ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พญาผายู"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nubbkao (คุย | ส่วนร่วม)
พงศาวดารลาว เป็นการเรียบเรียงโดยมหาสิลา วีรวงส์อีกชั้นหนึ่ง ถือเป็นหลักฐานชั้นรอง ไม่ได้เป็นหลักฐานชั้นต้น และไม่ได้ระบุแหล่งข้อมูลที่เรียบเรียงมา เมื่อตรวจสอบกับพงศาวดารล้านช้าง พงษาวดารเมืองหลวงพระบาง ตำนานนิทานเชียงดงเชียงทองเชียงหวาง ฉบับวัดแสนสุขาราม ลำดับกษัตริย์ล้านช้างตั้งแต่ขุนบูรมถึงเจ้าอานุวง ฉบับหอพิพิธภัณฑ์หลวงพระบาง ก็ไม่พบเรื่องเจ้าฟ้างุ้มมาตีล้านนาเลย
ป้ายระบุ: ย้อนด้วยมือ ถูกย้อนกลับแล้ว
Retso00 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 4:
ตามตำนานสิบห้าราชวงศ์ได้กล่าวถึงการขึ้นครองราชของพญาผายูไว้ว่า "เมื่อนั้นเจ้าพ่อท้าวผายูอายุได้ 28 ปี เสนาอามาตรย์ทังหลาย ก็หื้ออภิเษกหื้อเป็นพระญาในเมืองเชียงใหม่ ในปีดับเล้า ศักราชได้ 707 ตัว "<ref>สมหมาย เปรมจิตต์. (2540). '''ตำนานสิบห้าราชวงศ์ ฉบับชำระ''' . เชียงใหม่ : สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.</ref> เมื่อทรงครองราชย์แล้ว พระองค์ทรงย้ายราชธานีจากนคร[[เชียงแสน]]ที่พระราชบิดาย้ายไป กลับมายังนคร[[เชียงใหม่]]อีกครั้ง
 
ในพงศาวดารลาวกล่าวว่า ช่วงที่พระองค์ทรงประทับอยู่ที่เมืองเชียงแสนได้มีการรุกรานจากทัพ[[ล้านช้าง]]ของ[[พระเจ้าฟ้างุ้ม]] พระองค์ทรงจัดกองทัพออกไปต่อสู้ ทำให้แม่ทัพเมืองเชียงแสนคือ พระยาแสนเมือง ตายคาคอช้าง กองทัพเมืองเชียงแสนจึงแตก กองทัพลาวล้านช้างไล่ตีถึงเมืองแพวเมืองเล็ม เมืองไร่ บ้านยู เมืองยวง เมืองพวง หัวฝาย จนถึงเมืองเชียงแข็ง พญาผายู เห็นทีว่าจะรับศึกไม่ไหว จึงแต่งพระราชสารออกมาไปขออ่อนน้อม โดยยกเมืองเชียงแสนและเชียงใหม่ให้เป็นรัฐส่วย ขอส่งส่วยข้าวเปลือกปีละ ๑,๐๐๐ หาบ พร้อมสิ่งบรรณาการไปถวายเป็นอันมาก เช่นทองคำสองหมื่น เงินสองแสน แหวนกลมลูกหนึ่งชื่อว่ายอดเชียงแสน แก้วไพฑูรย์ลูกหนึ่งชื่อว่ามณีฟ้าร่วง นอกจากนี้ยังได้ส่งบรรณาการอื่น ๆ ไปให้พวกแม่ทัพนายกองของล้านช้างเป็นอันมาก<ref>ศิลา วีระวงศ์, มหา (เรียบเรียง), '''พงศาวดานลาว''', (เวียงจันทน์: สำนักงาน ส.ธรรมภักดี, ๒๔๙๖), หน้า ๓๘-๔๒.</ref> อย่างไรก็ตาม ข้อมูลในการศึกครั้งนี้ไม่ปรากฏเอกสารหลักฐานในฝ่ายล้านนาเลย ในพงศาวดารลาวฉบับเดียวกันระบุว่ากษัตริย์เชียงใหม่ชื่อพระเจ้าสามผยา และกล่าวว่าหมายถึงพญาผายู ซึ่งในความจริงแล้วพระเจ้าสามผยาเป็นชื่อของ[[พญาสามฝั่งแกน]] ซึ่งมีอีกพระนามว่าพญาสามประหญาฝั่งแกน หรือพญาสามประหญาแม่ใน<ref>สรัสวดี อ๋องสกุล ปริวรรต. '''พื้นเมืองเชียงแสน'''. กรุงเทพฯ: อมรินทร์, 2546</ref> เป็นคนละองค์กับพญาผายู อีกทั้งพญาผายูตลอดรัชกาลมิได้ประทับที่เชียงแสน หากแต่มาประทับที่เชียงใหม่ และพงศาวดารลาวไม่ได้ระบุแหล่งที่มาของข้อมูลชั้นต้น ข้อมูลจากพงศาวดารลาวจึงมีความน่าเชื่อถือน้อย
 
พญาผายูทรงเป็นกษัตริย์ที่ทรงอยู่ในทศพิธราชธรรม บ้านเมืองอยู่เย็นเป็นสุข พุทธศาสนารุ่งเรือง จนเสด็จสวรรคต พ.ศ. 1898 เมื่อพระชนมายุได้ 57 พรรษา เสนาอำมาตย์จึงพร้อมใจกันไปอัญเชิญเอาท้าวกือนา พระราชโอรสซึ่งไปครองเมืองเชียงแสนมาเป็นกษัตริย์สืบสันติวงศ์สืบต่อ