ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วัดพระธาตุดอยตุง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
InternetArchiveBot (คุย | ส่วนร่วม)
Rescuing 2 sources and tagging 1 as dead.) #IABot (v2.0.8.1
บรรทัด 40:
== ประวัติ ==
[[ไฟล์:Wat Phra That Doi Tung - 2562-12-29 - 05.jpg|thumb|หลุมปักเสาตุงตามตำนานการก่อสร้างพระธาตุดอยตุง]]
 
 
ตามตำนานสิงหนติโยนกและตำนานพระธาตุดอยทุงเมืองเชียงแสนกล่าวว่า พระพุทธเจ้าได้เสด็จมายังดอยดินแดง ประทับบนหินก้อนหนึ่งมีรูปทรงเหมือนมะนาวผ่าซีก และทำนายว่าที่นี่จะเป็นที่ประดิษฐาน[[พระบรมสารีริกธาตุ]]ส่วนพระรากขวัญเบื้องซ้าย (กระดูกไหปลาร้า) และบอกพระอานนท์ว่า หลังพระองค์ปรินิพพาน ให้พระมหากัสสปะนำพระบรมสารีริกธาตุมาประดิษฐานที่นี่
เส้น 80 ⟶ 79:
ในปี [[พ.ศ. 2516]] [[กระทรวงมหาดไทย]]ได้ก่อสร้างพระธาตุองค์ใหม่ครอบพระเจดีย์เดิมไว้ องค์พระธาตุเป็นสีทองขนาดเล็กสององค์ สูงประมาณ 5 เมตร บนฐานสี่เหลี่ยมย่อมุม มีซุ้มจระนำสี่ทิศ องค์ระฆังและปลียอดมีขนาดเล็ก ออกแบบโดยนายประกิต (จิตร) บัวบุศย์ การสร้างพระธาตุองค์ใหม่นั้นใช้วิธีหล่อคอนกรีตมาประกอบครอบเจดีย์คู่ทั้งสององค์ เพื่อให้การเปลี่ยนแปลงแบบขององค์พระธาตุดังกล่าวสามารถอนุรักษ์สถาปัตยกรรมแบบดั้งเดิมไว้ภายในได้<ref>[http://oknation.nationtv.tv/blog/yuwym/2007/08/31/entry-1 เผยโฉมพระธาตุดอยตุงฉบับล้านนา]</ref>
 
ในปี [[พ.ศ. 2549]] [[กรมศิลปากร]]มีโครงการรื้อถอนรูปแบบศิลปกรรมของพระธาตุดอยตุงที่กระทรวงมหาดไทยได้ก่อครอบพระธาตุองค์เดิมไว้<ref>หนังสือพิมพ์สยามรัฐ วันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2549</ref><ref>{{Cite web |url=http://www.bpct.org/index.php?option=com_content&task=view&id=243 |title=ศูนย์พิทักษ์พระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย |access-date=2007-03-10 |archive-date=2007-09-27 |archive-url=https://web.archive.org/web/20070927063600/http://www.bpct.org/index.php?option=com_content&task=view&id=243 |url-status=dead }}</ref> โดยให้เหตุผลว่า เพื่อเป็นไปตามร้องขอของคนท้องถิ่นไปทางจังหวัด และส่งต่อมายังสำนักโบราณคดีเชียงใหม่ ให้ช่วยฟื้นฟูพระสถูปในสมัยที่[[ครูบาศรีวิชัย]] นักบุญแห่งล้านนา ได้บูรณะไว้ตามภาพถ่ายที่ปรากฏอยู่ในวิหารพระธาตุดอยตุง ซึ่งคณะทำงานได้มีการหารือทางต่อเจ้าคณะอำเภอเรียบร้อยแม่สายแล้ว และได้ให้นำพระสถูปครอบที่ถอดออกมาไปตั้งไว้ที่วัดน้อยพระธาตุดอยตุง ซึ่งอยู่ด้านล่างก่อนขึ้นดอยพระธาตุ จากนั้นจึงทำการบูรณะพระสถูปเจดีย์ให้กลับมาอยู่ในสภาพดั้งเดิมสมัยครูบาศรีวิชัยให้คืนกลับมาสภาพดังเดิมให้แล้วเสร็จก่อนเดือน[[ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2550]] ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 21 ล้านบาท โดยรวมค่าปรับปรุงภูมิทัศน์ อาทิ ปรับปรุงพื้นที่ลานพระธาตุให้กว้างขึ้น รื้อโรงเก็บวัสดุอุปกรณ์ เคลื่อนย้ายพระสังกัจจายน์และพระพุทธรูปองค์ใหญ่ปางต่างๆ ไปตั้งประดิษฐานในสถานที่ที่เหมาะสม ปรับปรุงภูมิทัศน์ฐานบันไดนาคทางขึ้น เพื่อความสะดวกต่อพุทธศาสนิกชนซึ่งไปนมัสการพระธาตุเป็นจำนวนมากของทุกปี
 
== รูปแบบศิลปกรรม ==