ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ดาวเคราะห์นอกระบบ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Ponpan (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
InternetArchiveBot (คุย | ส่วนร่วม)
Rescuing 1 sources and tagging 0 as dead.) #IABot (v2.0.8.2
บรรทัด 109:
 
=== ลักษณะของวัตถุท้องฟ้า ===
ดาวเคราะห์นอกระบบที่ถูกค้นพบในปัจจุบันส่วนมากจะโคจรรอบดาวฤกษ์ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับ[[ดวงอาทิตย์]]ของเรา คือเป็นดาวฤกษ์ใน[[แถบกระบวนหลัก]]ซึ่งมี[[การจัดประเภทดาวฤกษ์|ประเภทสเปกตรัม]] F, G หรือ K สาเหตุหนึ่งก็เนื่องมาจากโปรแกรมการค้นหาที่มุ่งศึกษาดาวฤกษ์ในประเภทนี้ ถึงอย่างไรก็ตามข้อมูลทางสถิติก็บ่งชี้ว่า โอกาสจะพบดาวเคราะห์ในระบบของดาวฤกษ์มวลน้อย ([[ดาวแคระแดง]] ซึ่งมี[[การจัดประเภทดาวฤกษ์|ประเภทสเปกตรัม]] M) ก็ค่อนข้างน้อย หรือมิฉะนั้นตัวดาวเคราะห์เองก็อาจมีมวลต่ำมากทำให้ตรวจจับได้ยากขึ้น<ref name="bonfils05">{{cite journal | author=Bonfils, X.; Forveille, T.; Delfosse, X.; et.al. | title=The HARPS search for southern extra-solar planets VI: A Neptune-mass planet around the nearby M dwarf Gl 581 | journal=Astronomy & Astrophysics | year=2005 | volume=443 | issue= | pages=L15 - L18 |doi=10.1051/0004-6361:200500193}}</ref> การสำรวจด้วย[[กล้องโทรทรรศน์อวกาศสปิตเซอร์]]เมื่อไม่นานมานี้ได้ค้นพบว่าดาวฤกษ์ในประเภทสเปกตรัม O ซึ่งมีความร้อนกว่าดวงอาทิตย์ของเรา จะมีปรากฏการณ์ [[การระเหยด้วยแสง]] ซึ่งส่งผลในทางขัดขวางการก่อตัวของดาวเคราะห์<ref>{{cite web |author=Linda Vu |date=2006-10-03 |accessdate=2007-09-01 |title=Planets Prefer Safe Neighborhoods |url=http://www.spitzer.caltech.edu/Media/happenings/20061003/ |archive-date=2010-06-07 |archive-url=https://web.archive.org/web/20100607191610/http://www.spitzer.caltech.edu/Media/happenings/20061003/ |url-status=dead }}</ref>
 
ดาวฤกษ์ส่วนมากจะประกอบด้วยธาตุเบา อาทิ [[ไฮโดรเจน]] และ [[ฮีเลียม]] โดยอาจมีส่วนประกอบธาตุหนักอย่าง[[เหล็ก]]ในสัดส่วนเล็กน้อย สัดส่วนนี้เป็นตัวบ่งชี้ถึง[[ค่าความเป็นโลหะ]]ของดาว ดาวฤกษ์ที่มีค่าความเป็นโลหะสูงจะมีโอกาสที่จะมีดาวเคราะห์สูงกว่า และดาวเคราะห์ของดาวฤกษ์กลุ่มนี้มีแนวโน้มจะมีมวลมากกว่าดาวเคราะห์ของดาวฤกษ์ซึ่งมีค่าความเป็นโลหะต่ำ<ref name = "marcyprogth05"/>