ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พลศึกษา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
{{ไม่เป็นสารานุกรม}}
'''พลศึกษา''' เป็นศาสตร์และศิลป์ที่ได้รับการถ่ายทอดมานานจากคนตะวันตก ที่เน้นร่างกายเป็นสิ่งสำคัญมากกว่าจิตใจ ที่มีความแข็งแรง ความเร็ว ความอ่อนตัว ความคล่องแคล่ว ความทนทาน และระบบไหลเวียนโลหิต จนมีหลักการที่พูดกันว่า ''SOUND MIND IN A SOUND BODY'' หรือ ''จิตใจที่แข็งแกร่งย่อมอยู่ในร่างกายที่แข็งแรง'' แต่ในความเป็นจริง คนตะวันออก พูดถึงพลศึกษามานานในรูปแบบทางจิตใจ นั่นคือ พละ ๕ ธรรมที่เป็นพลัง มีสัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญา แต่ไม่ได้รับการตอบรับมากนัก จนมีหลักการที่ว่า ''จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว'' จึงเห็นได้ว่า พลศึกษาต้องเกี่ยวโยงทั้งสองด้านคือ ร่างกายและจิตใจ ขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้ และทั้งคู่ต้องทำงานไปพร้อมๆกัน และที่สำคัญต้องบังคับร่างกายให้ได้ตามที่ต้องการและควบคุมจิตใจตนเองให้นิ่ง
 
'''พลศึกษาแปลว่า ''' การเล่าเรียนฝึกฝนและอบรมในทางบำรุงร่างกาย โดยวิธีการออกกำลัง
 
'''พลศึกษาคือ''' ชื่อวิชาหนึ่งที่บังคับเรียนตามหลักสูตร เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวที่ถูกวิธี ทั้งร่างกายและจิตใจ
 
'''พลศึกษาหมายถึง''' วิชาที่ว่าด้วยการเรียนรู้เรื่องการเคลื่อนไหว ในการบังคับร่างกายและการควบคุมจิตใจ ที่ก่อให้เกิดการใช้พลังงานอย่างถูกวิธีและมีประสิทธิภาพ รวมถึงเรียนรู้ชนิดกีฬาที่เป็นสื่อในการเรียนด้วย
 
'''เราเรียนพลศึกษาเพื่อ''' ให้ร่างกายและจิตใจมีการเคลื่อนไหวที่ถูกวิธีและถูกต้อง จนก่อเกิดความแข็งแรงในร่างกายและความแข็งแกร่งในจิตใจ เมื่อเคลื่อนไหวสม่ำเสมอจะมีสมรรถภาพที่ดี และดำรงชีวิตอยู่ยาวนานต่อไป
 
จากการที่กล่าวว่าพลศึกษา เป็นสาระที่เกี่ยวกับร่างกายและจิตใจนั้น ขอขยายความให้เห็นว่า
 
'''พลศึกษาในเชิงร่างกาย''' ก็คือการทำให้ร่างกายมีพลังที่เป็นรูปธรรม ประกอบด้วย
 
๑ ความแข็งแรง เช่น ข้อมือ สามารถยกสิ่งของหนักได้
 
๒ ความเร็ว เช่น การวิ่งระยะสั้น ๕๐ เมตร ในเวลาที่กำหนด
 
๓ ความอ่อนตัว เช่น การก้มตัว เข่าตึง ไปหยิบของบนพื้น
 
๔ ความคล่องแคล่ว เช่น การโยกลำตัวหลบหลีกสิ่งกีดขวาง
 
๕ ความทนทาน เช่น การเดินเร็ว หรือวิ่งระยะทางไกล เป็นเวลานาน
 
๖ ระบบไหลเวียนโลหิต เช่น การที่เหงื่อออกจากร่างกาย และการจับชีพจรตามเกณฑ์ที่กำหนด
 
'''พลศึกษาในเชิงจิตใจ''' ก็คือ ''พละ ๕'' แปลว่าธรรมอันเป็นกำลัง ที่สถิตย์ในจิตใจคน มีพลังเป็นนามธรรม ประกอบด้วย
 
๑ สัทธา - ความเชื่อ คือเชื่อว่าจิตของคนมีพลังแฝงทุกขณะ
 
๒ วิริยะ - ความเพียร คือคนมีความมุ่งมั่น ตั้งใจฝึกฝน ฝึกซ้อม ให้สำเร็จได้
 
๓ สติ - ความระลึกได้ คือการรู้ตัวทุกขณะ ว่ากำลังเคลื่อนไหว
 
๔ สมาธิ - ความตั้งจิตมั่น คือ การนำจิตไปจดจ่อกับการเคลื่อนไหวในขณะนั้น
 
๕ ปัญญา - ความรู้ชัดแจ้ง คือ น้อมนำความคิด วิธีคิดว่าขณะที่เคลื่อนไหว ต้องแก้ปัญหาขณะนั้นและคิดการณ์ล่วงหน้าเสมอ
 
'''แหล่งอ้างอิง'''
 
๑ พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถานประมวลธรรม พ.ศ.ของ ๒๕๔๒พระราชวรมุนี (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
 
๒ พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม ของ พระราชวรมุนี (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)