ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วัดพระธาตุลำปางหลวง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
InternetArchiveBot (คุย | ส่วนร่วม)
Rescuing 1 sources and tagging 0 as dead.) #IABot (v2.0.8.1
Nubbkao (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 51:
 
พ.ศ. 2039 เจ้าเมืองหาญสีทัตถมหาสุรมนตรี เจ้าเมืองนครลำปาง ชักชวนพระสงฆ์ นักบุญ กับเจ้าหมื่นเจ้าพันทั้งหลาย ขยายฐานเจดีย์ให้กว้าง 12 วา แล้วเสร็จใน พ.ศ. 2042 เจดีย์กว้าง 12 วา สูง 19 วา 2 ศอก ใส่ทองคำมหาธาตุ 5 พัน 6 ร้อยบาทเสี้ยวทองคำ กัลปนาข้าคน 7 ครัว พ.ศ. 2044 สร้างวิหารหลวง พ.ศ. 2046 หล่อพระเจ้าล้านทอง กัลปนาข้าพระเจ้าล้านทอง 7 ครัว กัลปนาข้าสังฆอาราม 4 ครัว<ref>https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/detail/2037</ref> นางเมืองหาญสีทัตถหล่อพระพุทธรูปน้ำหนัก 30,000 ทอง ประดิษฐานในวิหารด้านเหนือ (วิหารน้ำแต้ม) พระศิลาเจ้าอยู่วิหารด้านตะวันตก (วิหารละโว้) พระราชครูเจ้านำฉัตรทองคำมาใส่ยอดมหาธาตุ ภายหลังแผ่นดินไหว ยอดมหาธาตุหักพัง มหาสังฆราชาเจ้าอภัยทิฐะเมธังกรเจ้า มหาสังฆราชาวิจิตรญาณเมตตาเจ้าทำการยกฉัตรทองคำใหม่ พระเจดีย์จึงสูง 22 วา 1 ปลายอก
 
พ.ศ. 2099 [[พระเมกุฏิสุทธิวงศ์|พระแม่กุ]] เสด็จมานมัสการพระธาตุลำปางหลวง เห็นอุบาทว์ 2 ประการนาน 1 เดือนปลาย
 
พ.ศ. 2116 มหาอุปราชาพระญาหลวงนครไชยบุรี เจ้าเมืองนครลำปาง มีศรัทธาสร้างฉัตรพระธาตุขึ้นใหม่ เนื่องจากฉัตรพระธาตุพังไปเมื่อลาวหงสามาตกเมืองนครลำปางและเมืองเชียงใหม่ มีพระมหาสมเด็จรัตนมงคลลัมภกัปปารามาธิปติ พระมหาสังฆราชาวัดหลวง มหาสังฆโมลีเชียงยืนเป็นประธานฝ่ายสงฆ์ มหาอุบาสกแสนมหาธาตุเป็นประธานฝ่ายฆราวาส ภายหลังเกิดสงคราม ลำเวียงทอง (รั้วพระธาตุ) ถูกทำลาย พระมหาราชครูสรีกลางนคร สมเด็จเจ้ารัตนมังคละเจ้าลำพาง พร้อมกับคณะสงฆ์ร่วมกันสร้างลำเวียงทองขึ้นใหม่