ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ยุทธการที่มอสโก"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Matable (คุย | ส่วนร่วม)
Matable (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 39:
 
=== แผนการ ===
สำหรับฮิตเลอร์ เมืองหลวเมืองหลวงของสหภาพโซเวียตเป็นเป้าหมายรอง และเขามีความเชื่อว่าวิธีเดียวเท่านั้นที่จะทำให้สหภาพโซเวียตยอมสยบแทบเท้าลงได้คือการเอาชนะทางเศรษฐกิจ เขาจึงมีความคิดที่ว่าสิ่งนี้สามารถทำได้โดยการเข้ายึดครองทรัพยากรทางเศรษฐกิจของยูเครนทางตะวันออกของเคียฟ{{sfn|Flitton|1994}} เมื่อ[[วัลเทอร์ ฟ็อน เบราคิทช์]] ผู้บัญชาการทหารสูงสุดแห่งกองทัพบกเยอรมัน ได้ให้การสนับสนุนในการเข้ารุกโดยตรงสู่กรุงมอสโก เขาได้บอกว่า "มีเพียงสมองที่หุ้มด้วยกะโหลกหนา ๆ ที่สามารถจะคิดไอเดียนี้ได้"{{sfn|Flitton|1994}} [[ฟรันทซ์ ฮัลเดอร์]] หัวหน้าคณะเสนาธิการแห่งกองทัพบกยังมีความเชื่อมั่นว่า การผลักดันเพื่อเข้ายึดกรุงมอสโกจะได้รับชัยชนะ ภายหลังจากกองทัพบกเยอรมันได้สร้างความเสียหายมากพอให้กับกองทัพโซเวียต<ref>{{cite book|last=Niepold|first=Gerd|title=The Initial Period of War on the Eastern Front, 22 June – August 1941: Proceedings of the Fourth Art of War Symposium, Garmisch, FRG, October 1987|publisher=Psychology Press|year=1993|isbn=978-0714633756|editor=David M. Glantz|series=Cass series on Soviet military theory and practice|volume=2|page=67|chapter=Plan Barbarossa|chapter-url=https://books.google.com/books?id=yg4V2momdSAC&pg=PA67}}</ref> มุมมองนี้ถูกแบ่งปันโดยส่วนใหญ่ภายในกองบัญชาการใหญ๋เยอรมัน{{sfn|Flitton|1994}} แต่ฮิตเลอร์ได้ปฏิเสธนายพลของเขาเพื่อสนับสนุนให้ทำการโอบล้อมกองทัพโซเวียตรอบเมืองเคียฟในทางตอนใต้ และตามมาด้วยการเข้ายึดครองยูเครน การเคลื่อนไหวครั้งนี้ได้ประสบความสำเร็ว ส่งผลลัพธ์ทำให้เกิดการสูญเสียบุคลากรของกองทัพแดงจำนวนเกือบ 700,000 นาย ล้วนถูกสังหาร ถูกจับกุม หรือบาดเจ็บในวันที่ 26 กันยายน และกองกำลังฝ่ายอักษะได้เข้ารุกคืบหน้าต่อไป{{sfn|Glantz|House|1995|p=293}}
 
เมื่อสิ้นสุดฤดูร้อน ฮิตเลอร์ได้หันเหความสนใจไปยังกรุงมอสโกและมอบหมายให้แก่กองทัพกลุ่มกลางในการทำภารกิจครั้งนี้ กองกำลังที่จะดำเนินปฏิบัติการไต้ฝุ่น ได้แก่ กองทัพทหารราบทั้งสาม (ที่ 2 ที่ 4 และที่ 9<ref name=":0">{{Cite book|last=Stahel|first=David|title=Operacja "Tajfun"|work=Książka i Wiedza|year=2014|isbn=978-83-05-136402|location=Warsaw|pages=89}}</ref>) โดยได้รับการสนับสนุนโดยกลุ่มยานเกราะ (รถถัง) ทั้งสาม (ที่ 2 ที่ 3 และที่ 4) และกองบินที่ 2 (Luftflotte 2) ของลุฟท์วัฟเฟอ กองทหารเยอรมันจำนวนมากถึงสองล้านนายได้เข้าร่วมปฏิบัติการ พร้อมกับรถถังและปืนใหญ่จู่โจมจำนวน 1,000–2,470 คัน และอาวุธปืนจำนวน 14,000 กระบอก กองกำลังทางอากาศที่แข็งแกร่งของเยอรมัน อย่างไรก็ตาม ได้ถูกลดทอนลงอย่างมากในช่วงฤดูร้อนของการทัพ ลุฟท์วัฟเฟอสูญเสียเครื่องบินรบจำนวน 1,603 ลำ และได้รับเสียหายจำนวน 1,028 ลำ กองบินที่ 2 มีเครื่องมือที่สามารถซ่อมบำรุงเครื่องบินรบได้แค่เพียง 549 ลำ ร่วมทั้งเครื่องบินทิ้งระเบิดขนาดกลางและเครื่องบินดำดิ่งทิ้งระเบิดจำนวน 158 ลำ และเครื่องบินขับไล่ 172 ลำ ที่สามารถใช้งานได้สำหรับปฏิบัติการไต้ฝุ่น<ref>Bergstöm 2007, p. 90.</ref> การโจมตีอาศัยกลยุทธ์บลิทซ์ครีคแบบมาตรฐาน โดยการใช้กลุ่มยานเกราะให้พุ่งเข้าลึกสู่แนวรบของโซเวียตและดำเนินการเคลื่อนทัพรูปแบบก้ามปูสองด้าน ทำการโอบล้อมกองพลของกองทัพแดงและทำลายล้างให้สิ้นซาก<ref>Guderian, pp. 307–09.</ref>
บรรทัด 146:
เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนมิถุนายน ค.ศ. 1941 กองกำลังโซเวียตได้หยุดยั้งเยอรมันและขับไล่พวกเขากลับไป สิ่งนี้ได้ส่งผลทำให้สตาลินมีความมั่นใจมากเกินไปที่จะขยายการรุกออกไปอีก เมื่อวันที่ 5 มกราคม ค.ศ. 1942 ในช่วงการประชุมที่พระราชวังเคลมลิน สตาลินได้ประกาศว่าเขากำลังวางแผนการโจมตีโดยทั่วไปในฤดูใบไม้ผลิ ซึ่งจะถูกจัดฉากขึ้นพร้อมกันใกล้กับมอสโก เลนินกราด ฮาร์คอฟ และแหลมไครเมีย แผนการนี้ได้เป็นที่ยอมรับทั่วไปซึ่งเหนือกว่าการคัดค้านของจูคอฟ<ref>Zhukov, tome 2, pp. 43–44.</ref> กองกำลังสำรองของกองทัพแดงนั้นมีค่อนข้างต่ำและทักษะทางยุทธวิธีของแวร์มัคท์จนนำไปสู่หนทางตันแห่งการนองเลือดใกล้กับรเจฟ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันคือ "เครื่องบดเนื้อรเจฟ" และความพ่ายแพ้หลายครั้งของกองทัพแดง เช่น [[ยุทธการที่ฮาร์คอฟครั้งที่ 2|ยุทธการที่ฮาร์คอฟครั้งที่สอง]] ความพยายามที่ล้มเหลวในการกำจัดกองกำลังเยอรมันใน[[เดเมียนสค์พ็อกเกต|วงล้อมเดเมียนสค์]] และกองทัพของนายพล [[อันเดรย์ วลาซอฟ]] ถูกโอบล้อมอย่างสื้นเชิงใน[[ปฏิบัติการรุกลูย์บัน|ความพยายามที่ล้มเหลว]]ในการคลาย[[การล้อมเลนินกราด|วงล้อมเลนินกราด]] และ[[ยุทธการที่คาบสมุทรเคียร์ช|ความพินาศย่อยยับ]]ของกองทัพแดงในแหลมไครเมีย ในท้ายที่สุด ความล้มเหลวเหล่านี้จะนำไปสู่การรุกทางใต้ของเยอรมันที่ประสบความสำเร็จและเข้าสู่[[ยุทธการที่สตาลินกราด]]
 
ในภาพยนตร์สารคดีเรื่อง [[ราซกรอมเนเมซคีฮ์วอยสคปอดมอสควอย|มอสโกตอบโต้กลับ]] (Russian[[ภาษารัสเซีย|รัสเซีย]]: Разгром немецких войск под Москвой, "ความพ่ายแพ้ของกองทหารเยอรมันใกล้กรุงมอสโก"), ถูกทำขึ้นในช่วงการสู้รบและเผยแพร่อย่างรวดเร็วในสหภาพโซเวียต มันได้ถูกนำไปที่อเมริกาและออกฉายที่ Globe ในกรุงนิวยอร์กในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1942 นักวิจารณ์ของนิตยสาร[[นิวยอร์กไทมส์|นิวยอร์กไทม์]]ได้ลงความเห็นว่า "ความโหดร้ายของการล่าถอยเป็นภาพที่ชวนทำให้จิตใจต้องตกตะลึง"<ref name="NYT1942" /> เช่นเดียวกับการเดินสวนสนามและฉากสู้รบในกรุงมอสโก ภาพยนตร์เรื่องนี้ยังมีภาพที่แสดงถึงความโหดร้อยของเยอรมันที่ได้กระทำในช่วงการยึดครอง "เด็กที่เปลือยเปล่าและถูกเชือดสังหารซึ่งได้ถูกเหยียดตัวออกเป็นแถวที่น่าสยดสยอง เยาวชนวัยรุ้นที่ห้อยขาไปมาในความหนาวเย็นจากที่แขวนคอนักโทษที่มีสภาพทรุดโทรม แต่ก็ยังคงแข็งแรงเพียงพอ"<ref name="NYT1942">{{cite web|last1=T.S.|date=17 August 1942|title=Movie Review: Moscow Strikes Back (1942) 'Moscow Strikes Back,' Front-Line Camera Men's Story of Russian Attack, Is Seen at the Globe|url=https://www.nytimes.com/movie/review?res=9501E0D7113CE33BBC4F52DFBE668389659EDE|access-date=18 March 2015|work=The New York Times}}</ref>
 
== มรดกตกทอด ==