ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ผู้ใช้:Thastp/ทดลองเขียน1"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Thastp (คุย | ส่วนร่วม)
Thastp (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 16:
===อัตลักษณ์ของความสัมพันธ์===
คำว่า ''αναλογια'' ในภาษากรีกซึ่งเป็นรากศัพท์ของคำว่า ''Analogy'' (''แนวเทียบ'') ในภาษาอังกฤษ แต่แรกนั้นหมายถึง[[สัดส่วน]] (proportionality (mathematics)) ในความหมายแบบคณิตศาสตร์ จากนั้นมาคำว่าแนวเทียบหมายถึงอัตลักษณ์ของความสัมพันธ์ระหว่าง[[คู่อันดับ]]คู่ใดก็ตาม ไม่ว่าจะเกี่ยวกับคณิตศาสตร์หรือไม่ หนังสือ ''[[Critique of Judgment]]'' ของ[[อิมมานูเอล คานต์|คานต์]]ได้ยึดในความหมายนี้ คานต์อ้างว่ามีความสัมพันธ์ที่เหมือนกันอยู่ระหว่างวัตถุที่ต่างกันอย่างสิ้นเชิงสองอัน แนวเทียบในความหมายนี้ถูกนำมาใช้ในการสอบ[[เอสเอที]]ใน[[ประเทศสหรัฐอเมริกา]] ซึ่งมี "คำถามแนวเทียบ" ในรูป "A is to B as C is to ''what''?" ตัวอย่างเช่น "Hand is to palm as foot is to ____?" (มือเป็นกับฝ่ามือ แบบที่เท้าเป็นกับ ____?) คำถามเหล่านี้ถูกถามในรูปแบบ[[แอริสตอเติล]]คือ HAND : PALM : : FOOT : ____ ในขณะที่ผู้ที่พูดภาษาอังกฤษเป็นจะสามารถให้คำตอบได้อย่างทันที (นั่นคือ ''sole'' หรือฝ่าเท้า) แต่หากต้องระบุและอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างคู่เช่น ''Hand'' และ ''Palm'' หรือ ''Foot'' และ ''Sole'' ก็จะเป็นสิ่งที่ทำได้ยากกว่า เพราะความสัมพันธ์นั้นไม่ปรากฏชัดใน[[ความหมายตามพจนานุกรม]] (lexical definition) ของคำว่า ''Palm'' หรือ ''Sole'' โดยคำแรกนั้นมีนิยามว่า ''พื้นผิวฝั่งด้านในของมือ'' และคำที่สองมีนิยามว่า ''พื้นผิวฝั่งด้านใต้ของเท้า'' แนวเทียบและ[[ภาวะนามธรรม|การทำให้เป็นนามธรรม]]นั้นเป็นกระบวนการทางประชานที่ต่างกัน โดยแนวเทียบเป็นกระบวนการที่ง่ายกว่า แนวเทียบไม่ได้เปรียบเทียบคุณสมบัติ''ทั้งหมด''ของมือและเท้า แต่เปรียบเทียบ''ความสัมพันธ์''ระหว่างมือและฝ่าของมือ และระหว่างเท้าและฝ่าของเท้า<ref>{{cite web |url=http://www.amstat.org/publications/jse/v11n2/martin.html |title=Archived copy |access-date=2012-12-10 |url-status=live |archive-url=https://web.archive.org/web/20130307062856/http://www.amstat.org/publications/jse/v11n2/martin.html |archive-date=2013-03-07 }},
Michael A. Martin, ''The Use of Analogies and Heuristics in Teaching Introductory Statistical Methods''</ref> แม้มือและเท้าจะแตกต่างกันในหลายแง่มุม แนวเทียบสนใจที่ความเหมือนกันนั่นคือทั้งสองมีพื้นผิวฝั่งด้านในเหมือนกัน คอมพิวเตอร์สามารถใช้[[ขั้นตอนวิธี]]เพื่อตอบคำถามแนวเทียบแบบเลือกตอบจากข้อสอบเอสเอทีได้อย่างมีประสิทธิภาพใกล้เคียงกับมนุษย์ ขั้นตอนวิธีนี้วัดความคล้ายกันของความสัมพันธ์ระหว่างคำแต่ละคู่ (นั่นคือ ความคล้ายระหว่างคู่ HAND:PALM และคู่ FOOT:SOLE) ผ่านการวิเคราะห์ข้อความจำนวนมาก โดยจะเลือกคำตอบที่มีความสัมพันธ์ที่คล้ายกันมากที่สุด<ref>{{harvnb|Turney |2006}}</ref>
 
===Shared abstraction===