ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วุยก๊ก"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Matable (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Matable (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 68:
 
===ศึกโคกูรยอ-วุยก๊ก===
ในช่วงเวลานั้น เมื่ออาณาจักรโคกูรยอรวบรวมอำนาจ ได้ดำเนินการพิชิตดินแดนบนคาบสมุทรเกาหลีซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของจีน โคกูรยอได้ริเริ่ม[[สงครามโคกูรยอ-เว่ย์]] ใน ค.ศ. 242 โดยพยายามตัดขาดเส้นทางในการเข้าถึงดินแดนเกาหลีของจีน โดยพยายามเข้ายึดป้อมปราการของจีน อย่างไรก็ตาม เว่ย์ได้ตอบโต้ด้วยบุกรุกและเอาชนะโคกูรยอ ฮวันโดได้ถูกทำลายจากการล้างแค้นโดยกองทัพเว่ย์ใน ค.ศ. 244 การบุกครองครั้งนี้ทำให้กษัตริย์หลบหนีไป และทำลายความสัมพันธ์ที่ตกเป็นเมืองขึ้นแบบรัฐบรรณาการระหว่างโคกูรยอและชนเผ่าอื่น ๆ ของเกาหลีซึ่งก่อให้เกิดเศรษฐกิจส่วนใหญ่ของโคกูรยอ แม้ว่ากษัตริย์จะหลบหนีจากการถูกจับกุมและไปตั้งรกรากในเมืองหลวงแห่งใหม่ในที่สุด โคกูรยอก็ได้ถูกลดความสำคัญลงจนเหลือเพียงครึ่งทศวรรษ หลังจากนั้นมาก็ไม่มีการเอ่ยถึงรัฐในตำราประวัติศาสตร์จีน
 
===การล่มสลายของวุยก๊ก===
ในปี ค.ศ. 249 ในรัชสมัยของทายาทผู้สืบทอดต่อจากเฉา รุ่ยคือ [[โจฮอง|เฉา ฟาง]](โจฮอง) ซือหม่า อี้ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ได้ยึดอำนาจควบคุมรัฐมาจาก[[โจซอง|เฉา ซวง]] ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์อีกคนนึงในการก่อรัฐประหาร เหตุการณ์นี้เป็นการบ่งบอกถึงการล่มสลายของอำนาจจักรพรรดิในเว่ย์ เนื่องจากบทบาทของเฉา ฟางถูดลดทอนลงเหลือเพียงผู้ปกครองหุ่นเชิด ในขณะที่ซือหม่า อี้ควบคุมอำนาจรัฐอย่างมั่นคงไว้ในกำมือของเขา [[หวัง หลิง]] แม่ทัพแห่งเว่ย์ ได้พยายามที่จะก่อกบฏต่อต้านซือหม่า อี้ แต่ถูกปราบปรามอย่างรวดเร็วและต้องปลิดชีพตนเอง ซือหม่า อี้ได้ถึงแก่อสัญกรรม เมื่อวันที่ 7 กันยายน ค.ศ. 251 โดยส่งอำนาจต่อให้แก่[[สุมาสู|ซือหม่าซือ]](สุมาสู) บุตรชายคนโตของเขาในตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
{{โครง-ส่วน}}
 
ซือหม่าซือได้ปลดเฉา ฟางออกจากราชบัลลังก์ใน ค.ศ. 254 ด้วยเหตุผลในการวางแผนก่อกบฏต่อต้านเขาและแต่งตั้ง[[โจมอ|เฉาเหมา]](โจมอ) ขึ้นมาเป็นจักรพรรดิองค์ใหม่แทน ในผลตอบสนอง [[บู๊ขิวเขียม]]และเหวิน ฉินได้ร่วมมือกันก่อกบฏ แต่กลับถูกปราบปรามอย่างราบคาบโดยซือหม่าซือ ด้วยเหตุการณ์นี้ยังได้ส่งผลอย่างมากต่อสุขภาพของซือหม่าซือ ซึ่งได้รับการผ่าตัดที่ดวงตาช่วงก่อนการจลาจล ทำให้เขาต้องเสียชีวิตลง เมื่อวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 255 แต่ได้มีการส่งมอบอำนาจต่อและตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ไปให้กับ[[สุมาเจียว|ซือหม่าเจา]](สุมาเจียว) น้องชายคนเล็กของเขา
 
ในปี ค.ศ. 258 ซือหม่าเจาได้ปราบปรามการก่อกบฏของ[[จูกัดเอี๋ยน|จูเก๋อต้าน]] เป็นการยุติสิ่งที่ถูกเรียกว่า [[กบฏทั้งสามในโชชุน]] ใน ค.ศ. 260 เฉาเหมาได้พยายามจะยึดอำนาจควบคุมรัฐกลับคืนมาจากซือหม่าเจาในการก่อรัฐประหาร แต่กลับถูกสังหารโดย[[เฉิงจี]] แม่ทัพทหารนายกองซึ่งรับใช้อยู่ภายใต้[[กาอุ้น|เจี่ยชง]](กาอุ้น) ซึ่งเป็นผู้ติดตามของซือหม่า ภายหลังการสิ้นพระชนม์ของเฉาเหมา [[โจฮวน|เฉา ฮวั่น]](โจฮวน)ได้ขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิเว่ย์องค์ที่ห้า อย่างไรก็ตาม เฉา ฮวั่นก็ยังคงเป็นเพียงผู้ปกครองหุ่นเชิดภายใต้การควบคุมของซือหม่าเจาเช่นเดียวกับจักรพรรดิองค์ก่อน ใน ค.ศ. 263 กองทัพเว่ย์ซึ่งนำโดย[[จงโฮย|จงหุ้ย]](จงโฮย) และ[[เตงงาย|เติ้งอ้าย]](เตงงาย) สามารถพิชิตรัฐฉู่มาได้ ภายหลังจากนั้นจงหุ้ยและ[[เกียงอุย|เจียงเหวย]](เกียงอุย) อดีตแม่ทัพแห่งรัฐฉู่ ได้ร่วมมือกันและวางแผนเพื่อขับไล่ซือหม่าเจาลงจากอำนาจ อย่างไรก็ตาม แม่ทัพทหารเว่ย์หลายคนได้หันมาต่อต้านพวกเขา เมื่อพบว่าเจียงเหวยยุแยงจงฮุ้ยให้กำจัดแม่ทัพทหารเหล่านี้ก่อนที่จะเริ่มก่อรัฐประหารตามแผน ซือหม่าเจาเองได้รับและในที่สุดก็ยอมรับบรรดาศักดิ์เก้าขั้นและได้รับสถาปนาเป็น จิ้นก๋ง ใน ค.ศ. 264 และต่อมาได้รับพระราชทานยศตำแหน่งเป็น จิ้นอ๋อง โดยเฉา ฮวั่นใน ค.ศ. 264 แต่เขาได้เสียชีวิตลง เมื่อวันที่ 6 กันยายน ค.ศ. 265 โดยทิ้งไว้เหลือเพียงขั้นตอนสุดท้ายของการแย่งชิงอำนาจให้กับ[[สุมาเอี๋ยน|ซือหม่า หยาน]](สุมาเอี๋ยน) บุตรชายคนโตของเขา
 
วันที่ 4 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 266 ซือหม่า หยาน บุตรชายของซือหม่าเจา ได้บีบบังคับให้เฉา ฮวั่นสละราชบัลลังก์ และตัวเขาเองก็ขึ้นครองราชย์และสถาปนา[[ราชวงศ์จิ้น]]ขึ้นมาแทนที่ราชวงศ์เว่ย์ เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 266 ส่วนเฉา ฮวั่นเองทรงรอดชีวิตและมีพระชนม์ชีพอยู่จนถึง ค.ศ. 302 ก่อนที่พระองค์จะสิ้นพระชนม์
 
==ราชสำนัก==
{{โครง-ส่วน}}
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/วุยก๊ก"