ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กึนเทอร์ ฟ็อน คลูเกอ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Matable (คุย | ส่วนร่วม)
Matable (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 98:
 
=== แนวรบด้านตะวันตก ===
[[File:Bundesarchiv Bild 101I-721-0352-31A, Frankreich, Besprechung deutscher Offiziere.jpg|thumb|คลูเกอกับเจ้าหน้าที่นายทหารคนอื่น ๆ ของโอบีเวสต์ในฝรั่งเศส มิถุนายน ค.ศ. 1944]]
{{โครงส่วน}}
 
ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1944 คลูเกอได้รับแต่งตั้งให้เป็น[[โอบี เวสต์|โอบีเวสต์]](ผู้บัญชาการแห่งกองทัพเยอรมันในตะวันตก) ภายหลังจากคนก่อนหน้านี้ [[แกร์ท ฟ็อน รุนท์ชเต็ท]] ถูกสั่งปลดเพราะมีความเชื่อว่ากำลังจะพ่ายแพ้สงคราม ด้วยความคิดริเริ่มที่เป็นของฝ่ายสัมพันธมิตร คลูเกอได้พยายามแสดงสิทธิ์อำนาจเหนือร็อมเมิล ซึ่งรับผิดชอบดูแลกองทัพกลุ่มบี และสร้างความมั่นใจให้แก่กองบัญชาการของเขาในการป้องกันนอร์ม็องดี เมื่อถึงวันที่ 12 กรกฏาคม คลูเกอได้ออกตรวจแนวหน้าและได้รับฟังการบรรยายสรุปจากผู้บัญชาการภาคสนาม คลูเกอได้แสดงความคิดเห็นถึงข้อสงสัยของเขาแก่[[อัลเฟรท โยเดิล]] : "ผมไม่ใช่คนที่มองโลกในแง่ร้าย แต่ในความคิดของผม สถานการณ์ก็ไม่น่าจะเลวร้ายลง" ห้าวันต่อมา ร็อมเมิลได้รับบาดเจ็บสาหัส เมื่อเครื่องบินรบของ[[กองทัพอากาศแคนาดา]](RCAF) ระดมยิงใส่รถประจำตำแหน่งของเขา ทำให้รถได้เบี่ยงออกจากถนน คลูเกอได้ช่วงต่อจากเขาในการบังคับบัญชาการแก่กองทัพกลุ่มบี ในขณะที่ยังคงดำรงตำแหน่งอื่น ๆ เอาไว้
 
[[File:Breakout.jpg|thumb|ฝ่ายสัมพันธมิตรได้บุกทะลวงจากหัวหาดนอร์ม็องดี, 1 – 13 สิงหาคม ค.ศ. 1944]]
 
ฝ่ายสัมพันธมิตรได้ขับไล่เยอรมันออกจากเนินเขาที่สำคัญของแซ็ง-โลในเดือนกรกฎาคม ได้จัดตั้งเวทีสำหรับการรุกครั้งใหญ่ในการทัพนอร์ม็องดี การเปิดฉาก[[ปฏิบัติการคอบรา]] เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม เป็นการมุ่งเป้าหมายโดยกองทัพสหรัฐเพื่อใช้ประโยชน์จากกองทัพเยอรมันผู้ยึดครองโดยการโจมตีของบริติชและแคนาดาบริเวณรอบ ๆ เมืองก็องและบรรลุในการบุกทะลวงที่เด็ดขาดในฝรั่งเศสตะวันตกเฉียงเหนือ ในวันที่ 28 กรกฎาคม ปฏิบัติการได้ประสบความสำเร็จในการบุกทะลวงแนวรบเยอรมัน และการต้านทานต่ออเมริกันอย่างไม่เป็นระเบียบ จากการขาดแคลนทรัพยากรที่จะรักษาแนวหน้า หน่วยกองกำลังเยอรมันได้เปิดฉากการโจมตีตอบโต้กลับอย่างสิ้นหวังเพื่อหลบหนีจากการถูกโอบล้อม ในขณะที่คลูเกอได้ส่งการเสริมกำลัง ซึ่งประกอบได้ด้วยองค์ประกอบของกองพลยานเกราะที่ 2 และที่ 116 ไปยังทางตะวันตกโดยคาดหวังว่าจะหลีกเลี่ยงการละลายหายทั้งหมด ในการสู้รบที่ดุเดือด กองกำลังของเขาได้ประสบความสูญเสียอย่างหนักทั้งกำลังคนและรถถถังที่เขาไม่สามารถหามาแทนที่ได้
 
ในวันสุดท้ายของเดือนกรกฎาคม กองทัพเยอรมันในนอร์ม็องดีได้ถูกลดทอนกำลังลงในสภาพที่ย่ำแย่จากการรุกของฝ่ายสัมพันธมิตร ซึ่งคลูเกอไม่อาจรักษาตำแหน่งป้องกันในนอร์ม็องดีได้อีกต่อไป เขาไม่มีโอกาสในการได้รับการเสริมกำลัง ภายหลังจาก[[ปฏิบัติการบากราติออน]] การรุกช่วงฤดูร้อนของโซเวียตซึ่งต่อกรกับกองทัพกลุ่มกลาง และมีชาวเยอรมันเพียงไม่กี่คนที่เชื่อว่าพวกเขาสามารถกอบกู้ชัยชนะไว้ได้ ระหว่างวันที่ 1 และ 4 สิงหาคม กองพลทั้งเจ็ดของกองทัพสหรัฐที่ 3 ภายใต้บัญชาการของพลโท [[จอร์จ เอส. แพตตัน]] ได้เข้ารุกอย่างรวดเร็วผ่านทาง Avranches และข้ามสะพานที่ Pontaubault เข้าสู่บริตทานี
 
ด้วยการที่ไม่เห็นด้วยกับคำแนะนำในการถอนกำลังของคลูเกอ ฮิตเลอร์ได้ออกคำสั่งให้โจมตีตอบโต้กลับใน[[ปฏิบัติการลึททิช]] ระหว่าง Mortain และ Avranches เขาได้เรียกร้องให้หน่วยรบยานเกราะที่มีอยู่ทั้งหมดให้ร่วมมือกันในการโจมตีมุ่งเป้าหมายไปที่การเข้ายึดครองคาบสมุทรคอนเตนตินกลับคืนมา และตัดกองกำลังสหรัฐในบริตทานีจากการจัดหาเสบียง ตามรายงานของเจ้าหน้าที่นายทหารในปฏิบัติการของโอบีเวสต์ Bodo Zimmermann คลูเกอรับรู้ว่า "คงจะดีกว่าที่ได้ปฏิบัติตามคำสั่งนี้ซึ่งอาจหมายถึงการล่มสลายของแนวรบนอร์ม็องดี" แต่ความวิตกกังวลของเขาถูกเพิกเฉย คลูเกอสามารถรวบรวมกองพลยานเกราะที่หมดสภาพได้เพียงสี่กองพล โดยช่วงเวลาของปฏิบัติการได้เริ่มต้นในวันที่ 7 สิงหาคม การรุกได้หยุดชะงักลงในระยะทาง 15 กิโลเมตร(9.3 ไมล์) จาก Avranches สาเหตุหลักมาจากอำนาจเหนือน่านฟ้าของฝ่ายสัมพันธมิตร ทำให้หน่วยกองกำลังเยอรมันนั้นมีความเสี่ยงที่จะถูกดักล้อม
 
การรุกครั้งสุดท้าย [[ปฏิบัติการแทร็กทาเบิล]] ซึ่งถูกเปิดฉากโดยกองทัพแคนาดา เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม ซึ่งร่วมกับการรุกของอเมริกาไปยังทางเหนือช็องบัว เป้าหมายของพวกเขาคือการโอบล้อมและทำลายกองทัพเยอรมันที่ 7 และกองทัพยานเกราะที่ 5 ใกล้กับเมืองฟาเลส์ ในคำสั่งสุดท้ายของเขาในฐานะผู้บัญชาการแห่งโอบีเวสต์ คลูเกอได้ออกคำสั่งให้ล่าถอยอย่างเต็มรูปแบบไปทางตะวันออก เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม{{sfn|Hastings|1984|pp=302–303}} ฝ่ายสัมพันธมิตรไม่ได้เข้ายึดครองฟาเลส์จนกระทั่งวันเดียวกันนั่นเอง โดยทิ้งช่องว่างที่มีระยะทาง 24 กิโลเมตร(17 ไมล์) ระหว่างกองกำลังแคนาดาและอเมริกัน ซึ่งเป็นที่รู้จักกันคือ [[ฟาเลส์พ็อกเก็ต|ช่องว่างฟาเลส์]]{{sfn|D'Este|1983|pp=430–431}} ในวันที่ 22 สิงหาคม ช่องว่างซึ่งถูกปกป้องอย่างหมดรูปโดยเยอรมันเพือให้กองกำลังทหารที่ถูกล้อมสามารถหลบหนีไปได้ จนกระทั่งถูกปิดผนึกอย่างสมบูรณ์ เป็นการยุติของยุทธการที่นอร์ม็องดีด้วยชัยชนะที่เด็ดขาดของฝ่ายสัมพันธมิตร{{sfn|Hastings|1984|pp=304–305; 313}} ในขณะส่วนที่เหลือของกองทัพกลุ่มบีได้หลบหนีไปทางตะวันออก ฝ่ายสัมพันธมิตรได้เข้ารุกโดยปราศจากการต่อต้านผ่านทางดินแดนที่ไม่มีการป้องกัน แม้ว่าชาวเยอรมันจำนวน 100,000 นายที่สามารถหลบหนีไปได้ จำนวน 10,000 นายที่ถูกสังหาร และอีก 40,000–50,000 นายที่ถูกจับกุม{{sfn|D'Este|1983|pp=430–431}}
 
=== แผนลับต่อต้านฮิตเลอร์ ===