ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แร้ง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
InternetArchiveBot (คุย | ส่วนร่วม)
Rescuing 1 sources and tagging 0 as dead.) #IABot (v2.0.8
InternetArchiveBot (คุย | ส่วนร่วม)
Rescuing 1 sources and tagging 2 as dead.) #IABot (v2.0.8.1
บรรทัด 39:
สำหรับใน[[ประเทศไทย]]พบแร้งทั้งหมด 5 [[สปีชีส์|ชนิด]] โดยแบ่งเป็นแร้งอพยพ 2 ชนิด คือ [[แร้งดำหิมาลัย]] (''Aegypius monachus'') และ [[แร้งสีน้ำตาลหิมาลัย]] (''Gyps himalayensis'') แร้งประจำถิ่น 3 ชนิด คือ [[พญาแร้ง]] (''Sarcogyps calvus''), [[Gyps indicus|แร้งสีน้ำตาล]] (''Gyps itenuirostris'') และ[[แร้งเทาหลังขาว]] (''G. bengalensis'') ซึ่งทุกชนิดเป็น[[สัตว์ป่าคุ้มครอง]] มีสถานภาพใกล้สูญพันธุ์ทั้งหมด
 
แร้งประจำถิ่นไทยในปัจจุบันนี้ มีโครงการเพาะพันธุ์พญาแร้งเพื่อฟื้นฟูประชากรในถิ่นอาศัยที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง โดยกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช องค์การ[[สวนสัตว์|สวนสัตว์ในพระบรมราชูปถัมภ์]] และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์<ref name=":0">ช่วยแร้งเชิงรุก https://www.matichon.co.th/columnists/news_1442482</ref> อีกทั้งยังมีการจัดทำแหล่งอาหารโดยจัดหาซากสัตว์ที่ปลอดจากยาต้านอักเสบไดโคลฟีแนค ให้แร้งสีน้ำตาลหิมาลัยกินเป็นอาหารในฤดูหนาว เรียกว่า "ร้านอาหารแร้ง" (Vulture restaurant หรือ feeding station) ที่จังหวัดภูเก็ตและจังหวัดนครนายก โดยกลุ่มศึกษาเหยี่ยวและนกอินทรีในประเทศไทย<ref>Thai Raptor Group www.facebook.com/ThaiRaptorGroup.TRG</ref> และงานวิจัยนกนักล่าและอายุรศาสตร์เพื่อการอนุรักษ์ และกองทุนวิจัยนกนักล่าเพื่อการอนุรักษ์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร ์ ร่วมกับชมรมอนุรักษ์นกเหยี่ยวปากพลี และกลุ่มถ่ายภาพนกและธรรมชาติ Bird Home <ref>ร้านอาหารแร้ง https://adaymagazine.com/condor-restuarant/</ref> <ref>Feeding stations for near-threatened HImalayan Vultures http://www.birdsofthailand.org/content/feeding-stations-near-threatened-himalayan-vultures {{Webarchive|url=https://web.archive.org/web/20190410122511/http://www.birdsofthailand.org/content/feeding-stations-near-threatened-himalayan-vultures |date=2019-04-10 }}</ref><ref name=":0" />
 
 
บรรทัด 48:
แร้งใน[[ความเชื่อ]]ของมนุษย์ แทบทุก[[วัฒนธรรม]]จะถือว่าเป็นนกที่อัปมงคล เพราะพฤติกรรมที่กินซากศพและรูปร่างหน้าตาที่น่าเกลียดน่ากลัว ในความเชื่อของ[[คนไทย]] แร้งเป็นนกที่นำมาซึ่งความอัปมงคลเช่นเดียวกับ[[นกแสก]] เมื่อสมัยอดีต [[งานศพ|ประเพณีการปลงศพ]]ในบางพื้นที่ที่ห่างไกลความเจริญหรือในบาง[[วัฒนธรรม]] เช่น ทิเบต จะทิ้งซากศพไว้กลางแจ้ง มักจะมีแร้งมาเกาะคอยรอกินศพอยู่บริเวณรอบ ๆ นั้นเสมอ ๆ และเมื่อครั้งที่เกิด[[อหิวาตกโรค]]ระบาดอย่างร้ายแรง ในปี[[พ.ศ. 2363|พุทธศักราช ๒๓๖๓]] ตรงกับรัชสมัยของ[[รัชกาลที่ ๒]] มีผู้เสียชีวิตจำนวนมากใน[[กรุงเทพมหานคร|พระนคร]] การเผาศพทำไม่ทัน จนต้องมีศพกองสุมกันที่[[วัดสระเกศ]] มีแร้งลงมาจิกกินเป็นที่น่าสังเวชแก่ผู้พบเห็น จนมีคำกล่าวว่า ''"แร้งวัดสระเกศ"'' คู่กับ ''"[[เปรต]][[วัดสุทัศน์]]"'' นอกจากนี้ยังมีบันทึกว่าในเช้าของ[[วันอังคาร]]ที่ [[2 สิงหาคม]] [[พ.ศ. 2481]] มีแร้งนับจำนวนนับร้อยตัวได้บินมาลงที่[[ท้องสนามหลวง]]อย่างไม่ทราบสาเหตุ จากนั้นในเวลาบ่ายของวันเดียวกันก็ได้บินกลับไป ซึ่งต่อมาก็ได้มีเหตุร้ายแรงของบ้านเมืองเกิดขึ้น คือ [[กบฏพระยาทรงสุรเดช]] และ[[กรณีพิพาทไทย-อินโดจีนฝรั่งเศส|สงครามอินโดจีน]]<ref>หน้า 19-21, ''ยุคทมิฬ บันทึกนักโทษฝ่ายกบฏบวรเดช'' โดย พายัพ โรจนวิภาต ([[พ.ศ. 2554]]) ISBN 978-6167146-22-5</ref>
 
และชื่อของ[[อำเภอแก่งคอย]] [[อำเภอ]]หนึ่งใน[[จังหวัดสระบุรี]] อันเป็นปากทางเข้าสู่[[ป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่]]หรือ "ดงพญาไฟ" ในอดีต ก็เคยมีชื่อเรียกว่า "แร้งคอย" อันเนื่องมาจากการที่ผู้คนที่สัญจรเข้าไปใน[[ป่า]]แห่งนี้ มักจะตายลงด้วย[[มาลาเรีย|ไข้ป่า]] จนแร้งต้องมาคอยกินซากศพ จึงเป็นที่มาของชื่ออำเภอ<ref>[http://www.sarakadee.com/web/modules.php?name=Sections&op=printpage&artid=711{{ลิงก์เสีย|date=ตุลาคม 2021 |bot=InternetArchiveBot |fix-attempted=yes }} สารคดีพิเศษ : แก่งคอย : ผู้คน สายน้ำ ขุนเขา ใต้เงาหมอกควัน จาก[[นิตยสารสารคดี|สารคดี]]]</ref>
 
และด้วยความที่แร้งเป็นนกขนาดใหญ่ที่หัวและคอล้านเลี่ยนดูคล้าย[[ไก่งวง]] ในอดีตก็เคยมี[[คนไทย]]นำแร้งมาขายแก่[[ชาวตะวันตก|ชาวต่างชาติ]]เนื่องใน[[วันขอบคุณพระเจ้า]] โดยหลอกว่าเป็นไก่งวงมาแล้ว แต่ท้ายที่สุดความก็แตก เนื่องจากแร้งตัวนั้นได้บินหนีไปในที่สุด<ref>[http://www.thaipbs.or.th/s1000_obj/front_page/page/1058.html?content_id=190489&content_detail_id=499535&content_category_id=754{{ลิงก์เสีย|date=ตุลาคม 2021 |bot=InternetArchiveBot |fix-attempted=yes }} รายการ[[พินิจนคร]] ตอน สามแพร่งแห่ง[[คลองรอบกรุง]] ปริศนารอบ[[ป้อมมหากาฬ]] ออกอากาศเมื่อวันที่ [[30 มีนาคม]] [[พ.ศ. 2552]]]</ref>
 
=== ในวัฒนธรรมที่แตกต่างออกไป ===
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/แร้ง"