ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โรมาจิ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Ymrttw (คุย | ส่วนร่วม)
แก้ไขและเพิ่มเติมข้อมูล (ข้อมูลบางส่วนมาจาก wikipedia ภาษาญี่ปุ่น บางส่วนมาจากหนังสือหรือเอกสารที่มี)
Ymrttw (คุย | ส่วนร่วม)
แก้ไขข้อความให้เข้าใจง่ายขึ้น+แก้คำผิด
บรรทัด 1:
{{ต้องการอ้างอิง}}
{{การเขียนภาษาญี่ปุ่น}}
'''โรมาจิ''' ({{[[ภาษาญี่ปุ่น|ญี่ปุ่น]]: ローマ字| โรมาจิ: Rōmaji}}) หมายถึง [[อักษรละติน|อักษรโรมัน (อักษรละติน)]] ที่ใช้แทน[[คานะ|อักษรคานะ]]ใน[[ภาษาญี่ปุ่น]]ตามร[[การถอดเป็นอักษรโรมัน|ะบบการถอดเป็นอักษรโรมัน]] (romanization) ซึ่งมีอยู่หลายระบบ ได้แก่ '''ระบบคุนเร''' ({{[[ภาษาญี่ปุ่น|ญี่ปุ่น]]: 訓令式| โรมาจิ: Kunrei-shiki [[การทับศัพท์ภาษาญี่ปุ่น|ทับศัพท์]]: คุนเรชิกิ}}) '''ระบบเฮ็ปเบิร์น''' ({{[[ภาษาญี่ปุ่น|ญี่ปุ่น]]: ヘボン式| โรมาจิ: Hebon-shiki [[การทับศัพท์ภาษาญี่ปุ่น|ทับศัพท์]]: เฮบงชิกิ}}) '''ระบบนิฮง''' ({{[[ภาษาญี่ปุ่น|ญี่ปุ่น]]: 日本式| โรมาจิ: Nihon-shiki [[การทับศัพท์ภาษาญี่ปุ่น|ทับศัพท์]]: นิฮงชิกิ}}) เป็นต้น
 
ในปี ค.ศ. 1954 ซึ่งตรงกับ[[โชวะ (ศักราช)|ปีโชวะ]]ที่ 29 รัฐบาลญี่ปุ่นได้ประกาศใช้ "'''ข้อกำหนดการถอดเป็นอักษรโรมัน'''" ({{[[ภาษาญี่ปุ่น|ญี่ปุ่น]]: ローマ字のつづり方| โรมาจิ: Rōmaji no tsuzurikata}}) ประกอบไปด้วยตาราง 2 ตาราง ตารางที่ 1 เป็นวิธีถอดตามระบบคุนเร ส่วนตารางที่ 2 เป็นวิธีถอดแบบอื่น ๆ ที่ไม่มีในตรงกับระบบคุนเร โดยรัฐบาลญี่ปุ่นกำหนดให้ใช้ตารางที่ 1 เป็นหลัก และใช้ตารางที่ 2 เฉพาะกรณีที่ไม่สามารถเปลี่ยนมาใช้ตามระบบที่กำหนดได้ในทันที เช่น เป็นวิธีถอดที่ใช้ในทางการทูต<ref>{{Cite web|title=文化庁 {{!}} 国語施策・日本語教育 {{!}} 国語施策情報 {{!}} 内閣告示・内閣訓令 {{!}} ローマ字のつづり方 {{!}} 訓令,告示制定文|url=https://www.bunka.go.jp/kokugo_nihongo/sisaku/joho/joho/kijun/naikaku/roma/kunrei.html|url-status=live|access-date=2021-10-27|website=www.bunka.go.jp|language=ja}}</ref>
 
นอกจากนี้ ใน "'''แนวปฏิบัติการจัดการเรียนรู้ระดับประถมศึกษา'''" ({{[[ภาษาญี่ปุ่น|ญี่ปุ่น]]: 小学校学習指導要領| โรมาจิ: Shōgakkō gakushū shidō yōryō}}) ซึ่งประกาศใช้ในปี ค.ศ. 2017 ยังได้กำหนดให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เรียนวิธีการถอดภาษาญี่ปุ่นเป็นอักษรโรมัน (โรมาจิ) ตามข้อกำหนดข้างต้นทั้งในด้านการอ่านและการเขียนด้วย อย่างไรก็ตาม โรมาจิมีการใช้ที่จำกัด เช่น ข้อความบนป้ายสาธารณะตามท้องถนน ชื่อและนามสกุลบนหนังสือเดินทาง และการป้อนข้อมูลเข้าคอมพิวเตอร์<ref>{{Cite book|last=Iwata|first=Kazunari|url=https://www.worldcat.org/oclc/1160201927|title=Meikai Nihongogaku jiten|last2=岩田一成|date=|others=Takurō Moriyama, Katsumi Shibuya, 卓郎 森山, 勝己 渋谷|year=2018|isbn=978-4-385-13580-9|location=Tōkyō|pages=164|language=ja|chapter=ローマ字 (the Roman alphabet)|oclc=1160201927}}</ref>
 
== อักขรวิธี ==
บรรทัด 17:
ระบบเฮ็ปเบิร์นและระบบเฮ็ปเบิร์นฉบับปรับปรุงแทน「シ」ด้วย "shi" แทน「チ」ด้วย "chi" แทน「ツ」ด้วย "tsu" แทน「フ」ด้วย "fu" แทน「ジ」ด้วย "ji" เสียงควบกล้ำของวรรค「サ」แทนด้วย "sh-" ทั้งหมด เสียงควบกล้ำของวรรค「タ」แทนด้วย "ch-" ทั้งหมด และเสียงควบกล้ำของวรรค「ザ」แทนด้วย "j-" ทั้งหมด เนื่องจากคำนึงถึงความใกล้เคียงกับการออกเสียงภาษาอังกฤษซึ่งเป็น[[ภาษาแม่]]ของ[[เจมส์ เคอร์ทิส เฮ็ปเบิร์น]] (James Curtis Hepburn)
 
ระบบนิฮงแทน「ヂ」「ヅ」「ヲ」ด้วย "di" "du" "wo" อิงตาม[[อักขรวิธี]]โบราณ แต่เนื่องจากใน[[ภาษากลาง]] ([[ภาษาโตเกียว]]) ไม่ได้แยกความต่างระหว่าง「ヂ」กับ「ジ」, 「ヅ」กับ「ズ」และ「ヲ」กับ「オ」อีกต่อไป ระบบคุนเรจึงให้ใช้ "zi" แทนทั้ง「ヂ」และ「ジ」, "zu" แทนทั้ง「ヅ」และ「ズ」, "o" แทนทั้ง 「ヲ」และ「オ」 เช่นเดียวกับระบบเฮ็ปเบิร์นที่ให้ "ji" แทนทั้ง「ヂ」และ「ジ」, "zu" แทนทั้ง「ヅ」และ「ズ」, "o" แทนทั้ง 「ヲ」และ「オ」
 
=== พยัญชนะท้ายนาสิก ===
โดยหลักการแล้ว [[ภาษาญี่ปุ่น#เสียงพยัญชนะท้ายนาสิก_/N/|เสียงพยัญชนะท้ายนาสิก「ん」]]ให้เขียนเป็น "n" ยกเว้นเฉพาะระบบเฮ็ปเบิร์นแบบเก่าดั้งเดิมที่กำหนดให้เขียนเป็น "m" เมื่ออยู่หน้าอักษร "b, p, m"
 
หากหลัง「ん」เป็นสระหรืออักษรวรรค「ヤ」ในระบบเฮ็ปเบิร์นแบบเก่าดั้งเดิมจะเติมเครื่องหมาย[[ยัติภังค์|เครื่องหมายยัติภังค์]] ส่วนระบบเฮ็ปเบิร์นฉบับปรับปรุงจะเติมเครื่องหมาย[[อะพอสทรอฟี|เครื่องหมายอะพอสทรอฟี]] เพื่อป้องกันความสับสนที่จะอ่านเป็นอักษรวรรค「ナ」
 
ตัวอย่าง: shin-ai หรือ shin'ai({{Ruby-ja|親愛|しんあい}}) ≠ shinai({{Ruby-ja|市内|しない}}), shin-yō หรือ shin'yō({{Ruby-ja|信用|しんよう}}) ≠ shinyō({{Ruby-ja|屎尿|しにょう}})
 
=== พยัญชนะซ้ำ ===
โดยหลักการแล้ว ให้ซ้ำพยัญชนะที่อยู่ก่อนหน้า[[ภาษาญี่ปุ่น#เสียงพยัญชนะซ้ำ_/Q/|เสียงพยัญชนะซ้ำ「っ」]] มีข้อยกเว้นเฉพาะในระบบเฮ็ปเบิร์น (ทั้งแบบเก่าและฉบับปรับปรุง) ที่ให้ให้ "t" เมื่อตามด้วย "ch" เช่น "ma<u>tc</u>ha" สำหรับเสียงพยัญชนะซ้ำกรณีที่ปรากฏท้ายคำ เช่น「あっ」「それっ」ไม่มีระบบใดที่กำหนดวิธีเขียนไว้
 
=== เสียงยาว ===
 
* ระบบคุนเรเติมเครื่องหมาย[[เซอร์คัมเฟล็กซ์บนสระคัมเฟล็กซ์]]บนสระ "'''â, î, û, ê, ô'''" เพื่อแสดงเสียงสระยาว เช่น Tôkyô({{Ruby-ja|東京|とうきょう}})
* ระบบเฮ็ปเบิร์นแบบเก่าดั้งเดิมแทนเสียงสระยาวของ "a, i, u, e, o" ด้วย "'''aa, ii, ū, ee, ō'''" ตามลำดับ และระบบเฮ็ปเบิร์นฉบับปรับปรุงแทนด้วย "'''ā, ii, ū, ē, ō'''" ตามลำดับ เช่น Tōkyō({{Ruby-ja|東京|とうきょう}})
* ไม่ปรากฏการใช้สัญลักษณ์พิเศษแสดงเสียงยาวในระบบนิฮง
* ในการใช้งานจริง บางครั้งอาจจะละสัญลักษณ์แสดงเสียงยาวไป เช่น Tokyo({{Ruby-ja|東京|とうきょう}}) และบางครั้งอาจพบการใช้อักษร "h" ในการแสดงเสียงยาวของ /o/ เช่น Ohno({{Ruby-ja|大野|おおの}})
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/โรมาจิ"