ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อีวาน ปัฟลอฟ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
{{Infobox scientist
| name = อีวาน เปโตรวิช ปาฟลอฟ [[ไฟล์:Nobel prize medal.svg|20px]]<br />Иван Петрович Павлов
| image = Ivan Pavlov (Nobel).png
| image_size = 150px
บรรทัด 7:
| birth_place = [[รีซาน]] [[จักรวรรดิรัสเซีย]]
| death_date = {{death date and age|1936|2|27|1849|9|14}}
| death_place = [[เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก|เลนินกราด]], [[สหภาพโซเวียต]]
| citizenship = [[จักรวรรดิรัสเซีย]] [[สหภาพโซเวียต]]
| nationality = [[รัสเซีย]], [[สหภาพโซเวียต|โซเวียต]]
บรรทัด 19:
| footnotes =
}}
'''อีวาน เปโตรวิช ปาฟลอฟ''' ({{lang-ru|Иван Петрович Павлов}}, 14 กันยายน ค.ศ. 1849 – 27 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1936) เป็นนัก[[จิตวิทยา]]และ[[สรีรวิทยา]]ชาว[[จักรวรรดิรัสเซีย|รัสเซีย]]-[[สหภาพโซเวียต|โซเวียต]] ได้รับ[[รางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์]]ในปี [[ค.ศ. 1904]] จากงานวิจัยเกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร นอกจากนี้ปาฟลอฟยังเป็นที่รู้จักจากการอธิบายปรากฏการณ์[[การวางเงื่อนไขแบบดั้งเดิม]] (classical conditioning)
 
== ชีวประวัติและงานวิจัย ==
อีวาน ปาฟลอฟเกิดที่[[รีซาน]] [[จักรวรรดิรัสเซีย]]<ref>[http://nobelprize.org/nobel_prizes/medicine/laureates/1904/pavlov-bio.html Ivan Pavlov The Nobel Prize in Physiology or Medicine 1904]</ref> เขาเริ่มศึกษาชั้นสูงที่ Ryazan Ecclesiastical Seminary แต่ได้พักการเรียนและย้ายมาศึกษาที่[[มหาวิทยาลัยเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก]] (University of Saint Petersburg) เพื่อศึกษาวิทยาศาสตร์ธรรมชาติและได้เป็นนักสรีรวิทยา ปาฟลอฟจบการศึกษาดุษฎีบัณฑิตในปี ค.ศ. 1879
 
ในทศวรรษที่ 1890 ปาฟลอฟได้ศึกษาการทำงานของ[[กระเพาะอาหาร]]ของ[[สุนัข]]โดยการผ่า[[ต่อมน้ำลาย]]เพื่อเก็บ วัด และวิเคราะห์[[น้ำลาย]]ที่ตอบสนองเมื่อมีอาหารภายใต้สภาวะต่าง ๆ เขาค้นพบว่าสุนัขมีแนวโน้มหลั่งน้ำลายก่อนที่อาหารจะเข้าไปในปากจริง ๆ และเขาเรียกปรากฏการณ์ดังกล่าวว่า ''การขับ (น้ำลาย) ทางจิตใจ'' (psychic secretion)
 
ปาฟลอฟได้ตัดสินใจที่จะศึกษาปรากฏการณ์ทางจิตใจมากกว่าศึกษาทางเคมีของน้ำลาย และได้เปลี่ยนจุดมุ่งหมายในการศึกษา โดยการจัดชุดทดลองให้สิ่งกระตุ้นก่อนที่จะให้อาหารสุนัขจริง ๆ หลักการดังกล่าวที่เขาได้ตั้งขึ้นมานั้นเป็นกฎพื้นฐานของ "[[รีเฟล็กซ์เรียน]] หรือรีเฟล็กซ์การวางเงื่อนไข" (conditional reflexes) กล่าวคือ การตอบสนองซึ่งในที่นี้คือการหลั่งน้ำลายในสัตว์จะเกิดอย่างมีเงื่อนไขตามประสบการณ์ที่เคยพบเจอในอดีต ปาฟลอฟทำการทดลองดังกล่าวระหว่างทศวรรษที่ 1890 และ 1900 และเป็นที่รู้จักกันในวงการวิทยาศาสตร์ตะวันตกจากการแปลการบรรยายของเขา แต่การตีพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษฉบับเต็มครั้งแรกเพิ่งจะมีในปี ค.ศ. 1927
 
ปาฟลอฟเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ได้รับการยกย่องจากรัฐบาล[[สหภาพโซเวียต]]ซึ่งต่างจากนักวิทยาศาสตร์ท่านอื่น ๆ ทำให้เขาสามารถทำงานวิจัยได้ต่อไปเป็นเวลานาน นอกจากนี้เขายังได้รับการยกย่องจาก[[วลาดิมีร์ เลนิน]]และในฐานะผู้ได้รับ[[รางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์]]<ref name="Ivan Pavlov">{{Cite web|title=Ivan Pavlov|url=http://www.crystalinks.com/pavlov1.html|accessdate=2007-01-01}}</ref><ref>{{Cite web |url=http://wwwa.britannica.com/eb/article-5560 |title=Ivan Petrovich Pavlov :: Opposition to Communism - Britannica Online Encyclopedia<!-- Bot generated title --> |access-date=2009-03-24 |archive-date=2012-06-28 |archive-url=https://archive.is/20120628221243/http://wwwa.britannica.com/eb/article-5560 |url-status=dead}}</ref>
 
หลังจากเหตุการณ์การลอบสังหาร[[เซียร์เกย์ คีรอฟ]] (Sergei Kirov) ในปี ค.ศ. 1934 ปาฟลอฟได้เขียนจดหมายจำนวนมากถึง[[วยาเชสลาฟ โมโลตอฟ]] (Vyacheslav Molotov) วิพากษ์การลงโทษอย่างหนักและเรียกร้องให้พิจารณาคดีที่เกี่ยวข้องกับคนหลายคนที่เขารู้จักส่วนตัวใหม่
 
บั้นปลายชีวิตปาฟลอฟสนใจในการใช้การวางเงื่อนไขเพื่อสร้างแบบจำลองเพื่อชักนำ[[โรคประสาท]] เขาเสียชีวิตที่[[เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก|เลนินกราด]] ห้องปฏิบัติการของเขาถูกรักษาไว้เพื่อเป็นพิพิธภัณฑ์
บรรทัด 39:
ปาฟลอฟได้อุทิศตนเพื่อวิชาสรีรวิทยาและประสาทวิทยาอย่างมากมาย งานส่วนใหญ่ของเขาเกี่ยวกับการวิจัยด้าน[[พื้นอารมณ์แต่กำเนิด]] (temperament) , [[การวางเงื่อนไขแบบดั้งเดิม]] (classical conditioning) และ[[กิริยารีเฟล็กซ์]] (reflex actions)
 
เขาได้ทำการทดลองเกี่ยวกับการย่อยอาหารซึ่งทำให้เขาได้รับ[[รางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์]]ในปี ค.ศ. 1904<ref>[http://nobelprize.org/nobel_prizes/medicine/laureates/1904/press.html 1904 Nobel prize laureates]</ref> การทดลองของเขาเกี่ยวกับการผ่าตัดเพื่อแยกส่วนของระบบย่อยอาหารในสัตว์ การตัดมัดประสาทแล้วสังเกตผลต่อทางเดินอาหาร และการเจาะรูจากภายนอกเข้าไปยังอวัยวะในทางเดินอาหารเพื่อศึกษาสิ่งที่อยู่ภายในอวัยวะนั้น การทดลองดังกล่าวเป็นพื้นฐานของงานวิจัยหลายชิ้นที่เกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร
 
งานวิจัยเกี่ยวกับกิริยารีเฟล็กซ์ โดยเฉพาะปฏิกิริยาต่อความเครียดและการเจ็บปวดอย่างไม่ตั้งใจ ปาฟลอฟได้นิยามพื้นอารมณ์แต่กำเนิด 4 ประเภทภายใต้การศึกษาในขณะนั้น ได้แก่ ซึมเชื่อง (phlegmatic) , อารมณ์เสียง่าย (choleric) , ร่าเริง (sanguine) , และเศร้าโศก (melancholic) ปาฟลอฟและนักวิจัยของเขาได้สังเกตและเริ่มศึกษาการตอบสนองทางธรรมชาติของร่างกายที่เรียกว่า "shutdown" เมื่อถูกกระตุ้นโดยความเครียดหรือความเจ็บปวดอย่างมหาศาล ที่เรียกว่า [[transmarginal inhibition]] (TMI) งานวิจัยดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าบุคคลในแต่ละพื้นอารมณ์จะตอบสนองต่อสิ่งเร้าแบบเดียวกัน แต่แตกต่างจะใช้เวลาตอบสนองแตกต่างกัน เขากล่าวว่า "ความแตกต่างของพื้นฐานแต่กำเนิด .. คือระยะเวลาเร็วเท่าไรที่เขาถึงจุด shutdown และคนที่ถึงจุด shutdown เร็วโดยพื้นฐานจะมีระบบประสาทต่างชนิด" (that the most basic inherited difference. .. was how soon they reached this shutdown point and that the quick-to-shut-down have a fundamentally different type of nervous system.) <ref>Rokhin, L, Pavlov, I & Popov, Y. (1963) Psychopathology and Psychiatry, Foreign Languages Publication House: Moscow.</ref>
 
[[คาร์ล จุง]] (Carl Jung) นักจิตวิทยาได้นำงานของปาฟลอฟเกี่ยวกับ TMI มาสานต่อ และนำพื้นอารมณ์แต่กำเนิดของมนุษย์มาเชื่อมกับการสังเกตชนิดการ shutdown ในสัตว์ เขาเชื่อว่าบุคคลที่สนใจแต่ตัวเองจะไวต่อสิ่งกระตุ้นมากกว่า และถึง TMI เร็วกว่าคนที่สนใจบุคคลอื่น สาขาการวิจัยด้านนี้เรียกว่า highly sensitive persons
บรรทัด 49:
== เกียรติประวัติและมรดก ==
[[ไฟล์:One of Pavlov's dogs.jpg|thumb|สุนัขตัวหนึ่งของปาฟลอฟ ที่พิพิธภัณฑ์ปาฟลอฟ [[รีซาน]] [[ประเทศรัสเซีย]]]]
แนวคิดของปาฟลอฟที่เป็นที่โด่งดังไปทั่วคือ [[conditioned reflex|รีเฟล็กซ์มีเงื่อนไข]] (conditioned reflex) ซึ่งเขาพัฒนาร่วมกับผู้ช่วยชื่อ อีวาน ฟิลิปโปวิช โทโลชินอฟ (Ivan Filippovitch Tolochinov) ในปี ค.ศ. 1901<ref>{{cite book
| last = Todes
| first = Daniel Philip
บรรทัด 61:
| doi =
| id =
| isbn = 0801866901}}</ref> โทโลชินอฟได้เผยแพร่ผลการศึกษาที่สภาวิทยาศาสตร์ธรรมชาติใน[[เฮลซิงกิ]]ในปี ค.ศ. 1903<ref>Anrep (1927) p142</ref> เมื่องานของพาฟลอฟเป็นที่รู้จักกันโลกตะวันตก โดยเฉพาะเมื่อผ่านงานเขียนของ[[จอห์น บี. วัตสัน]] ความคิดเกี่ยวกับการวางเงื่อนไขในฐานะรูปแบบอัตโนมัติของการเรียนรู้กลายมาเป็นแนวคิดหลักของการมุ่งศึกษาด้าน[[จิตวิทยาเปรียบเทียบ]] และทฤษฎี[[พฤติกรรมนิยม]] อาทิ[[เบอร์ทรานด์ รัสเซิลล์]] นัก[[ปรัชญา]]ชาวอังกฤษได้สนับสนุนงานของพาฟลอฟเกี่ยวกับปรัชญาของจิต (philosophy of mind)
 
งานวิจัยของพาฟลอฟเกี่ยวกับการวางเงื่อนไขสะท้อนมีอิทธิพลอย่างมากไม่เฉพาะด้านวิทยาศาสตร์เท่านั้น แต่ยังเกี่ยวกับวัฒนธรรมอีกด้วย วลีที่ว่า "สุนัขของปาฟลอฟ" มักใช้เรียกคนที่ตอบสนองต่อสถานการณ์แทนที่จะใช้ความคิดเชิงวิพากษ์ การวางเงื่อนไขของปาฟลอฟยังเป็นแนวคิดหลักของ[[นิยายวิทยาศาสตร์]][[นวนิยายแนวดิสโทเปีย|แนวดิสโทเปีย]]ของ[[อัลดัส ฮักซลีย์]]ชื่อ ''[[โลกวิไลซ์]] (Brave New World) '' และนวนิยาย ''[[Gravity's Rainbow]]'' ชื่อ[[โทมัส พินชอน]] (Thomas Pynchon) ทฤษฎีของเขายังมีผลต่อละครแนววิทยาศาสตร์เช่น ''[[ดิ เอ็กซ์-ไฟล์ส]]'' (The X-Files)
 
เชื่อกันว่าปาฟลอฟนั้นจะสั่นกระดิ่งเป็นสิ่งกระตุ้นก่อนให้อาหารสุนัข แต่จริง ๆ แล้วจากงานเขียนของเขาบันทึกว่าเขาใช้สิ่งกระตุ้นหลากหลายชนิดมาก ไม่ว่าจะเป็นไฟฟ้าช็อต เสียงนกหวีด เครื่องเคาะจังหวะ ส้อมเสียง และสิ่งกระตุ้นทางการมองเห็น นอกเหนือจากการใช้กระดิ่ง บางแหล่งข้อมูลยังไม่มั่นใจว่าปาฟลอฟเคยใช้กระดิ่งในงานวิจัยของเขาจริงหรือไม่<ref>Catania, A. Charles (1994) ; ''Query: Did Pavlov's Research Ring a Bell?'', PSYCOLOQUY Newsletter, Tuesday, [[7 มิถุนายน]] [[พ.ศ. 2537]]</ref> บางแห่งสันนิษฐานว่าคนอื่นที่เกิดในยุคเดียวกับปาฟลอฟเป็นผู้ใช้กระดิ่งทดลอง เช่น วลาดิมีร์ บาฮ์เจเรฟ (Vladimir Bekhterev) หรือจอห์น บี. วัตสัน (John B. Watson) แต่บางแห่งกล่าวว่ามีแหล่งอ้างอิงหลายแหล่งกล่าวชัดเจนว่าปาฟลอฟใช้กระดิ่งทดลอง<ref>Thomas, Roger K. (1994) ; ''Pavlov's Rats "dripped Saliva at the Sound of a Bell"'', Psycoloquy, Vol. 5, No. 80 http://www.cogsci.ecs.soton.ac.uk/cgi/psyc/newpsy?5.80 (accessed 22 August 2006) </ref>