ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นิติธรรม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
88Land (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยแอปสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยแอปสำหรับแอนดรอยด์
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่ 9744980 สร้างโดย 88Land (พูดคุย)
ป้ายระบุ: ทำกลับ
บรรทัด 12:
จะเห็นได้ว่าหลักนิติธรรมนี้จะต้องอยู่เคียงคู่กับหลักความสูงสุดของกฎหมาย (the supremacy of law) เสมอ เนื่องจากเมื่อรัฐใดใช้[[กฎหมาย]]เป็นหลักเกณฑ์สูงสุดใน[[การปกครอง]]แล้ว ก็จะเป็นการรับประกันว่า[[พลเมือง]]ทุกๆ คน แม้แต่เจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือ ผู้ปกครอง ในการปฏิบัติตามหน้าที่ หรือ บริหารราชการแผ่นดินนั้นก็จะต้องอยู่ภายใต้กรอบของกฎหมายซึ่งเป็นสิ่งสูงสุด ดังนั้นใน[[ระบอบการปกครอง]]ที่ยึดหลักนิติธรรม คนทุกๆ คน ที่อาศัยอยู่ในสังคมการเมืองดังกล่าวนั้นย่อมจะต้องมีความเท่าเทียม และมั่นใจได้ว่าไม่ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่ หรือ ข้าราชการระดับสูง หรือ แม้แต่บุคคลใน[[รัฐบาล]]เองก็จะต้องอยู่ภายใต้กรอบของกฎหมายเฉกเช่นเดียวกันกับพวกเขา นอกจากนี้หลักความสูงสุดของกฎหมายก็ยังเป็นลักษณะร่วมกันระหว่างหลักนิติธรรม กับ หลัก[[นิติรัฐ]]อีกด้วย นอกจากนี้ชุดคุณค่า ปทัสถานหลายๆ อย่างในทางการเมืองอย่างความเท่าเทียม ความเที่ยงธรรม ก็ถูกนำมาสร้างให้เกิดขึ้นเป็นรูปธรรมผ่านการออกกฎหมาย และการบังคับใช้[[กฎหมาย]]ที่วางอยู่บนชุดคุณค่าเหล่านั้น ซึ่งเป็นสถาบันทางสังคม (social institution) ที่เป็นผลอันเกิดจากการยอมรับ และการประพฤติปฏิบัติของคนในสังคมนั้นๆ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ในบางสังคมกฎหมายจึงอาจกลายเป็นเครื่องมือในการสร้างความชอบธรรมในการกีดกัน และสร้างความไม่เท่าเทียม และไม่เป็นธรรมทางเพศ หากสังคมนั้นยอมรับชุดคุณค่า และปทัสถานเรื่องความไม่เท่าเทียมกันทางเพศมาเป็นปทัสถานทางสังคมที่ผู้คนให้การยอมรับนับถือ และปฏิบัติตามได้เช่นกัน
 
== ตัวอย่างการนำไปใช้ใน{{ประเทศไทย}} ==
หลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 ที่ได้ระบอบการปกครองแบบ[[สมบูรณาญาสิทธิราชย์]] ถูกแทนที่ด้วยระบอบ[[พระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ]] (โปรดดู Constitutional Monarchy) ถือได้ว่าหลักนิติธรรมในแง่ของแนวคิดพื้นฐานได้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกใน[[ประเทศไทย]] เพราะอำนาจสูงสุดของรัฐได้ถูกถ่ายโอนจากองค์[[พระมหากษัตริย์]]ไปสู่รัฐธรรมนูญที่ระบุให้ที่มาของ[[อำนาจอธิปไตย]]มาจากเบื้องล่าง คือ [[ประชาชน]] กฎหมายที่ตราขึ้นโดยรัฐสภาภายใต้[[รัฐธรรมนูญ]]ตั้งแต่ พ.ศ. 2475 เป็นต้นมา เป็นกฎหมายที่ตราขึ้นโดยตัวแทนที่มาจาก[[การเลือกตั้ง]]ของประชาชน ดังนั้นในแง่นี้สถานะของประชาชนที่เป็นทั้งผู้ปกครอง และผู้ถูกปกครอง (the ruler and the ruled) อย่างเท่าเทียมกันภายใต้ความสูงสุดของกฎหมาย (รัฐธรรมนูญ) จึงได้บังเกิดขึ้นนับแต่นั้นมา
 
บรรทัด 27:
นอกจากนี้ในรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2550 ยังได้เขียนคำว่า "นิติธรรม" ไว้อย่างชัดเจนในมาตรา 3 วรรคสองว่า "การปฏิบัติหน้าที่ของ[[รัฐสภา]] [[คณะรัฐมนตรี]] [[ศาล]] รวมทั้งองค์กรตามรัฐธรรมนูญและหน่วยงานของรัฐ ต้องเป็นไปตามหลักนิติธรรม" ซึ่งการบัญญัติดังกล่าวเป็นการเน้นให้เห็นว่า ผู้ใช้อำนาจปกครองทั้งสามอำนาจ (ตามหลัก[[การแบ่งแยกอำนาจ]]) รวมถึงองค์กรของรัฐอื่นๆ ที่มีอำนาจหน้าที่ที่อาจส่งผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชนได้นั้นล้วนแล้วแต่ต้องกระทำการอยู่ภายใต้กรอบของกฎหมายอย่างเสมอภาคเท่าเทียม และเป็นธรรมด้วยกันทั้งสิ้น
 
อย่างไรก็ตาม การใช้คำว่า “นิติธรรม” และ “[[นิติรัฐ]]” ของไทยนั้นยังคงสับสน และมักใช้ร่วมกันอยู่บ่อยครั้ง ทั้งนี้ก็เนื่องจากความเข้าใจผิดเกี่ยวกับความหมาย และหลักการทางกฎหมายมหาชนของคำทั้งสอง เพราะหากเรายึดตามหลักการ ตามทฤษฎีแล้ว ประเทศไทยซึ่งใช้ระบบกฎหมายแบบลายลักษณ์อักษร (civil law) ตามแบบอย่างประเทศในภาคพื้น[[ทวีปยุโรป]] เช่น [[เยอรมนี]] และ[[ฝรั่งเศส]] ย่อมจะต้องยืนอยู่บนหลักการความสูงสุดของกฎหมายที่เป็น “[[นิติรัฐ]]” มากกว่า หลักความสูงสุดของกฎหมายในแบบ “นิติธรรม” ที่ใช้ในระบบกฎหมายจารีตประเพณี (common law) โดยมี[[อังกฤษ]]เป็นต้นแบบ เพราะหลักนิติรัฐนั้นจะเน้นไปที่รูปแบบ-โครงสร้าง (form-structure) และวิธีการในการไปให้ถึงเป้าประสงค์ คือการจำกัดอำนาจรัฐ ในขณะที่หลักนิติธรรมนั้นจะเน้นที่เนื้อหา (substance) และกระบวนการ (procedure) ในการสร้างเสริม[[สิทธิ]] และ[[เสรีภาพ]]ให้แก่[[ประชาชน]]{{
นิติธรรมมีศีลเเละธรรมทั้งหลายอยู่ในกฏการในกฏเกณฑ์ให้มีผลปรากฏที่ไม่เบียดเบียนที่ไม่ประมาทที่ยับยั้งภัยที่ให้อยู่ร่วมกันด้วยดี}}
 
== อ้างอิง ==