ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สังคมนิยมแบบอิสรนิยม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Thastp (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Thastp (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 18:
[[ไฟล์:Le libertaire 25.png|thumb|left|250px|หนังสือพิมพ์คอมมิวนิสต์อิสรนิยมภาษาฝรั่งเศส ''Le Libertaire'' ฉบับวันที่ 17 สิงหาคม ค.ศ. 1860 จัดพิมพ์โดย โฌแซ็ฟ เดฌัก]]
''[[Le Libertaire]]'' คือนิตยสารอนาธิปไตยฉบับแรกที่ใช้คำว่า ''libertarian'' (หรือในภาษาไทย คำว่า ''อิสรนิยม'') ซึ่งตีพิมพ์ในนครนิวยอร์กระหว่างปี ค.ศ. 1858 ถึง 1861 โดย[[ลัทธิอนาธิปไตย-คอมมิวนิสต์|นักคอมมิวนิสต์อิสรนิยม]]ชื่อว่า [[โฌแซ็ฟ เดฌัก]] (Joseph Déjacque)<ref name="theanarchistlibrary">{{Cite journal|title=150 years of Libertarian|journal=Freedom|url=https://theanarchistlibrary.org/library/the-anarchist-faq-editorial-collective-150-years-of-libertarian|volume=69|issue=23-4|year=2008|author=The Anarchist FAQ Editorial Collective}}</ref> การใช้คำนี้ซึ่งถูกบันทึกไว้ครั้งต่อมาอยู่ในทวีปยุโรป คำว่า ''libertarian communism'' (หรือ ''ลัทธิคอมมิวนิสต์แบบอิสรนิยม'') ถูกนำมาใช้เป็นครั้งแรกในสภาอนาธิปไตยท้องถิ่นในประเทศฝรั่งเศสที่เมือง[[เลออาฟวร์]]ในวันที่ 16-22 พฤศจิกายน ค.ศ. 1880 ต่อมาในเดือนมกราคม ค.ศ. 1881 มีการเผยแพร่คำแถลงอุดมการณ์ของ "ลัทธิคอมมิวนิสต์แบบอิสรนิยมหรืออนาธิปไตย" เป็นภาษาฝรั่งเศส และสุดท้ายในปี ค.ศ. 1895 นักอนาธิปไตยแนวหน้าอย่าง [[เซบัสเตียง ฟอร์]] (Sébastien Faure) และ [[หลุยส์ มิแชล]] (Louis Michel) ได้ตีพิมพ์นิตยสาร ''Le Libertaire'' ในประเทศฝรั่งเศส<ref name="theanarchistlibrary" /> คำว่า ''libertarian'' ในภาษาอังกฤษนี้เองก็มีรากเดียวกันกับ[[คำร่วมเชื้อสาย]]ในภาษาฝรั่งเศสคำว่า ''libertaire'' ซึ่งถูกใช้เพื่อหลีกเลี่ยง[[Lois scélérates|คำสั่งห้ามตีพิมพ์นิตยสารอนาธิปไตย]]ในประเทศฝรั่งเศส<ref name="Graham2015">{{cite book|last=Graham|first=Robert|title=We Do Not Fear Anarchy—We Invoke It: The First International and the Origins of the Anarchist Movement|url=https://books.google.com/books?id=vRdjCgAAQBAJ&pg=PT8|date=23 มิถุนายน 2015|publisher=AK Press|isbn=9781849352116|page=8}}</ref> ในธรรมเนียมนี้ คำว่า ''libertarianism'' หรืออิสรนิยมจึงใช้เป็นคำไวพจน์ของคำว่าอนาธิปไตย ซึ่งเป็นความหมายดั้งเดิมของคำ ๆ นี้<ref name="Routledge p. 227"/> ในบริบทของขบวนการสังคมนิยมในยุโรป คำว่า ''libertarian'' หมายถึงนักสังคมนิยมซึ่งต่อต้าน[[อำนาจนิยม]]และ[[สังคมนิยมรัฐ]]เช่น [[มีฮาอิล บาคูนิน]] และมีแนวคิดคาบเกี่ยวกับ[[อนาธิปไตยสังคม]]<ref name="Noam Chomsky 2004, p. 739"/><ref>{{cite book|last=Perlin|first=Terry M.|title=Contemporary Anarchism|publisher=Transaction Publishers|year=1979|page=40|isbn=978-0-87855-097-5}}</ref> แต่[[อนาธิปไตยแบบปัจเจก]]ก็ถือว่าเป็นคติสังคมนิยมแบบอิสรนิยมเช่นกัน<ref>{{cite journal|last1=Franks|first1=Benjamin|author-link=Benjamin Franks (writer)|editor-last1=Freeden|editor-first1=Michael|editor-last2=Stears|editor-first2=Marc|title=Anarchism|journal=The Oxford Handbook of Political Ideologies|pages=385–404|date=สิงหาคม 2013|publisher=Oxford University Press|doi=10.1093/oxfordhb/9780199585977.013.0001}}</ref> คติ[[ปัจเจกนิยม]]ใด ๆ ที่ไม่ได้เป็นแบบ[[จอห์น ล็อก|ล็อก]]ล้วนเป็นแนวคิดแบบสังคมนิยม ซึ่งรวมถึงสังคมนิยมแบบอิสรนิยม<ref>{{Cite book|title=Mind and Politics: An Approach to the Meaning of Liberal and Socialist Individualism|last=Wood|first=Ellen Meiksins|publisher=University of California Press|year=1972|isbn=9780520332478|pages=7|url=https://www.ucpress.edu/book/9780520332478/mind-and-politics}}</ref>
 
[[File:Noam chomsky cropped.jpg|thumb|โนม ชอมสกี เป็นนักคิดสังคมนิยมอิสรนิยมที่มีชื่อเสียงที่สุดคนหนึ่งในปัจจุบัน]]
อิสรนิยมมีความสัมพันธ์กับสังคมนิยมก่อนหน้าระบบทุนนิยม และคนที่ต่อต้านอำนาจนิยมในปัจจุบันก็ยังประณามความเข้าใจซึ่งพวกเขามองว่าผิด ว่าอิสรนิยมมีความเกี่ยวข้องกับระบอบ[[ทุนนิยม]]อย่างในประเทศ[[อิสรนิยมในสหรัฐอเมริกา|สหรัฐอเมริกา]]<ref>{{Cite book|title=The Modern Crisis|last=Bookchin|first=Murray|publisher=Black Rose Books|year=1987|isbn=9780920057612|pages=154-155|url=https://libcom.org/library/modern-crisis|chapter=An Appeal for Social and Ecological Sanity|chapter-url=https://libcom.org/files/An%20Appeal%20for%20Social%20and%20Ecological%20Sanity.PDF|archive-url=https://web.archive.org/web/20190628080700/https://libcom.org/files/An%20Appeal%20for%20Social%20and%20Ecological%20Sanity.PDF|archive-date=28 มิถุนายน 2019|url-status=live}}</ref> ตามที่ [[โนม ชอมสกี]] กล่าว นักอิสรนิยมที่คงเส้นคงวา "จะต้องต่อต้านความเป็นเจ้าของ[[ปัจจัยการผลิต]]ของ[[กรรมสิทธิ์เอกชน|เอกชน]]และระบบ[[ทาสค่าจ้าง]] ซึ่งเป็นองค์ประกอบของระบบนี้ และไม่สอดคล้องกับหลักการที่ว่าแรงงานจะต้องอยู่ใต้อำนาจควบคุมของผู้ผลิตและสามารถกระทำได้อย่างเสรี"<ref>{{harvnb|Chomsky|1970}}: "[...] must oppose private ownership of the means of production and the wage slavery which is a component of this system, as incompatible with the principle that labor must be freely undertaken and under the control of the producer."</ref> คำว่า ''สังคมนิยมอนาธิปไตย'' ''อนาธิปไตยสังคมนิยม'' ''อนาธิปไตยแบบสังคมนิยม'' ''สังคมนิยมเสรี'' ''สังคมนิยมไร้รัฐ'' และ ''อิสรนิยมแบบสังคมนิยม'' ล้วนหมายถึงสังคมนิยมซึ่งอยู่ฝั่งอนาธิปไตยหรือเป็นแบบอิสรนิยม<ref name="Carlson" /> หรืออยู่ฝั่งตรงข้ามกับ[[สังคมนิยมแบบอำนาจนิยม]] (Authoritarian socialism)<ref>{{harvnb|Long|1998|p=306}}</ref><ref>{{Cite book|title=Making Sense of Anarchism: Errico Malatesta's Experiments with Revolution|last=Turcato|first=Davide|publisher=Palgrave Macmillian|year=2012|isbn=9780230301795|pages=137|chapter=Patient Work in the Light of Day|quote=Malatesta proclaimed the socialist character of anarchism and urged anarchists to regain contact with the working masses, especially through involvement in the labor movement.}}</ref>
 
== อ้างอิง ==