ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอุรุพงษ์รัชสมโภช"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Mugornja (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Phudis Sornsetthee (คุย | ส่วนร่วม)
อ้างอิ้งจากกำหนดการเผาพระศพ
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 16:
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอุรุพงษ์รัชสมโภช ประสูติเมื่อวันอาทิตย์ เดือน 11 ขึ้น 4 ค่ำ ปีมะเส็ง เบญจศก จ.ศ. 1255 ตรงกับวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2436 เป็นพระราชโอรสใน[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] โปรดให้ตามเสด็จรับใช้ใกล้ชิด มาตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์เช่นเมื่อคราวเสด็จประพาสต้นครั้งที่ 2 ปี พ.ศ. 2449 และเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ 2 ปี พ.ศ. 2450 พระองค์ก็ได้ตามเสด็จสมเด็จพระบรมชนกนาถด้วยทั้ง 2 ครั้ง เมื่อทรงเจริญถึงวัยที่จะเสด็จไปทรงศึกษาต่อต่างประเทศ เช่นเดียวกับพระราชโอรสพระองค์อื่น ก็ทรงให้เว้นเสีย และให้จ้างครูชาวต่างชาติเข้ามาสอนหนังสือถึงในพระตำหนัก แทนที่จะต้องเสด็จไปศึกษาในต่างประเทศ นอกจากนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างตำหนักขึ้นภายในพระราชวังดุสิตและพระราชทานนามว่า "ตำหนักราชฤทธิ์รุ่งโรจน์" เพื่อพระราชทานให้ประทับอยู่ใกล้ ๆ<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2450/052/1409_2.PDF ข่าวพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าอุรุพงษ์รัชสมโภชมีมงคลการเสด็จขึ้นตำหนัก], เล่ม 24, ตอน 52, 29 มีนาคม พ.ศ. 2450, หน้า 1409</ref>
 
พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าอุรุพงษ์รัชสมโภช ประชวรด้วยโรคไส้ตัน สิ้นพระชนม์ด้วยวัยเพียงไม่ถึง 16 พรรษา เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 12 ขึ้น 8 ค่ำ ปีมะเส็งเบญจศก จ.ศ. 1255 ตรงกับวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2452<ref> [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2452/D/1408.PDF ข่าวสิ้นพระชนม์]</ref> พระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุ [[วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร|วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม]]
 
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโทมนัสยิ่งนักที่พระราชโอรสสิ้นพระชนม์ ในวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระองค์ โปรดเกล้าฯ ให้สร้าง[[สะพาน]]ข้ามคลอง เพื่อให้ประชาชนใช้ประโยชน์เป็นสาธารณกุศล ที่เชิงสะพานทั้งสองฝั่งมีพระรูปปั้นหินอ่อนของพระองค์เจ้าอุรุพงศ์รัชสมโภช พระราชทานชื่อสะพานว่า '''สะพานอุรุพงษ์''' จนถึงปัจจุบัน ไม่มีสะพานแห่งนี้แล้ว คงเหลือแต่ชื่อ สะพานอุรุพงษ์ ข้ามแม่น้ำเพชรบุรี อาคารอุรุพงษ์ ภายในวิทยาลัยอาชีวศึกษาเพชรบุรี [[ถนนอุรุพงษ์]] และ[[สี่แยกอุรุพงษ์]] ถนนในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร