ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การขนส่งระบบรางในประเทศไทย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Portalian (คุย | ส่วนร่วม)
Portalian (คุย | ส่วนร่วม)
→‎รถไฟฟ้าในเขตเมือง: สลับกัน บทความ specific กว่าต้องมีเนื้อหายาวกว่า
บรรทัด 139:
 
== รถไฟฟ้าในเขตเมือง ==
[[ไฟล์:Bangkok Skytrain 03.jpg|250px|thumb|[[รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท]] และ[[รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม|สายสีลม]] เป็นรถไฟฟ้าสองสายแรกของประเทศไทย]]
{{บทความหลัก|รถไฟฟ้าในประเทศไทย|รถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล}}
 
[[กรุงเทพมหานคร]] เป็นเมืองเดียวที่มีระบบรถไฟฟ้า ปัจจุบันประกอบด้วย 4 ระบบ คือ [[รถไฟฟ้าบีทีเอส]] [[รถไฟฟ้ามหานคร]] [[รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ]] และ[[รถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดง]] ในอนาคต อาจมีความยาวเกือบ 400 กิโลเมตร ในเขต[[กรุงเทพและปริมณฑล]] นอกจากนี้ ยังมีโครงรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนตามหัวเมืองในภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศ ที่ส่วนใหญ่อยู่ระหว่างการศึกษาและออกแบบโครงการ
ในปัจจุบัน ระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนมีให้บริการเฉพาะใน[[กรุงเทพมหานครและปริมณฑล]]เท่านั้น โดยเปิดให้บริการเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2542 ในเส้นทาง[[รถไฟฟ้าบีทีเอส]] [[รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท|สายสุขุมวิท]] (หมอชิต–อ่อนนุช) และ[[รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม|สายสีลม]] (สนามกีฬาฯ–สะพานตากสิน)<ref> http://www.bts.co.th/corporate/th/01-about-history.aspx ประวัติความเป็นมา</ref> ในปัจจุบันมีรถไฟฟ้าที่เปิดให้บริการแล้วทั้งสิ้น 5 สาย สายล่าสุดที่เปิดให้บริการคือ [[รถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม|สายฉลองรัชธรรม]] (สายสีม่วง) ซึ่งเปิดให้บริการใน พ.ศ. 2559<ref>http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1462201042</ref>
 
{| class= "infobox" style: "width:17em;"
นอกจากกรุงเทพมหานครและปริมณฑลแล้ว ยังมีโครงการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในเมืองใหญ่อื่น ๆ อาทิ ขอนแก่น<ref>[http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1458126766 "บิ๊กตู่" อนุมัติ "ขอนแก่น" สร้างรถรางไฟฟ้าแห่งแรก ระยะทาง 26 กม.เปิดบริการปลายปี61]</ref> ภูเก็ต<ref>[http://portal.rotfaithai.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=49&postdays=0&postorder=asc&start=60 โครงการรถไฟฟ้าภูเก็ต - (แก้ไขชื่อกระทู้)]</ref><ref name="Tram">http://www.manager.co.th/iBizChannel/ViewNews.aspx?NewsID=9570000021952</ref> นครราชสีมา<ref>
|style= "padding:0.25em; background:#ccf; text-align: center; line-height:1.5em;" | '''รายชื่อจังหวัดที่มีทางรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน''' </br>
https://wekorat.com/2017/04/04/korat-lrt-mass-transit-stations-update/ ขนส่งมวลชนโคราช</ref> เชียงใหม่ หาดใหญ่
|-
|style: "padding:0 0 5px 0;" |
* [[กรุงเทพมหานคร]]
* [[จังหวัดสมุทรปราการ]]
* [[จังหวัดนนทบุรี]]
* [[จังหวัดปทุมธานี]]
|-
|}
 
=== รถไฟฟ้าบีทีเอส ===
{{บทความหลัก|รถไฟฟ้าบีทีเอส}}
[[ไฟล์:Bangkok Skytrain 04.jpg|thumb|left|รถไฟฟ้าบีทีเอส]]
ชื่อทางการคือ [[รถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา]] ดำเนินการโดย บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอสซี (BTSC) และบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด หรือ เคที (KT) เริ่มเปิดให้บริการครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542 เปิดบริการตั้งแต่เวลา 6 นาฬิกาถึง 24 นาฬิกา
 
เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ในโอกาสที่เปิดบริการมาครบ 9 ปี ปรากฏว่า มียอดมีผู้ใช้บริการตั้งแต่เปิดให้บริการ 972,034,298 เที่ยว มีผู้โดยสารใช้บริการรถไฟฟ้าเฉลี่ยวันทำการ 424,369 เที่ยวต่อวัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 2.6 โดยในปี พ.ศ. 2551 นี้มีผู้ใช้บริการสูงสุดเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2551 จำนวน 497,390 เที่ยว <ref>[http://www.skyscrapercity.com/showthread.php?t=514835&page=38 บีทีเอสเล็งลงทุนส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าทุกเส้น]</ref> และในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2554 มี​ผู้โดยสาร​ใช้​บริการ​รถไฟ​ฟ้า​เฉลี่ย​ใน​วัน​ทำ​การ​สร้าง​สถิติ​ใหม่​สูง​สุด​เท่ากับ 509,106 เที่ยว​ต่อคน <ref>http://www.thairath.co.th/content/eco/176151</ref>
 
และผลดำเนินงานบริการรถไฟฟ้าบีทีเอสในรอบบัญชีเดือนเมษายน พ.ศ. 2554 ถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2555 มียอดผู้ใช้บริการทั้งสิ้น 176,028,556 เที่ยวคน เพิ่มขึ้นจากงวดปีที่ผ่านมาร้อยละ 21.24 และเมื่อพิจารณาจากผู้โดยสารเฉลี่ยต่อวันภาพรวมปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 18.26 เป็น 480,952 เที่ยวคน ซึ่งวันที่ 30 มีนาคม 2555 นับว่าเป็นวันที่ทุบสถิติสูงที่สุดนับตั้งแต่เปิดให้บริการมา มีผู้มาใช้บริการถึง 714,575 เที่ยวคน<ref>[http://www.ryt9.com/s/iq05/1399682 BTS ​เผย​เม.ย.54-มี.ค.55ยอด​ผู้​ใช้รถ​ไฟฟ้า​โต 21.2%,​เตรียมรับมอบขบวนรถ​เพิ่ม]</ref>
 
ในวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2560 สถานีสำโรงได้เปิดใช้บริการและเป็นวันที่ [[รถไฟฟ้าบีทีเอส]] ให้บริการผู้โดยสารเชื่อมต่อระหว่าง [[กรุงเทพมหานคร]] และ [[จังหวัดสมุทรปราการ]] เป็นวันแรก ปัจจุบันให้บริการครอบคลุม 3 จังหวัดคือ จังหวัดปทุมธานี กรุงเทพมหานคร และจังหวัดสมุทรปราการ ระยะทางรวม 68.25 กิโลเมตร จำนวน 60 สถานี
 
=== รถไฟฟ้ามหานคร ===
{{บทความหลัก|รถไฟฟ้ามหานคร}}
[[ไฟล์:MRT blue Line Train 14 20180917.jpg|thumb|right|รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล]]
รถไฟฟ้ามหานครที่เปิดให้บริการแล้วในปัจจุบันได้แก่ [[รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล]] ดำเนินการโดย[[ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ|บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน)]] (BEM) โดยได้รับสัมปทานจาก[[การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย]] (รฟม.) เริ่มก่อสร้างในปี พ.ศ. 2542 และหลังจากที่เกิดความล่าช้าขึ้นหลายครั้ง ในที่สุดได้เปิดให้สาธารณชนทดลองใช้งานในวงจำกัดเมื่อวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2547 และมีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการในวันที่ 3 กรกฎาคม ปีเดียวกัน ปัจจุบันให้บริการครอบคลุม 2 จังหวัดคือ กรุงเทพมหานคร และจังหวัดนนทบุรี ระยะทางรวม 70.6 กิโลเมตร จำนวน 53 สถานี
 
=== รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยาน ===
[[ไฟล์:ARL Bangkok CityLine1.JPG|thumb|left|รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ]]
{{บทความหลัก|รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ}}
เป็นส่วนหนึ่งในโครงการก่อสร้างเส้นทางรถไฟฟ้าในระบบรถไฟฟ้าชานเมือง โดยรัฐบาลได้นำโครงการนี้มาเป็นโครงการเร่งด่วนและแยกการก่อสร้างต่างหากจากระบบรถไฟฟ้าชานเมือง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ[[โครงการระบบขนส่งมวลชนทางรางในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล]] ดำเนินการก่อสร้างโดย[[การรถไฟแห่งประเทศไทย]] (รฟท.) และเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์โดย บริษัท รถไฟฟ้า รฟท. จำกัด
 
สำหรับยอดผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์เต็มรูปแบบวันแรกเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2553 มีผู้โดยสารใช้บริการในระบบซิตี้ไลน์ 26,149 คน จากเป้าที่ตั้งไว้ 15,000 คน ส่วนรถด่วนมีผู้ใช้บริการ 633 คน ทั้งนี้คาดว่าสิ้นปีนี้จะมีผู้ใช้บริการประมาณ 5-7 หมื่นคน<ref>http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=310&contentID=87518 แอร์พอร์ตลิงก์ลด 40%</ref>
 
รถไฟฟ้าที่ใช้ในโครงการทั้งหมดเป็นรถไฟฟ้าประเภทความเร็วสูง ซึ่งมีความเร็วปกติอยู่ที่ 160-200 กิโลเมตรต่อชั่วโมง แต่มีความเร็วขณะเข้าประแจที่ 40-60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และมีความเร็วขณะเข้าประแจลงศูนย์ซ่อมบำรุงที่ย่านคลองตันที่ 125 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ปัจจุบันให้บริการครอบคลุม 2 จังหวัดคือ กรุงเทพมหานคร และจังหวัดสมุทรปราการ ระยะทางรวม 28.6 กิโลเมตร จำนวน 8 สถานี
 
=== รถไฟฟ้าชานเมือง ===
[[ไฟล์:SRTRedline 1000series WiteePhotography. For wikipedia.jpg|thumb|right|รถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดงเข้ม]]
{{บทความหลัก|รถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดง}}
เป็นระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในพื้นที่[[กรุงเทพมหานครและปริมณฑล]]ตลอดจนพื้นที่ต่อเนื่องคือ [[จังหวัดฉะเชิงเทรา]] [[จังหวัดพระนครศรีอยุธยา]] [[จังหวัดสมุทรสงคราม]] และ[[จังหวัดราชบุรี]] ดำเนินการโดย[[การรถไฟแห่งประเทศไทย]] (รฟท.) ถือเป็นส่วนหนึ่งของ[[โครงการระบบขนส่งมวลชนทางรางในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล|โครงข่ายระบบขนส่งมวลชนทางรางในกรุงเทพมหานครและพื้นที่ต่อเนื่อง]] มีจุดมุ่งหมายเพื่อยกระดับคุณภาพในการให้บริการของ[[ขบวนรถชานเมือง (การรถไฟแห่งประเทศไทย)|รถไฟชานเมือง]]ซึ่งทำหน้าที่ในการบริการขนส่งผู้โดยสารที่อยู่อาศัยในพื้นที่ชานเมืองตลอดจนพื้นที่ต่อเนื่องสามารถเข้าสู่ใจกลางกรุงเทพมหานครได้อย่างรวดเร็วด้วยระบบรางที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ และยังเป็นการป้อนผู้โดยสารเข้าสู่โครงข่ายระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนอื่นในเขตกรุงเทพมหานครอันได้แก่ [[รถไฟฟ้ามหานคร]] ของ[[การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย]] (รฟม.) [[รถไฟฟ้าบีทีเอส]] ของ [[กรุงเทพมหานคร (องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น)|กรุงเทพมหานคร]] (กทม.) หรือแม้กระทั่ง[[รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ]] ปัจจุบันมี 2 สาย ระยะทางรวม 37.6 กิโลเมตร จำนวน 13 สถานี
 
== รถไฟความเร็วสูง ==