ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รัฐประหารในประเทศสยาม เมษายน พ.ศ. 2476"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Miwako Sato (คุย | ส่วนร่วม)
Patcha007 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 2:
'''เหตุการณ์ 1 เมษายน พ.ศ. 2476''' เกิดขึ้นเมื่อวันเสาร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2476 โดยที่[[พระยามโนปกรณ์นิติธาดา]] นายกรัฐมนตรีได้ประกาศพระราชกฤษฎีกาปิดสภาผู้แทนราษฎร พร้อมงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา
 
== สาเหตุ ==
เหตุสืบเนื่องจากการนำเสนอเค้าโครงเศรษฐกิจของนาย[[ปรีดี พนมยงค์]] ฉบับที่เรียกว่า "[[สมุดปกเหลือง]]" พระยามโนปกรณ์นิติธาดาใช้เล่ห์กลปัดร่างดังกล่าวตกไป และยกพระบรมราชวินิจฉัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวโดยไม่มีผู้รับสนอง เขาสมคบกับ[[พระยาทรงสุรเดช]] 1 ใน 4 ทหารเสือผู้เปลี่ยนแปลงการปกครอง ได้นำ[[พระยาฤทธิอัคเนย์]] และ [[พระประศาสน์พิทยายุทธ]] ทหารเสืออีก 2 คน ใช้กำลังทหารล้อมสภาไว้และสั่งปิดสภา
 
เส้น 12 ⟶ 13:
{{คำพูด|ก่อนการประชุมสภาผู้แทนราษฎร เมื่อเวลา 09.35 น. นั้น พระยาทรงสุรเดชได้นำเอาทหาร 1 กองร้อยพร้อมสรรพด้วยอาวุธและนัยว่าได้เอาลูกระเบิดมือติดตัวมาด้วย ทหาร 1 กองร้อยดังกล่าวนี้ได้ยืนอยู่ที่เชิงบันไดสภาผู้แทนราษฎร เพื่อทำการตรวจค้นอาวุธที่บรรดาสมาชิกพกติดตัวมา ถ้าใครพกปืนติดตัวมาก็เก็บเอาไว้เสียทันที การกระทำเช่นนี้ไม่เป็นที่พอใจของสมาชิกเป็นส่วนมาก|}}<ref>''พระยาทรงสุรเดช (2)'', คอลัมน์ ส่วนร่วมสังคมไทย โดย นรนิติ เศรษฐบุตร รศ. หน้า 8 บทความ-การ์ตูน. เดลินิวส์ฉบับที่ 23,255: ศุกร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2556 ขึ้น 6 ค่ำ เดือน 7 ปีมะเส็ง</ref>
 
== ผลลัพธ์ ==
และยกพวกไปล้อมบ้านพักของนายปรีดี เป็นเหตุให้ต้องใช้พระราชกฤษฎีกาปิดสภาผู้แทนราษฎร พร้อมงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา ซึ่งถือได้ว่าเป็นการ '''รัฐประหารเงียบ''' พร้อมบีบบังคับนายปรีดีไปที่ประเทศฝรั่งเศส และได้ออกพระราชบัญญัติป้องกันการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ พ.ศ. 2476 ออกมาใช้ด้วย มีการกวาดล้างจับกุมชาวเวียดนามที่สงสัยว่าเป็นคอมมิวนิสต์ ขณะเดียวกันคณะกรรมการ[[พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย|พรรคคอมมิวนิสต์สยาม]]ก็ถูกจับและถูกจำคุก ทั้งนี้มีบันทึกที่ไม่เป็นทางการว่า พระยามโนปกรณ์นิติธาดา และ พระยาทรงสุรเดช ร่วมมือกันในการขจัดบทบาททางการเมืองของคนสำคัญในคณะราษฏรเอง เช่น นายปรีดี พนมยงค์ และ[[หลวงพิบูลสงคราม]] เป็นต้น