ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ชมพูบดีสูตร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Dharmadana (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Dharmadana (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 8:
พระสูตรเรื่องชมพูบดีสูตร น่าจะมาจากพระสูตรชื่อ พระเจ้ากัปผิณะ (มหากปินะ)<ref>สาโรชน์ บัวพันธุ์งาม, ''การศึกษาเชิงวิเคราะห์คัมภีร์อวทาน-ศตกะ'' (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาสันสกฤต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2556), 363.</ref> ที่เก่าสุดอยู่ในคัมภีร์[[อวทาน-ศตกะ]] (พุทธศตวรรษที่ 3) เรื่องมหากปินะมีการแปลเป็นภาษาอื่นโดยแบ่งออกเป็น 2 สาย คือ สายแรกผ่านจาก[[ประเทศอินเดีย|อินเดีย]]ใน[[จักรวรรดิปาละ|สมัยปาละ]]เข้าสู่ประเทศพม่าในสมัย[[พุกาม]] เมื่องเข้าสู่พม่าแล้วน่าจะแปลจากต้นฉบับที่เป็นภาษาสันสกฤตเป็นภาษาบาลี เนื่องจากปรากฏการแปลคัมภีร์อีกหลายฉบับที่มักแปลจากภาษาสันสกฤตเป็นภาษาบาลี ต่อมาได้ส่งอิทธิพลเข้ามาในประเทศไทยก่อนจะส่งเข้าไปในประเทศลาวและกัมพูชาต่อไป อีกสายหนึ่งผ่านจากอินเดียเข้าสู่เอเชียกลาง เข้าไปยังทิเบตและจีน ดังปรากฏใน[[ทมมูกนิทานสูตร]]ซึ่งแต่งโดยภิกษุ 5 รูปโดยรวบรวมเรื่องราวต่าง ๆ มา โดยมีต้นทางมาจากอินเดีย
 
==แก่นเรื่อง==
พระเจ้าชมพูบดีซึ่งประสูติเป็นโอรสแห่งเมืองปัญจาลนครและมีของวิเศษคู่กายคือฉลองพระบาท พระขรรค์และลูกศร ต่อมาได้เป็นกษัตริย์ครองเมือง มีมเหสีชื่อนางกาญจนเทวีมีโอรสชื่อ ศิริคุตราช
กุมาร วันหนึ่งพระเจ้าชมพูบดีเหาะไปเจอปราสาท[[พระเจ้าพิมพิสาร]]แล้วอิจฉาพยายามจะทําลาย แต่ไม่สามารถทำลายปราสาทได้ จึงส่งของวิเศษทั้งสองมาเพื่อจัดการรกับพระเจ้าพิมพิสาร จนพระเจ้าพิมพิสารต้องขอให้พระพุทธเจ้าช่วย
ึ่
ต่อมาพระพุทธองค์เห็นว่าพระเจ้าชมพูบดีสามารถบรรลุเป็นพระอรหันต์ได้จึงให้[[พระอินทร์]]ไปเชิญพระเจ้าชมพูบดีมาเฝ้า ซึ่งต้องใช้กําลังบังคับจนพระเจ้าชมพูบดียอมเดินทางมา พระพุทธเจ้าได้เนรมิตเมืองให้ เมื่อพระเจ้าชมพูบดีเสด็จมาถึง พระพุทธเจ้าก็ให้มาฆสามเณรไปเชิญพระเจ้าชมพูบดีเสด็จพระราชดําเนินเข้าเมืองด้วยเท้า ซึ่งมาฆสามเณรก็ใช้อิทธิฤทธิ์ทําให้พระเจ้าชมพูบดีต้องลงจากหลังช้างและเดินเท้าเข้าเมือง เมื่อเข้าเมืองเห็นว่าเมืองของพระเจ้าราชาธิราช (พระพุทธเจ้า) ยิ่งใหญ่กว่าเมืองของตนจึงลดทิฐิมานะลง เมื่อได้เข้าเฝ้าพระพุทธองค์ ท่านก็ปราบพยศของพระเจ้าชมพูบดีจนสุดท้ายยอมบวชเป็นภิกษุพร้อมกับกษัตริย์ทั้งร้อยเอ็ดและเสนาอํามาตย์และได้ส่งคนกลับไปยังเมืองปัญจาลนครเพื่อแจ้งแก่มเหสีและโอรส ซึ่งต่อมาเดินทางมายังเวฬุวนารามของพระพุทธเจ้าและได้บวชเช่นกันและล้วนบรรลุอรหันต์ทั้งสิ้น
ั้
==อ้างอิง==
{{รายการอ้างอิง}}