แต่ภาพยนตร์เรื่องนี้เสือใบในเรื่องแตกต่างจากเสือใบในชีวิตจริงโดยสิ้นเชิง เป็นต้นว่า เปลี่ยนชื่อจริงของเสือใบเป็น เรวัติ วิชชุประภา และเป็นลูกชายของขุนนางผู้ใหญ่ผู้หนึ่งในยุคก่อน[[การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 |การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475]] ที่ภรรยาถูกฆ่าตายและถูกใส่ความจนต้องหนีเข้าป่าไปเป็นโจร หรือ นายตำรวจผู้ปราบเสือใบ ชื่อ ผู้กองยอดยิ่ง สุวรรณากร ที่รับบทโดย [[ดอม เหตระกูล]] รวมถึงมีบทเสริมเล็กน้อยในช่วงเครดิตท้ายเรื่อง ''[[ขุนพันธ์]]'' ในปี พ.ศ. 2559 ผู้ที่รับบทเสือใบ คือ [[อารักษ์ อมรศุภศิริ]]<ref>{{cite web|title=" ดูมาแล้ว ขุนพันธ์ มันส์หูดับ นักแสดงยอดมาก ปล. พี่อนันดาเท่ห์ไปไหน
|url=http://ig.siamzone.com/media/1297641436829613389_1064305|work=สยามโซนดอตคอม|accessdate=2017-01-22|date=2016-01-19}}</ref>และมีบทบาทสำคัญเรื่อง '''ขุนพันธ์ 2''' ในท้ายตอนจบหลังเสือใบร่วมมือกับขุนพันธ์จัดการกับ รตอ. อัศวิน เสือใบได้ติดคุกแต่ตัวเสือใบหายไปอาจจะเป็นไปได้ว่าเสือใบใช้อาคมหายตัวไป อาจจะแปลว่าเสือใบหายไปอยู่ไหน
 
== ถึงแก่อสัญกรรม ==
ในบั้นปลายชีวิต เสือใบอาศัยอยู่กับลูกหลานที่บ้านพักส่วนตัวที่บ้านพันตำลึง ตำบลดอนกำยาน [[อำเภอเมืองสุพรรณบุรี|อำเภอเมือง]] จังหวัดสุพรรรณบุรี
 
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/เสือใบ"