ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Magnamonkun (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: ลิงก์แก้ความกำกวม
บรรทัด 232:
 
ทั้งนี้สถานการณ์ไม่ได้เลวร้ายลงถึงขั้นต้องยุติการให้บริการชั่วคราว เนื่องจาก[[กรุงเทพมหานคร]]ได้ลงตรวจสอบพื้นที่และพบว่าบริเวณคลองบางเขนมีเสาหินที่เกิดจากการรุกล้ำที่ดินขวางทางระบายน้ำลงอุโมงค์ระบายน้ำใต้ดินออกสู่อ่าวไทย ทางกรุงเทพมหานครจึงได้ดำเนินการรื้อถอนเสาหินออกทั้งหมด ทำให้มวลน้ำไม่กระจายเข้าพื้นที่ตัวเมืองชั้นใน และทำระดับน้ำเริ่มลดลงจนแห้งสนิทในวันที่ [[15 พฤศจิกายน]] พ.ศ. 2554 ซึ่งหลังจากเหตุการณ์สงบลง การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย จึงเริ่มดำเนินการรื้อผนังกั้นน้ำออก และเปิดทางเข้าออกตามปกติ
 
ในเดือนกันยายน-ตุลาคม พ.ศ. 2564 ภายหลังจาก[[พายุเตี้ยนหมู่]]พัดขึ้นชายฝั่งประเทศเวียดนามต่อเนื่องมายังประเทศไทย ทำให้เกิดฝนตกหนักหลายแห่งจนกลายเป็นเหตุอุทกภัยในหลายจังหวัด การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย และทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ ได้เริ่มดำเนินการฝึกซ้อมแผนรับมือเหตุอุทกภัยล่วงหน้าทันที พร้อมทั้งตรวจสอบสภาพของประตูกันน้ำจากอาคารที่เชื่อมต่อสถานีทั้งหมดอันได้แก่[[สถานีกลางบางซื่อ]] [[กลุ่มเดอะมอลล์|กูร์เม่ต์มาร์เก็ต สาขาเอ็มอาร์ที ลาดพร้าว]] [[เซ็นทรัลแกรนด์|ศูนย์การค้าเซ็นทรัล พระราม 9 และอาคารจีทาวเวอร์]] อาคารสิงห์คอมเพล็กซ์ [[จัตุรัสจามจุรี]] และ[[สามย่านมิตรทาวน์]] เพื่อเตรียมรับมือหากเหตุอุทกภัยเริ่มรุนแรงจนเข้าสู่พื้นที่กรุงเทพมหานคร
 
=== เหตุการณ์อื่นๆ ===