ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เดวิด อาร์มสตรอง-โจนส์ เอิร์ลที่ 2 แห่งสโนว์ดอน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ฟร็องซัว (คุย | ส่วนร่วม)
ฟร็องซัว (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 45:
โจนส์ทำงานในฐานะพระราชวงศ์ โดยได้ทำงานเกี่ยวกับผู้มีปัญหาด้านการได้ยินของสหราชอาณาจักร ดำรงตำแหน่งประธานสมาคมฟุตบอลแห่งสหราชอาณาจักรร่วมกับ[[เจ้าชายชาลส์ เจ้าชายแห่งเวลส์]] พระญาติผู้ดูแลและจัดการเกี่ยวกับเงินงบประมาณของสหราชอาณาจักร ผู้อุปถัมภ์มรดกโลกแห่งสหราชอาณาจักร และผู้ดูแลหอสมุดควีนวิกตอเรียตั้งแต่ พ.ศ. 2539
 
แม้ว่า เขาจะเป็นสามัญชน แต่ก็ดำรงฐานะเป็นพระบรมวงศานุวงศ์แห่งสหราชอาณาจักร เช่นเดียวกับ [[เลดีซาราห์ แชตโท]] น้องสาวเพียงคนเดียวของเขา ว่ากันว่า เอิร์ลที่ 2 แห่งสโนว์ดอน เป็นพระราชภาคิไนยที่ สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ทรงรักมาก ทรงห่วงประดุจพระราชบุตรแท้ๆ โดยเห็นได้จากตั้งแต่เขาเกิด สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ทรงมีพระบรมราชโองการ ลั่นระฆัง มีการยิงสลุดปืนใหญ่ในกองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพเรือแห่งอังกฤษ 13 นัด พร้อมทั้งเสด็จพระราชดำเนินเป็นการส่วนพระองค์มายังพระตำหนักของเจ้าหญิงมาร์กาเรต เป็นประจำ พระราชทานของขวัญและทรัยพ์สิน สื่อมวลชนและประชาชนชาวอังกฤษได้ตั้งสมัญญานามแด่สมเด็จพระราชินีนาถ ว่า '''ป้าที่เห่อหลาน''' และอีกทั้งงานสมรสของเขากับ [[เซรีนา อาร์มสตรอง-โจนส์ เคาน์เตสแห่งสโนว์ดอน]] ซึ่งานจัดอย่างยิ่งใหญ่เสมือนงานอภิเษกสมรสของเจ้านายในพระราชวงศ์ นั่นเพราะพระบรมราชวินิจฉัยของสมเด็จพระบรมราชปิตุจฉา ซึ่งภายหลังการสิ้นพระชนม์ของ [[เจ้าหญิงมาร์กาเรต เคาน์เตสแห่งสโนว์ดอน]] เอิร์ลที่ 2 แห่งสโนว์ดอนและ เลดีซาราห์ แชตโท ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ ให้พำนักใน [[พระราชวังเค็นซิงตัน]] เป็นกรณีพิเศษ เนื่องจากสมเด็จพระราชินีนาถนั้น ทรงรักเจ้าหญิงมาร์กาเร็ต พระน้องนางเพียวพระองค์เดียวของพระองค์เป็นอันมาก เมื่อพระน้องนางสิ้นพระชนม์ สมเด็จพระราชินีนาถ จึงทรงรับพระราชภาคิไนยทั้ง 2 เข้ามาดูแล
 
==อ้างอิง==