ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ยุทธการที่มอสโก"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Matable (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: เพิ่มยูอาร์แอล wikipedia.org การแก้ไขแบบเห็นภาพ
บรรทัด 97:
 
=== การโอบล้อมที่ล้มเหลว ===
เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน ค.ศ. 1941, กองทัพรถถังเยอรมันได้เริ่มต้นการรุกของพวกเขาสู่คลิน, ซึ่งที่นั้นไม่มีกองกำลังสำรองโซเวียตอยู่เลย เพราะความต้องการของสตาลินที่พยายามจะเข้ารุกตอบโต้กลับที่[[โวโลโคลัมสค์]], ซึ่งได้บังคับให้ย้ายกองกำลังสำรองที่มีอยู่ทั้งหมดไปยังทางใต้สุด. การโจมตีของเยอรมันช่วงแรกได้ถูกแบ่งออกเป็นแนวรบออกเป็นสองส่วน โดยแบ่งแยกกองทัพที่ 16 ออกจากกองทัพที่ 30<ref name="GlantzTTG"/> หลายวันของการสู้รบเข้มข้นที่ตามมา จูคอฟได้บันทึกไว้ในอนุทินของเขาว่า "พวกข้าศึกเมินเฉยต่อผู้บาดเจ็บ ซึ่งกำลังเข้าโจมตีแนวหน้า, มีความตั้งใจที่จะเข้าไปยังกรุงมอสโกโดยวิธีการใด ๆ ที่จำเป็น"<ref name="Zhukov28">Zhukov, tome 2, p. 28.</ref> แม้ว่าความพยายามของแวร์มัคท์, การป้องกันหลายชั้นได้ลดความสูญเสียของโซเวียต ในขณะที่กองทัพที่ 16 ของโซเวียตก็ค่อย ๆ ล่าถอยและคอยก่อกวนกองพลเยอรมันอย่างต่อเนื่องซึ่งกำลังพยายามที่จะหาทางตีฝ่าป้อมปราการป้องกัน{{citation needed|date=January 2020}}
{{โครง-ส่วน}}
 
[[File:Bundesarchiv Bild 146-2008-0317, Russland, Bergung eines Verwundeten.jpg|thumb|left|ทหารเยอรมันคอยดูแลสหายผู้ได้รับบาดเจ็บใกล้กับมอสโก, พฤศจิกายน-ธันวาคม ค.ศ. 1941]]
 
กองทัพยานเกราะที่สามได้เข้ายึดครองคลินภายหลังการสู้รบอย่างหนัก เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน, Solnechnogorsk เช่นเดียวกันในวันที่ 24 พฤศจิกายนและอิสตรา, วันที่ 24/25 พฤศจิกายน. การต่อต้านของโซเวียตยังคงแข็งแกร่ง และผลลัพธ์ของการสู้รบนั้นไม่อาจสรุปออกมาได้ ตามรายงาน, สตาลินได้ถามจูคอฟว่า จะสามารถปกป้องมอสโกได้สำเร็จหรือไม่และสั่งให้เขา "พูดอย่างตรงไปตรงมา, เฉกเช่นเดียวกับคอมมิวนิสต์." จูคอฟได้ตอบว่าเท่าที่จะเป็นไปได้ แต่ต้องการกำลังสำรองอย่างเร่งด่วน.<ref name="Zhukov28"/> วันที่ 27 พฤศจิกายน,กองพลยานเกราะที่ 7 ของเยอรมันได้เข้ายึดหัวสะพานข้าม[[คลองมอสโก-โวลก้า]]—ซึ่งเป็นสิ่งกีดขวางแห่งสุดท้ายที่สำคัญก่อนที่จะเข้าถึงมอสโก—และยืนอยู่ห่างจากพระราชวังเคลมลินอย่างน้อยกว่า 35 กิโลเมตร(22 ไมล์);<ref name="GlantzTTG"/> แต่การโจมตีตอบโต้กลับอันทรงพลังของกองทัพจู่โจมที่ 1 ทำให้พวกเขาต้องล่าถอย.<ref name="Zhukov30">Zhukov, tome 2, p. 30.</ref> ทางตะวันตกเฉียงเหนือของมอสโก แวร์มัคท์ได้มาถึง Krasnaya Polyana อยู่ห่างจากพระราชวังเคลมลินอย่างน้อยกว่า 29 กิโลเมตร(18 ไมล์)ในใจกลางกรุงมอสโก;<ref>Guderian, p. 345.</ref> เจ้าหน้าที่นายทหารเยอรมันสามารถมองเห็นอาคารสำคัญบางแห่งของเมืองหลวงโซเวียตผ่านทางกล้องส่องทางไกลของพวกเขา. กองกำลังทั้งฝ่ายโซเวียตและฝ่ายเยอรมันต่างหมดกำลังลงอย่างรุนแรง บางครั้งมีเพียงทหารปืนไรเฟิลจำนวน 150-200 นาย—กองร้อยที่มีกำลังเต็มที่—เหลือไว้เพียงแค่กรมทหาร<ref name="GlantzTTG"/>
 
[[File:Soldiers on guard in December 1941 to the west of Moscow.jpg|thumb|ทหารเยอรมัน ทางตะวันตกของมอสโก, ธันวาคม ค.ศ. 1941]]
 
ในทางใต้, ใกล้กับตูลา, การสู้รบได้เริ่มต้นใหม่ในวันที่ 18 พฤศจิกาย ค.ศ. 1941, โดยกองทัพยานเกราะที่สองได้พยายามที่จะโอบล้อมเมือง<ref name="GlantzTTG"/> กองกำลังเยอรมันที่เกี่ยวข้องถูกโจมตีอย่างรุนแรงจากการสู้รบครั้งก่อนและยังไม่มีชุดกันความหนาว ด้วยผลลัพธ์, การรุกคืบของเยอรมันช่วงแรกได้แค่เพียง 5-10 กิโลเมตร(3.1-62 ไมล์) ต่อวัน.<ref>Guderian, p. 340.</ref> ยิ่งไปกว่านั้น ได้เปิดเผยให้กองทัพรถถังของเยอรมันถูกโจมตีขนาบข้างจากกองทัพที่ 49 และ 50 ของโซเวียต ที่อยู่ใกล้กับตูลา, ทำให้การรุกต้องล่าช้าไปอีก. อย่างไรก็ตาม กูเดรีอันสามารถติดตามการรุก, ได้กระจายกองกำลังของเขาในการโจมตีแบบรูปดาว เข้ายึดครอง Stalinogorsk เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน ค.ศ. 1941 และโอบล้อมกองพลปืนไรเฟิลโซเวียตที่คอยประจำการอยู่ที่นั้น. วันที่ 26 พฤศจิกายน, รถถังเยอรมันได้มาถึง [[Kashira]], เมืองที่คอยควบคุมทางหลวงสายสำคัญสู่มอสโก. ในการตอบสนอง, การโจมตีตอบโต้กลับของโซเวียตได้เปิดฉากขึ้นในวันต่อมา. กองทัพน้อยทหารที่ 2 กองพลทหารการ์ดที่ 1 และกองพลทหารการ์ดที่ 2 ภายใต้บัญชาการโดยนายพลปาเวล เบลอฟ ได้ให้การสนับสนุนโดยการจัดตั้งรวบรวมกองกำลังอย่างเร่งรีบ, ซึ่งรวมทั้งกองพลปืนไรเฟิลที่ 173, กองพลน้อยรถถังที่ 9, กองพันรถถังที่ถูกแยกออกเป็นสองกองพัน, และทำการฝึกซ้อมและหน่วยทหารราบ<ref>Erickson, 'The Road to Stalingrad,' p. 260</ref> การรุกของเยอรมันได้หยุดชะงักลงใกล้กับ Kashira.<ref name=GeorgyZhukov/>{{rp|35–36}}<ref>A.P. Belov, ''Moscow is behind us'', Moscow, Voenizdat, 1963, p. 97.</ref> เยอรมันได้ถูกขับไล่กลับไปในช่วงต้นเดือนธันวาคม, ปกป้องทางใต้ที่จะเข้าสู่เมือง <ref>Belov, p. 106.</ref> ส่วนตูลาเอง,ก็ได้รับการป้องกันโดยป้อมปราการและการป้องกันอย่างเหนียวแน่นส่วนใหญ่จากกองทัพที่ 50 ซึ่งมีทั้งทหารและพลเรือน. ในทางใต้, แวร์มัคท์ไม่เคยเข้าใกล้เมืองหลวง. การเข้าตีครั้งแรกของแนวรบตะวันตกในการรุกตอบโต้กลับบนเขตชานเมืองมอสโกกับกองทัพยานเกราะที่ 2 ของกูเดรีอันof the Western-Front's counter-offensive on the outskirts of Moscow fell upon Guderian's [[2nd Panzer Army]].<ref>John S Harrel</ref>
 
เนื่องจากการต่อต้านทั้งทางเหนือและทางใต้ของมอสโก วันที่ 1&nbsp;ธันาวคม แวร์มัคท์ได้พยายามที่จะเข้าโจมตีโดยตรงจากทางตะวันตกตามทางหลวงมินสค์-มอสโกใกล้กับเมือง [[นาโร-โฟมินสค์]] การรุกครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนของรถถังที่จำกัดและมุ่งเป้าไปที่การป้องกันของโซเวียตอย่างกว้างขวาง. ภายหลังจากพบกับการต้านทานอย่างเหนียวแน่นจากกองพลปืนไรเฟิลยานยนต์การ์ดที่ 1 ของโซเวียตและการโจมตีตอบโต้กลับด้านข้างที่ถูกจัดฉากขึ้นโดยกองทัพที่ 33 การรุกของเยอรมันได้หยุดชะงักและถูกขับไล่กลับไปในสี่วันต่อมาในการรุกตอบโต้กลับของโซเวียตที่ตามมา.<ref name="GlantzTTG"/> วันเดียวกัน, กรมทหารราบที่ 638 ซึ่งเต็มไปด้วยชาวฝรั่งเศส, ซึ่งเป็นเพียงกองกำลังทหารต่างชาติหน่วยเดียวของแวร์มัคท์ได้เข้าร่วมในการรุกสู่มอสโก, ได้ปฏิบัติหน้าที่ใกล้กับหมู่บ้าน Diutkovo<ref>{{Cite journal|last=Beyda|first=Oleg|s2cid=148469794|date=7 August 2016|title='La Grande Armée in Field Gray': The Legion of French Volunteers Against Bolshevism, 1941|journal=The Journal of Slavic Military Studies|volume=29|issue=3|pages=500–18|doi=10.1080/13518046.2016.1200393}}</ref> วันที่ 2 ธันวาคม, กองพันลาดตระเวนได้มาถึงเมือง [[Khimki#History|Khimki]] —ซึ่งอยู่ห่างจากพระราชวังเคลิมในใจกลางมอสโดเพียงระยะทาง 30 กิโลเมตร(19 ไมล์) ถึงสะพานข้ามคลองมอสโก-โวลก้าและสถานีรถไฟ. ซึ่งเป็นเส้นทางที่ใกล้ที่สุดของกองกำลังเยอรมันในการสู่มอสโก.<ref name=comm>Henry Steele Commager, ''The Story of the Second World War'', p. 144</ref><ref name=argyle>Christopher Argyle, ''Chronology of World War II Day by Day'', p. 78</ref>
 
[[File:Moscow Strikes Back - ski soldiers march to battle.jpg|thumb|left|กองทหารสกีของกองทัพแดง. ภาพถ่ายมาจากสารคดีเรื่อง ''[[มอสโกตอบโต้กลับ]]'', ค.ศ. 1942]]
 
ฤดูหนาวในยุโรป ค.ศ.1941–42 เป็นช่วงเวลาที่หนาวจัดมากที่สุดในทศวรรษที่ยี่สิบ.<ref>{{cite journal|last=Lejenäs|first=Harald|title=The Severe Winter in Europe 1941–42: The large scale circulation, cut-off lows, and blocking|year=1989|journal=Bulletin of the American Meteorological Society|volume=70|issue=3|pages=271–81|doi=10.1175/1520-0477(1989)070<0271:TSWIET>2.0.CO;2|bibcode=1989BAMS...70..271L|doi-access=free}}</ref> วันที่ 30 พฤศจิกายน ฟ็อน บ็อคได้กล่าวอ้างในรายงานไปยังเบอร์ลินว่า อุณหภูมิอยู่ที่ −45&nbsp; องศาเซลเซียส (−49&nbsp;องศาฟาเรนไฮต์).<ref>Chew (1981), p. 34.</ref> นายพล [[Erhard Raus]], ผู้บัญชาการแห่งกองพลยานเกราะที่ 6 ได้บันทึกผลติดตามอุณหภูมิเฉลี่ยรายวันในอนุทินสงครามของเขา. ซึ่งแสดงให้เห็นถึงช่วงที่อากาศหนาวเย็นจัดมากขึ้นอย่างกระทันหันในวันที่ 4-7 ธันวาคม: ตั้งแต่−36 ถึง −38&nbsp;องศาเซลเซียส (−37 ถึง −38&nbsp;องศาฟาเรนไฮต์),แม้ว่าจะไม่ทราบถึงวิธีการหรือความน่าเชื่อถือของการวัดของเขา.<ref>Raus (2009), p. 89.</ref> ตามผลรายงานอุณหภูมิอื่น ๆ ที่แตกต่างกันอย่างมาก.<ref name= "GlantzDecCounter">Glantz, ch.6, subchapter "December counteroffensive", pp. 86ff.</ref><ref name=Moss>Moss (2005), p. 298.</ref> จูคอฟได้บอกว่า สภาพอากาศหนาวเย็นของเดือนพฤศจิกายนยังอยู่เพียงราวประมาณ −7 to −10&nbsp;องศาเซลเซียส (+19 to +14&nbsp;องศาฟาเรนไฮต์).<ref name=Chew33>Chew (1981), p. 33.</ref> บันทึกผลของกรมอุตุนิยมวิทยาของโซเวียตอย่างเป็นทางการได้แสดงให้เห็นถึงจุดที่ต่ำสุด อุณหภูมิต่ำสุดของเดือนธันวาคมถึงอยู่ที่ −28.8&nbsp;องศาเซลเซียส (−20&nbsp;องศาฟาเรนไฮต์ ).<ref name=Chew33/> ตัวเลขเหล่านี้ได้บ่งชี้ถึงสภาพอากาศที่หนาดจัดอย่างรุนแรง และกองทหารเยอรมันถูกแช่แข็งโดยปราศจากเสื้อผ้ากันความหนาว ใช้อุปกรณ์ที่ไม่ได้ถูกออกแบบมาสำหรับอุณหภูมิต่ำเช่นนี้. มีการรายงานถึงผู้ป่วยเป็นโรคหิมะกัดมากกว่า 130,000 รายในท่ามกลางทหารเยอรมัน.<ref name="Jukes32">Jukes, p. 32.</ref> น้ำมันจาระบีที่ถูกแช่เข็งจะถูกลบออกจากปอกกระสุนที่ถูกบรรจุเอาไว้<ref name="Jukes32"/> และยานพาหนะจะให้ความอบอุ่นเป็นเวลาหลายชั่วโมงก่อนใช้งาน. สภาพอากาศหนาวจัดได้เข้าโจมตีกองทหารโซเวียตเช่นเดียวกัน,แต่พวกเขาได้เตรียมความพร้อมมาดี.<ref name=Moss/> เสื้อผ้าได้ถูกเสริมด้วยเครื่องนุ่งห่มและรองเท้าบูทของโซเวียต ซึ่งมักจะอยู่ในสภาพดีกว่าเสื้อผ้าของเยอรมัน เนื่องจากเจ้าของจะใช้เวลาอยู่ที่แนวหน้าน้อยกว่ามาก. ศพได้ถูกทำให้ละลายเพื่อเอาสิ่งของออกมา; ครั้งหนึ่งเมื่อศพจำนวนสองร้อยได้ถูกทิ้งไว้ในสนามรบ "หน่วยคอมมานโดเลื่อย"จะได้รับเสื้อผ้าที่เพียงพอสำหรับทุกคนที่สวมใส่ในกองพัน{{sfn|Stahel|2019|p=317}}
 
การเข้ารุกสู่มอสโกของฝ่ายอักษะได้หยุดลง. [[ไฮนทซ์ กูเดรีอัน]]ได้เขียนบันทึกไว้ในอนุทินของเขาว่า "การรุกสู่มอสโกได้ล้มเหลว&nbsp;... พวกเราประเมินกำลังของข้าศึกต่ำเกินไป เช่นเดียวกับขนาดและสภาพอากาศของพวกเขา. ด้วยความโชคดี, ข้าพเจ้าได้หยุดกองทหารของข้าพเจ้าเอาไว้ในวันที่ 5 ธันวาคม, มิฉะนั้นความพินาศย่อยยับก็ไม่อาจที่จะหลีกเลี่ยงได้."<ref>Guderian, pp. 354–55.</ref>
 
=== อุทกภัยที่เอ่อล้น ===
นักประวัติศาสตร์บางคนได้นำเสนอถึงอุทกภัยที่เอ่อล้นซึ่งมีบทบาทสำคัญในการป้องกันมอสโก.<ref name="KuzeevEcho">Iskander Kuzeev, [http://echo.msk.ru/programs/victory/524051-echo/ "Moscow flood in autumn of 1941"], ''[[Echo of Moscow]]'', 30 June 2008</ref> พวกเขามีเป้าหมายหลักเพื่อทำลายน้ำแข็งและขัดขวางไม่ให้กองทหารและอุปกรณ์ทางทหารขนาดหนักทำการข้ามแม่น้ำโวลก้าและอ่างเก็บน้ำอีวานโคโว.<ref name="ArkhipovLJ">Mikhail Arkhipov, [http://riverpilgrim.livejournal.com/65733.html "Flooding north of Moscow Oblast in 1941"], Private blog, 2&nbsp;October 2007</ref> เริ่มต้นด้วยการระเบิดเขื่อนอ่างเก็บน้ำอิสตรา ในวันที่ 24 พฤศจิกายน ค.ศ. 1941. วันที่ 28 พฤศจิกายน ค.ศ. 1941,น้ำได้ถูกระบายลงสู่แม่น้ำยาโครมาและเซสตราจากอ่างเก็บน้ำหกแห่ง (อ่างเก็บน้ำ {{ill|Khimki reservoir|ru|Химкинское водохранилище|lt=Khimki}}, {{ill|Iksha reservoir|ru|Икшинское водохранилище|lt=Iksha}}, {{ill|Pyalovskoye|ru|Пяловское водохранилище}}, {{ill|Pestovskoye reservoir|ru|Пестовское водохранилище|lt=Pestovskoye}}, {{ill|Pirogovskoye|ru|Пироговское водохранилище}}, และ {{ill|Klyazma reservoir|ru|Клязьминское водохранилище|lt=Klyazma}}), เช่นเดียวกับจากอ่างเก็บน้ำอีวานโคโว.<ref name="KuzeevEcho" /> ทำให้บางหมู่บ้าน 30-40 หมู่บ้านได้จมน้ำเพียงบางส่วน แม้อยู่ในสภาพอากาศหนาวที่รุนแรงในขณะนั้น.<ref name="KuzeevEcho" /><ref name="MoscowVolga">Igor Kuvyrkov, [http://moskva-volga.ru/moskovskij-potop-1941-goda-novye-dannye/ "Moscow flood in 1941: new data"], ''Moscow Volga channel'', 23 February 2015</ref> ทั้งสองเหตุการณ์นี้เป็นผลมาจากคำสั่งที่ 0428 ของกองบัญชาการใหญ่โซเวียต ลงวันที่ 17 พฤศจิากยน ค.ศ. 1941 อุทกภัยที่เอ่อล้นยังได้ถูกใช้เป็นอาวุธที่แหกคอกที่มีผลกระทบโดยตรง.<ref name="CARMD">[https://en.wikipedia.org/w/index.php?title=File:Central_Archive_of_the_Soviet_Ministry_of_Defence_-_Stock_208_inventory_2511_case_1039.pdf&page=112 Operational overview of military activities on Western Front in year 1941], ''Central Archive of the Soviet Ministry of Defence'', Stock 208 inventory 2511 case 1039, p. 112</ref>
 
== การรุกตอบโต้กลับของโซเวียต ==