ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ชมพูบดีสูตร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Dharmadana (คุย | ส่วนร่วม)
Dharmadana (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 3:
'''ชมพูบดีสูตร''' เป็น[[พระสูตร]]นอก[[พระไตรปิฎก]] จัดอยู่ในหมวด[[สุตตสังคหะ]] คือหนังสือในหมวด[[พระสุตตันตปิฎก|สุตตันตปิฎก]] กล่าวถึง[[พระพุทธเจ้า]]ทรงแสดงพระองค์เป็นพระจักรพรรดิราชทรมานท้าวมหาชมพูผู้เป็นมิจฉาทิฐิจนท้าวมหาชมพูเลื่อมใสออกผนวชเป็น[[พระอรหันต์]]<ref>{{cite web |title=ชมพูบดีสูตร ฉบับสอบเทียบใบลาน |url=https://www.lirilumbini.com/images/lirilumbini/virtual_library_pdf/A_synoptic_romanized_edition_by_Santi_Pakdeekham.pdf}}</ref> สันนิษฐานว่าน่าจะมีต้นเค้ามาจากคัมภีร์ฝ่าย[[มหายาน]]และนํามาแต่งเป็นภาษาบาลีในภายหลัง พบต้นฉบับใน[[ประเทศไทย]] [[ประเทศพม่า]]<ref>Thiripyanchai U Mya, ''The Origin of the Jumbupati Image'', Report of the director of archaeology survey for the year ending (30 September 1959): 28-37.</ref> [[ประเทศกัมพูชา]]<ref>ศานติ ภักดีคํา, ''จิตรกรรมฝาผนังเรื่อง "ท้าวมหาชมพู" พระอุโบสถ วัดนางนองวรวิหาร'', เมืองโบราณ 32, 3 (กรกฎาคม - กันยายน 2549): 3</ref> และ[[ประเทศลาว]]<ref>ณัฐา คุ้มแก้ว, ''การศึกษาเชิงวิเคราะห์วรรณกรรมภาคใต้เรื่องพระยาชมพู'' (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาจารึกภาษาไทย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2552), 112.</ref>
 
นักวิชาการพม่าสันนิษฐานว่า เรื่องชมพูบดีน่าจะแพร่หลายจากพม่าเข้าสู่ประเทศไทยและประเทศลาวโดยพระสงฆ์นิกาย[[เถรวาท]]ที่เป็น[[ชาวมอญ]] มีการค้นพบการสวดมนต์โดยพระสงฆ์ 3 รูป แทนพระพุทธเจ้า พระเจ้าราชาธิราชและพระเจ้าชมพูบดี<ref>Thiripyanchai U Mya, ''The Origin of the Jumbupati Image'', Report of the director of archaeology survey for the year ending, 71.</ref> ในประเทศไทยได้รับความนิยมมากใน[[สมัยอยุธยา]]และรัตนโกสินทร์ มีหลักฐานปรากฏในสมัยอยุธยาตอนกลาง คือ [[พระพุทธรูปทรงเครื่อง]]น้อย และปรากฏหลักฐานว่าในรัชกาล[[พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ]]ซึ่งส่งหนังสือชมพูบดีวัตถุไปให้แก่พระเจ้าเกียรติศิริกษัตริย์ลังกาผ่านพระสงฆ์ซึ่งเดินทางมาสืบพระพุทธศาสนา ปรากฏใน[[จิตรกรรมฝาผนัง]]เฉพาะในภาคกลาง ภาคเหนือของประเทศไทย และที่เมืองหลวงพระบาง ประเทศลาวในช่วงพุทธศตวรรษที่ 24–25 เท่านั้น ไม่พบในที่อื่นเช่น พม่า ตัวอย่างสถานที่พบ เช่น [[วัดนางนองวรวิหาร]] กรุงเทพมหานคร [[พระที่นั่งพุทไธสวรรย์]] [[วัดไพชยนต์พลเสพย์ราชวรวิหาร]] [[จังหวัดสมุทรปราการ]] [[วัดมหาธาตุวรวิหาร (จังหวัดเพชรบุรี)|วัดมหาธาตุวรวิหาร]] [[จังหวัดเพชรบุรี]] เป็นต้น<ref name="ธนภัทร์">{{cite web |author1=ธนภัทร์ ลิ้มหัสนัยกุล |title= ชมพูบดีสูตรในจิตรกรรมฝาผนังช่วงพุทธศตวรรษที่ 24–25 |url=http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/bitstream/123456789/608/1/56107203%20%20%20%E0%B8%98%E0%B8%99%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B9%8C%20%20%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B9%89%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B1%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%B8%E0%B8%A5.pdf |publisher=มหาวิทยาลัยศิลปากร}}</ref>
 
==ที่มา==
บรรทัด 13:
 
ต่อมาพระพุทธองค์เห็นว่าพระเจ้าชมพูบดีสามารถบรรลุเป็นพระอรหันต์ได้จึงให้[[พระอินทร์]]ไปเชิญพระเจ้าชมพูบดีมาเฝ้า ซึ่งต้องใช้กําลังบังคับจนพระเจ้าชมพูบดียอมเดินทางมา พระพุทธเจ้าได้เนรมิตเมืองให้ เมื่อพระเจ้าชมพูบดีเสด็จมาถึง พระพุทธเจ้าก็ให้มาฆสามเณรไปเชิญพระเจ้าชมพูบดีเสด็จพระราชดําเนินเข้าเมืองด้วยเท้า ซึ่งมาฆสามเณรก็ใช้อิทธิฤทธิ์ทําให้พระเจ้าชมพูบดีต้องลงจากหลังช้างและเดินเท้าเข้าเมือง เมื่อเข้าเมืองเห็นว่าเมืองของพระเจ้าราชาธิราช (พระพุทธเจ้า) ยิ่งใหญ่กว่าเมืองของตนจึงลดทิฐิมานะลง เมื่อได้เข้าเฝ้าพระพุทธองค์ พระองค์ได้ปราบพยศของพระเจ้าชมพูบดีจนสุดท้ายยอมบวชเป็นภิกษุพร้อมกับกษัตริย์ทั้งร้อยเอ็ดและเสนาอํามาตย์และได้ส่งคนกลับไปยังเมืองปัญจาลนครเพื่อแจ้งแก่มเหสีและโอรส ซึ่งต่อมาเดินทางมายังเวฬุวนารามของพระพุทธเจ้าและได้บวชเช่นกันและล้วนบรรลุอรหันต์ทั้งสิ้น
 
==ฉบับ==
ต้นฉบับ[[ใบลาน]]เรื่องชมพูบดีสูตรที่เก่าแก่ที่สุดที่พบ คือ ใบลาน Bibliothèque Nationale [[กรุงปารีส]] [[ประเทศฝรั่งเศส]] ซึ่งอาจมีอายุเก่าไปถึงสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช<ref name="ธนภัทร์"/> [[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ]] โปรดให้ตีพิมพ์ ในชื่อ ''มหาชมพูปติสูตร'' ฉบับล้านนาเรียก ''ชุมพูปติ'' หรือ ''ชุมพูปัตติ'' เช่นที่[[วัดป่าสักน้อย]] [[ตำบลแม่ปูคา]] [[อำเภอสันกำแพง]] [[จังหวัดเชียงใหม่]] คัมภีร์มีจํานวน 3 ผูก รวม 99 หน้าใบลาน
 
ฉบับล้านช้าง เป็นต้นฉบับจากหอสมุดแห่งชาติลาว โดยได้ทําการปริวรรตใหม่ เพราะยังไม่เคยมีการปริวรรตมาก่อน โดยในใบลานได้ระบุจุลศักราช 1268 ตรงกับพุทธศักราช 2449 มีจํานวน 5 ผูก ทั้งหมด 228 หน้าใบลาน เรียกว่า ''ชมพูปัตติ'' หรือ ''ชมพูปติ''
 
==อ้างอิง==