ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อาร์แซน แวงแกร์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
InternetArchiveBot (คุย | ส่วนร่วม)
Rescuing 1 sources and tagging 0 as dead.) #IABot (v2.0.8.2
ยุทธนาสาระขันธ์ (คุย | ส่วนร่วม)
อาร์แซน แวงแกร์ อายุครบ 72 ปี
บรรทัด 18:
| manageryears1 = 1984–1987 |managerclubs1 = [[อาแอ็ส น็องซี|น็องซี]]
| manageryears2 = 1987–1994 |managerclubs2 = [[อาแอ็ส มอนาโก|มอนาโก]]
| manageryears3 = 1995–1996 |managerclubs3 = [[นะโงะยะนาโงยะ แกรมปัส]]
| manageryears4 = 1996–2018 |managerclubs4 = [[สโมสรฟุตบอลอาร์เซนอล|อาร์เซนอล]]
}}
'''อาร์แซน แวงแกร์''', [[จตุรถาภรณ์แห่งจักรวรรดิบริติช|โอบีอี]]<ref>{{cite web |url=http://news.bbc.co.uk/2/hi/uk_news/2988090.stm |title=2003 Queen's birthday honours announced}}</ref> ({{lang-fr|Arsène Wenger}}, [[IPA|ออกเสียง]]: {{IPA|[aʁsɛn vɛŋ(ɡ)ɛʁ]}}) หรือ '''อาร์เซน เวงเกอร์''' ตามการออกเสียงใน[[ภาษาอังกฤษ]] <ref group=หมายเหตุ> ในภาษาอังกฤษออกเสียง {{IPA|/ɑːˈsen ˈveŋɡə/}} (สำเนียง Received Pronunciation ในสหราชอาณาจักร) หรือ {{IPA|/ɑːrˈsen ˈveŋɡər/}} (สำเนียง General American ในสหรัฐอเมริกา). ''Longman Dictionary of Contemporary English fifth edition.'' [DVD-ROM]. London: Pearson Education, 2009.</ref> เป็น[[ผู้จัดการทีมฟุตบอล]][[ชาวฝรั่งเศส]] เคยเป็นผู้จัดการทีม[[สโมสรฟุตบอลอาร์เซนอล|อาร์เซนอล]] ยาวนานกว่า 22 ปี (ในระหว่างปี 1996-2018) ปัจจุบันเป็นหัวหน้าแผนกพัฒนาฟุตบอลของ[[สหพันธ์ฟุตบอลระหว่างประเทศ|ฟีฟ่า]]<ref>[https://www.fifa.com/about-fifa/organisation/media-releases/fifa-announces-arsene-wenger-as-chief-of-global-football-development FIFA announces Arsene Wenger as Chief of Global Football Development]</ref>
 
เวงเกอร์เป็นผู้จัดการทีมที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในเรื่องของจำนวนถ้วยรางวัลและระยะเวลาการคุมทีมที่นานที่สุดของอาร์เซนอล เขาเป็นผู้จัดการทีมที่ไม่ใช่พลเมืองของ[[สหราชอาณาจักร]]คนแรกที่สามารถคว้าดับเบิลแชมป์ได้ใน[[อังกฤษ]] นั่นคือดับเบิลแชมป์ในปี ค.ศ. 1998 และ ค.ศ. 2002 สำหรับในปี ค.ศ. 2004 นั้น และเขายังเป็นผู้จัดการทีมคนแรกของประวัติศาสตร์ของฟุตบอล[[พรีเมียร์ลีก]]ที่สามารถคุมทีมลงเล่นแล้วไม่แพ้ทีมใดในลีกเลยทั้ง[[พรีเมียร์ลีก ฤดูกาล 2003–04|ฤดูกาล 2003–04]] และทำสถิติคุมทีมอาร์เซนอลไม่แพ้ใครเลยในพรีเมียร์ลีกติดต่อกัน 49 นัด ระหว่าง[[พรีเมียร์ลีก ฤดูกาล 2002–03|ฤดูกาล 2002–03]], 2003-04, 2004-05 ซึ่งเป็นสถิติการไม่แพ้ติดต่อกันยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์ของฟุตบอลอังกฤษ
บรรทัด 40:
 
[[ไฟล์:Arsene_Wenger_2.jpg|thumb|180px|อาร์แซน แวงแกร์ โบกมือขอบคุณแฟนบอลในนัดสุดท้ายของฤดูกาล 2006-07 (1 พฤษภาคม 2007)]]
อาร์แซน แวงแกร์ รับตำแหน่งผู้จัดการทีมชุดใหญ่ครั้งแรกกับ[[อาแอ็ส น็องซี|น็องซี]]ในปี [[ค.ศ. 1984]] แต่ไม่ค่อยจะประสบความสำเร็จเท่าไรนัก ในปีที่ 3 ซึ่งเป็นปีสุดท้ายของเขาที่น็องซีนั้น น็องซีปิดฤดูกาลด้วยอันดับ 19 ของตารางและต้องตกไปเล่นใน[[ลีกเดอซ์]]ฝรั่งเศส ชีวิตการเป็นผู้จัดการทีมของเขาเริ่มดีขึ้นเมื่อเขาได้มาเป็นผู้จัดการทีมของ[[อาซอซียาซียงสปอร์ตีฟว์เดอมอนาโก|อาแอ็ส มอนาโก]] ในปี [[ค.ศ. 1987]] และได้แชมป์ลีกในปี [[ค.ศ. 1988]] ซึ่งก็เป็นฤดูกาลแรกที่เข้ามาคุมทีมนั่นเอง จากนั้นก็คว้าแชมป์[[เฟรนช์คัพ]] ในปี [[ค.ศ. 1991]] แวงแกร์เคยเซ็นสัญญาซื้อตัว[[เกลนน์ ฮอดเดิล]], [[จอร์จ เวียห์เวอาห์]] และ[[เยือร์เกิน คลินส์มันน์]] มาร่วมทีมอีกด้วย นอกจากนั้นยังได้เซ็นสัญญากับ[[ยูรี จอร์เกฟฟ์]] (Youri Djorkaeff) มาจากแอร์เซ สทราซบูร์ ที่ได้กลายมาเป็นนักเตะ[[ฟุตบอลทีมชาติฝรั่งเศส|ทีมชาติฝรั่งเศส]]ชุดที่คว้าแชมป์[[ฟุตบอลโลก]]ในปี ค.ศ. 1998 และดาวซัลโว[[ลีกเอิง]]ฝรั่งเศส (20 ประตู) ในปีสุดท้ายที่แวงแกร์คุมทีมอยู่ในฝรั่งเศส
 
ในปี [[ค.ศ. 1994]] เป็นปีที่โชคร้ายของแวงแกร์ เมื่อเขาปฏิเสธข้อเสนอจาก[[บาเยิร์นมิวนิก]] และการเป็นโค้ชทีมชาติฝรั่งเศส แต่โมนาโกจบฤดูกาลด้วยการเป็นอันดับ 9 ของตาราง ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมายที่สโมสรตั้งเอาไว้ หลังจากนั้น เขาก็ถูกไล่ออก
 
ต่อมา เขาได้ย้ายไปประสบความสำเร็จกับช่วงเวลาสั้น ๆ 18 เดือนกับทีมฟุตบอลใน[[เจลีก]]ของญี่ปุ่น คือ [[นะโงะยะนาโงยะ แกรมปัส]] โดยแวงแกร์พาลูกทีมคว้าถ้วยพระราชทานสมเด็จพระจักรพรรดิซึ่งเป็นฟุตบอลชิงถ้วยของประเทศ นอกจากนั้นยังพาทีมที่เคยอยู่ในอันดับ 3 จากท้ายตารางขึ้นมาเป็นรองแชมป์ได้ในลีก ที่แกรมปัสนี้ เขาได้ว่าจ้างให้ [[บอรอ พรีมอรัก]] ผู้จัดการทีมของ[[สโมสรฟุตบอลวาล็องเซียน]] มาเป็นผู้ช่วยของเขา และก็ได้เป็น "มือขวา" ของแวงแกร์เป็นเวลาหลายปี
 
แวงแกร์นั้นถือว่าเป็นคนที่โชคดีที่ได้เป็นเพื่อนกับคนที่จะได้เป็นรองประธานสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลในเวลาต่อมา นั่นคือ [[เดวิด ดีน]] ในคราวที่ทั้งสองได้พบกันเมื่อแวงแกร์ไปชมเกมระหว่างอาร์เซนอลกับ[[สโมสรฟุตบอลควีนส์ปาร์กเรนเจิร์ส|ควีนส์ปาร์กเรนเจิร์ส]]ในปี [[ค.ศ. 1988]] ต่อมาหลังจากที่[[บรูซ ริอ็อก]] ได้ลาออกไปในเดือน[[สิงหาคม]] [[ค.ศ. 1996]] นั้น [[เฌราร์ อูลีเย]] ต่อมาได้เป็นผู้อำนวยการทางเทคนิคของสหพันธ์ฟุตบอลฝรั่งเศสได้แนะนำให้ดีนชวนแวงแกร์มาทำงานแทนในปี ค.ศ. 1996 อาร์เซนอลยืนยันการว่าจ้างอาร์แซน แวงแกร์เป็นผู้จัดการทีมในวันที่ [[28 กันยายน]] ค.ศ. 1996 และเขาก็ได้เข้ามารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการในวันที่ [[1 ตุลาคม]] ปีเดียวกันนั้นเอง แวงแกร์เป็นผู้จัดการทีมของอาร์เซนอลคนแรกที่มาจากประเทศนอก[[สหราชอาณาจักร]]และ[[ไอร์แลนด์]] แม้ว่าผู้อำนวยการทางเทคนิคที่มีศักยภาพของสมาคมฟุตบอลจะเป็นคนชักชวนให้แวงแกร์มารับตำแหน่งนี้ แต่ในเวลานั้นแทบไม่มีใครในอังกฤษเลยที่รู้จักชื่อของคนคนนี้
บรรทัด 52:
ฤดูกาลที่ 2 ที่เขาเข้ามาคุมทีมนั้น (ฤดูกาล 1997-98) เป็นฤดูกาลที่อาร์เซนอลสามารถคว้าแชมป์[[พรีเมียร์ลีก]]และ[[เอฟเอคัพ]]ซึ่งเป็นการคว้า[[ดับเบิลแชมป์ (ฟุตบอล)|ดับเบิลแชมป์]]ได้เป็นครั้งที่ 2 ในประวัติศาสตร์ของสโมสร (ฤดูกาลนั้นอาร์เซนอลทิ้งห่าง[[แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด]]ถึง 12 คะแนนทั้ง ๆ ที่แข่งน้อยกว่า 2 นัด) ความสำเร็จครั้งนี้ต้องให้เครดิตกับปราการหลังฉายา "แบ็กโฟร์" ที่เป็นมรดกตกทอดมาถึงฤดูกาลนี้ทั้ง [[โทนี แอดัมส์]], [[ไนเจล วินเทอร์เบิร์น]], [[ลี ดิกสัน]] และ [[มาร์ติน คีโอน]] รวมไปถึง [[สตีฟ โบลด์]] ปราการหลังอีกคน และศูนย์หน้า[[เดนนิส เบิร์กแคมป์]] ตำนานของสโมสรในเวลาต่อมาอีกด้วย และก็ต้องยกเครดิตให้กับนักเตะหน้าใหม่ที่แวงแกร์ซื้อเข้ามา ไม่ว่าจะเป็น [[เอ็มมานูเอล เปอตี]], [[ปาทริค วิเอร่า]], [[มาร์ก โอเฟอร์มาร์ส]] และศูนย์หน้าดาวยิง [[นีกอลา อาแนลกา]]
 
ในช่วงหลายฤดูกาลต่อมา แวงแกร์ทำหน้าที่กับอาร์เซนอลได้ดีแต่กลับไม่ได้แชมป์ตอนท้ายฤดูกาลเลย ในปี ค.ศ. 1999 พวกเขาเสียแชมป์พรีเมียร์ลีกให้กับ[[แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด]]โดยวันสุดท้ายของฤดูกาลพวกเขาตามอยู่เพียง 1 คะแนนเท่านั้น แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดยังเป็นทีมที่ทำให้อาร์เซนอลต้องตกรอบเอฟเอคัพในช่วงต่อเวลาพิเศษอีกด้วย จากนั้นอาร์เซนอลก็มาแพ้[[สโมสรฟุตบอลกาลาตาทาซารายไรสปอร์คูลือบือ (ฟุตบอล)|กาลาตาซาราย]]ในการดวลจุดโทษนัดชิงชนะเลิศฟุตบอล[[ยูฟ่าคัพ]] ในรอบชิงชนะเลิศฟุตบอล[[เอฟเอคัพ]] ในปี ค.ศ. 2001 อาร์เซนอลก็ต้องมาแพ้ให้กับ[[สโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูล|ลิเวอร์พูล]] 2 ประตูต่อ 1 จากประตูของ [[ไมเคิล โอเวน]] ในช่วงท้ายเกม ในช่วงนี้ แวงแกร์ยังได้นำนักเตะหน้าใหม่เข้ามาสู่ทีมเรื่อย ๆ ไม่ว่าจะเป็นการเซ็นสัญญา [[โซล แคมป์เบลล์]] จาก[[สโมสรฟุตบอลทอตแนมฮ็อตสเปอร์|ทอตแนมฮ็อตสเปอร์]] และนักเตะชื่อก้องโลกอย่าง [[เฟรดริค ยุงแบร์]], [[ตีแยรี อ็องรี]] และ[[รอแบร์ ปีแร็ส]]
 
ขุนพลนักเตะชุดใหม่นี้ช่วยให้อาร์เซนอลในยุคของอาร์แซน แวงแกร์นั้นสามารถคว้าดับเบิลแชมป์ได้อีกครั้งหนึ่ง ช่วงเวลาที่ทำให้อาร์เซนอลได้แชมป์คือนัดรองสุดท้ายของฤดูกาลที่พบกับแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด อาร์เซนอลเอาชนะแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดไปได้ 1-0 ซึ่งโดยรวม ๆ แล้วอาร์เซนอลเล่นได้ดีกว่า [[รอย คีน]] อดีตกัปตันทีมของแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดในชุดนั้นยังได้กล่าวถึงเกมนัดนั้นว่าเป็นการแข่งขันกันระหว่าง "เด็กกับผู้ใหญ่" นั่นก็คือฤดูกาล 2001-02 นั่นเอง
บรรทัด 97:
}}</ref> แม้ว่าแวงแกร์จะนิยมใช้แผนการเล่นแบบ 4-4-2 แต่ต่อมา นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 2005 เขาก็เริ่มใช้แผนการเล่นแบบ 4-5-1 มากขึ้นเรื่อย ๆ โดยทิ้งกองหน้าไว้คนเดียวและเน้นในแดนกลางสนามมากกว่า<ref>{{cite web | url=http://www.arsenal-land.co.uk/columns/?col=246 | title=What is Arsenal's optimal tactical strategy? | access-date=2008-04-29 | archive-date=2009-01-25 | archive-url=https://web.archive.org/web/20090125192859/http://www.arsenal-land.co.uk/columns/?col=246 | url-status=dead }}</ref> ซึ่งจะเห็นบ่อยในยามที่ต้องเล่นในสนามที่กว้างขึ้นอย่าง[[เอมิเรตส์สเตเดียม]]<ref>{{cite web | url=http://www.arsenalamerica.com/2006/10/06/evolution-of-the-arsenal-playing-style/ | title=Evolution of the Arsenal Playing Style | access-date=2008-04-29 | archive-date=2009-12-01 | archive-url=https://web.archive.org/web/20091201090134/http://www.arsenalamerica.com/2006/10/06/evolution-of-the-arsenal-playing-style/ | url-status=dead }}</ref> หรือในเกม[[ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก]]ที่สำคัญ ๆ<ref>{{cite web | url=http://www.arsenal.com/article.asp?thisNav=news&article=416732&lid=NewsHeadline&Title=Adebayor+might+not+remain+a+lone+Gunner | title=Adebayor might not remain a lone Gunner }}</ref>
 
อาร์แซน แวงแกร์ มีชื่อเสียงอย่างมากในการปั้นเด็กที่มีพรสวรรค์ที่ยังไม่ค่อยมีคนรู้จักให้สามารถแจ้งเกิดในวงการฟุตบอลได้อย่างยิ่งใหญ่ เมื่อคราวที่คุมทีมอยู่โมนาโกนั้น เขาซื้อตัว [[จอร์จ เวียห์เวอาห์]] (George Weah) ชาว[[ไลบีเรีย]]มาจากทีมตอแนร์ยาอูนเด (Tonnerre Yaoundé) ใน[[ประเทศแคเมอรูน]] เข้ามาร่วมทีม ต่อมานักเตะรายนี้ก็ได้ครองตำแหน่งผู้เล่นยอดเยี่ยมแห่งปีของฟีฟ่าเมื่อมาอยู่กับ[[เอซีมิลาน]]อีกด้วย และเมื่อคราวที่คุมทีมอาร์เซนอล แวงแกร์ก็ได้นำนักเตะดาวรุ่งเข้ามามากมาย ซึ่งในขณะที่เขาเซ็นสัญญากับนักเตะเหล่านี้ แทบจะไม่มีใครได้ยินชื่อของพวกเขามาก่อนเลย ไม่ว่าจะเป็น [[ปาทริค วิเอร่า]], [[เซสก์ ฟาเบรกัส]], [[โรบิน ฟัน แปร์ซี]] และ[[โกโล ตูเร]] เขาได้ปั้นนักเตะเหล่านี้ขึ้นมา ช่วยเหลือให้พวกเขาสามารถเติบโตขึ้นเป็นนักเตะระดับโลกได้ในที่สุด สถิติที่น่าสนใจอย่างหนึ่งคือ กองหลังของอาร์เซนอลชุดหนึ่งเคยสร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ด้วยการทำสถิติไม่เสียประตูในเกม[[ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก]]ติดต่อกันถึง 10 นัดในฤดูกาล 2005-06 จนสามารถเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศไปพบกับ[[สโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนา|บาร์เซโลนา]]ได้ ทั้ง ๆ ที่กองหลังชุดนี้มีค่าตัวรวมกันไม่ถึง 5 ล้านปอนด์ด้วยซ้ำไป
 
แม้ว่าแวงแกร์จะใช้จ่ายเงินจำนวนมหาศาลไปในการเซ็นสัญญานักเตะเข้ามาร่วมทีมอาร์เซนอล แต่สถิติการใช้จ่ายเงินของเขานั้นถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับทีมชั้นนำของพรีเมียร์ชิพทีมอื่น ๆ เช่น ในปี ค.ศ. 2007 นั้น เขาเป็นผู้จัดการทีมพรีเมียร์ลีกคนเดียวที่สามารถทำกำไรได้จากการซื้อขายนักเตะ<ref>[http://www.channel4.com/news/articles/sports/wenger+most+money+wise+manager/667357 Wenger most 'money wise' manager]</ref> และ[[ปีเตอร์ ฮิลล์-วูด]] ประธานสโมสรของอาร์เซนอลก็เคยกล่าวว่า "โดยปกติแล้ว ตั้งแต่อาร์แซนมาอยู่กับเรา เขาจะใช้เงินเพียงปีละ 4-5 ล้านปอนด์เท่านั้นเอง"<ref>{{cite web | url=http://news.bbc.co.uk/sport1/hi/football/teams/a/arsenal/4649636.stm | title= Chairman fears for ageing Gunners | work=BBC Sport }}</ref> และมีอีกหนึ่งตัวอย่างที่บ่งบอกถึงความสามารถในการหานักเตะของเขาที่ดีก็คือ การนำ[[นีกอลา อาแนลกา]]เข้ามาร่วมทีมจาก[[ปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง]]ด้วยค่าตัวเพียง 500,000 ปอนด์เท่านั้น แต่ในอีก 2 ปีต่อมาสามารถขายให้กับ[[สโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริด|เรอัลมาดริด]]ได้ถึง 22.3 ล้านปอนด์ เงินก้อนนี้จึงสามารถนำไปซื้อนักเตะคนใหม่ 3 คนเข้ามาเสริมทีมได้ ซึ่งก็ได้แก่ [[ตีแยรี อ็องรี]], [[โรแบร์ ปิแรส]] และ [[ซีลแวง วีลตอร์]] ซึ่งเป็นสามนักเตะที่อยู่ในชุดที่คว้าดับเบิลแชมป์ในฤดูกาล 2001-02 และแชมป์ลีกในฤดูกาล 2003-04
บรรทัด 122:
ทีมของอาร์แซน แวงแกร์ มักจะโดนวิพากษ์วิจารณ์บ่อย ๆ เรื่องการขาดระเบียบวินัย โดยนักเตะของเขานั้นโดนใบแดงไปถึง 73 ครั้งในช่วงปี ค.ศ. 1996 ถึง 2008 แม้ว่าหลายคนจะคัดค้านในประเด็นนี้<ref>{{cite web | url=http://archives.tcm.ie/irishexaminer/2003/10/04/story581667712.asp | title=Wenger has no back-up plan | work=Irish Examiner}}</ref> อย่างไรก็ตาม ในปี ค.ศ. 2004-2005 อาร์เซนอลคว้าตำแหน่งทีมที่เล่นขาวสะอาด (Fair Play) ที่สุดในลีก<ref>{{cite web | url=http://www.thefa.com/Features/EnglishDomestic/Postings/2004/08/Arsenal_FairPlay.htm | title=Fair Play to Gunners | work=The Football Association}}</ref><ref>{{cite web | url=http://www.breakingnews.ie/2005/05/19/story203267.html | title=Fair Play to Arsenal could see Spurs in Europe | work=BreakingNews.ie }}</ref> และในปี ค.ศ. 2006 นั้น พวกเขาก็ได้อันดับ 2 มาครอง ตามหลังเพียงแค่ชาร์ลตันแอธเลติกทีมเดียวเท่านั้น<ref>{{cite web | url=http://www.premierleague.com/public/downloads/publications/Fair_Play_May_06.pdf | title=Barclays Premiership 2005/06 Fair Play League | work=Premierleague.com}}</ref>
 
ในปี ค.ศ. 1999 แวงแกร์เสนอให้มีการจัดการแข่งขันเกมเอฟเอคัพรอบที่ 4 กับ[[สโมสรฟุตบอลเชฟฟีลด์ยูไนเต็ด|เชฟฟีลด์ยูไนเต็ด]]ใหม่ หลังจากจบการแข่งขันแมตช์นั้นไปแล้ว เนื่องจากมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์เรื่องความไม่เป็นธรรมในการแข่งขันครั้งนี้ อาร์เซนอลได้ประตูชัยจาก[[มาร์ก โอเฟอร์มาร์ส]] ซึ่งต่อเนื่องมาจากจังหวะที่[[อึนวังกโว กานู]]ไม่ยอมเตะบอลคืนให้ทีมเชฟฟีลด์ยูไนเต็ดที่มีนักเตะนอนเจ็บอยู่ในสนาม แต่นัดรีเพลย์นั้น อาร์เซนอลก็กลับมาเอาชนะได้อยู่ดีด้วยผล 2-1
 
นอกจากนั้น แวงแกร์ยังเป็นที่รู้จักกันดีว่าเป็นคู่ปรับของ [[เซอร์ อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน]] บรมกุนซือของ[[แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด]] ส่วนทางด้านอาร์เซนอลและแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดก็เป็นคู่ปรับกันเรื่องการแย่งแชมป์พรีเมียร์ลีกและเอฟเอคัพมาตลอดช่วงปลายทศวรรษ 1990 และต้นทศวรรษ 2000 ความเป็นอริต่อกันนี้ยังทำให้เกิดเหตุการณ์ "ปาพิซซา" ที่[[โอลด์แทรฟฟอร์ด]]เมื่อเดือนตุลาคม ค.ศ. 2004 ด้วย หลังจากที่อาร์เซนอลเสียจุดโทษจากจังหวะน่ากังขาและต้องพ่ายแพ้ไป 2-0 จนหยุดสถิติไร้พ่ายของอาร์เซนอลไว้ที่ 49 นัดติดต่อกันในพรีเมียร์ชิพ หลังจบเกมนี้ นักเตะคนหนึ่งของอาร์เซนอลได้ขว้างอาหารใส่ทีมคู่แข่งที่อุโมงค์ทางเดิน<ref>{{cite web | url=http://www.football365.com/news/story_131481.shtml | title=Wenger: I didn't see tunnel fracas | work=Football365 | access-date=2008-09-26 | archive-date=2004-10-27 | archive-url=https://web.archive.org/web/20041027235622/http://www.football365.com/news/story_131481.shtml | url-status=dead }}</ref> ส่วนอาร์แซน แวงแกร์ โดนปรับเงินจำนวน 15,000 ปอนด์ จากข้อหาที่ไปเรียก[[รืด ฟัน นิสเติลโรย]]ว่า "ไอ้ขี้โกง" ในการให้สัมภาษณ์กับสถานีโทรทัศน์หลังจบเกม จากนั้นเขาก็โดนปรับเงินอีกครั้งสำหรับการเรียกฟัน นิสเติลโรยว่า "ไอ้ขี้โกง" อีกครั้ง โดยอ้างว่าเขามั่นใจว่าเขาคิดถูกแล้ว<ref>{{cite web | url=http://news.bbc.co.uk/sport1/hi/football/teams/a/arsenal/4099659.stm | title=Wenger fined over Ruud outburst | work=BBC Sport}}</ref> จากนั้นมา ผู้จัดการทีมทั้งสองก็ตกลงกันว่าจะปรับความเข้าใจกันเพื่อลดความบาดหมางและความเป็นอริต่อกันให้เหลือน้อยที่สุด<ref>{{cite web | url=http://news.bbc.co.uk/sport1/hi/football/eng_prem/4190561.stm | title=Wenger and Ferguson to end feud | work=BBC Sport}}</ref>
บรรทัด 160:
* [[ยูฟ่าคัพวินเนอร์สคัพ]] (1) : 1992
 
==== {{flagicon|Japan}} [[นะโงะนาโงยะ แกรมปัสเอตปัส]] ====
;ชนะเลิศ
* ซุปเปอร์คัพเจลีก (1) : 1996
บรรทัด 187:
* ผู้จัดการทีมยอดเยี่ยมแห่งปี LMA : (2) 2001-02, 2003-04
* โค้ชกีฬายอดเยี่ยม สำนักข่าวบีบีซี : (2) 2002, 2004
 
==เชิงอรรถ==
<references group=remark/>
 
== อ้างอิง ==
เส้น 195 ⟶ 192:
{{รายการอ้างอิง|2}}
</div>
 
 
== แหล่งข้อมูลอื่น ==