ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เลขอะตอม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
GeonuchBot (คุย | ส่วนร่วม)
→‎top: บอต: นำแม่แบบออก, removed: {{รอการตรวจสอบ}}
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 1:
 
'''เลขอะตอม''' (atomic number) หมายถึงจำนวน[[โปรตอน]]ใน[[นิวเคลียสอะตอม|นิวเคลียส]]ของ[[ธาตุเคมี|ธาตุ]]นั้นๆ หรือหมายถึงจำนวน[[อิเล็กตรอน]]ที่วิ่งวนรอบนิวเคลียสของอะตอมที่เป็นกลาง เช่น [[ไฮโดรเจน]] (H) มีเลขอะตอมเท่ากับ 1
 
เลขอะตอม เดิมใช้หมายถึงลำดับของธาตุใน[[ตารางธาตุ]] เมื่อ [[ดมิทรี อีวาโนวิช เมนเดลีเยฟ]] (Dmitry Ivanovich Mendeleev) ทำการจัดกลุ่มของธาตุตามคุณสมบัติร่วมทางเคมีนั้น เขาได้สังเกตเห็นว่าเมื่อเรียงตาม[[เลขมวล]]นั้น จะเกิดความไม่ลงรอยกันของคุณสมบัติ เช่น [[ไอโอดีน]] (Iodine) และ[[เทลลูเรียม]] (Tellurium) นั้น เมื่อเรียกตามเลขมวล จะดูเหมือนอยู่ผิดตำแหน่งกัน ซึ่งเมื่อสลับที่กันจะดูเหมาะสมกว่า ดังนั้นเมื่อเรียงธาตุในตารางธาตุตามเลขอะตอม ตารางจะเรียงตามคุณสมบัติทางเคมีของธาตุ เลขอะตอมนี้ถึงแม้โดยประมาณ แล้วจะแปรผันตรงกับมวลของอะตอม แต่ในรายละเอียดแล้วเลขอะตอมนี้จะสะท้อนถึงคุณสมบัติของธาตุ
 
[[เฮนรี โมสลีย์]] (Henry Moseley) ได้ค้นพบความสัมพันธ์ระหว่างการกระเจิงของ [[สเปกตรัม]]ของ[[รังสีเอ็กซ์]] (x-ray) ของธาตุ และตำแหน่งที่ถูกต้องบนตารางธาตุ ในปี [[ค.ศ. 1913]] ซึ่งต่อมาได้ถูกอธิบายด้วยเลขอะตอม ซึ่งอธิบายถึงปริมาณประจุในนิวเคลียส หรือ จำนวนโปรตอนนั่นเอง ซึ่งจำนวนของโปรตอนนี้เป็นตัวกำหนดคุณสมบัติทางเคมีของธาตุ