ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กึนเทอร์ ฟ็อน คลูเกอ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Matable (คุย | ส่วนร่วม)
Matable (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 34:
 
== ช่วงชีวิตตอนต้นและอาชีพ ==
คลูเกอเกิดเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม ค.ศ. 1882 ใน[[พอซนาน|โพเซิน]] [[ปรัสเซีย]] และปัจจุบันคือทางตะวันตกของ[[โปแลนด์]]{{sfn|Barnett|1989|pp=395–396}} พ่อของเขา แม็กซ์ ฟ็อน คลูเกอ ซึ่งมาจากครอบครัวทหารปรัสเซียชนชั้นสูง ด้วยการเป็นผู้บัญชาการที่มีความโดดเด่น แม็กซ์เป็นนายทหารตำแหน่งยศพลโทใน[[กองทัพบกปรัสเซีย]] ซึ่งประจำการอยู่ใน[[สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง]] เขาได้แต่งงานกับ lise Kühn-Schuhmann{{sfn|Barnett|1989|pp=395–396}} ในปี ค.ศ. 1881 คลูเกอเป็นหนึ่งในลูกชายสองคน ซึ่งมีน้องชายที่ชื่อว่า ว็อล์ฟกัง (ค.ศ. 1892-1976){{sfn|Barnett|1989|pp=395–396}} ว็อล์ฟกังได้ปฏิบัติหน้าที่ในสงครามโลกสองครั้ง ได้รับเลื่อนยศตำแหน่งเป็นพลโท ในปี ค.ศ. 1943, และเป็นผู้บัญชาการแห่งป้อมปราการดันเคิร์ก ระหว่างเดือนกรกฏาคม ถึง เดือนกันยายน ค.ศ. 1944{{sfn|Mitcham|2008|p=201}}
 
ในปี ค.ศ. 1901 คลูเกอได้รับหน้าที่ในกรมทหารปืนใหญ่ภาคสนามที่ 46 แห่งกองทัพบกปรัสเซีย เขาได้ทำหน้าที่ใน[[คณะเสนาธิการใหญ่ (เยอรมนี)|คณะเสนาธิการทั่วไป]] ระหว่างปี ค.ศ. 1910 และ ค.ศ. 1918 ได้รับเลื่อนตำแหน่งยศเป็นร้อยเอกบนแนวรบด้านตะวันตกในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เขายังคงประจำการอยู่ใน[[ไรชส์แวร์]]ภายหลังความขัดแย้ง จนได้เป็นพันเอกในปี ค.ศ. 1930 พลตรีในปี ค.ศ. 1933 และพลโทในอีกหนึ่งปีต่อมา{{sfn|Barnett|1989|pp=395–396}} วันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 1934 คลูเกอได้บัญชาการแก่กองพลที่ 6 ใน[[มึนส์เทอร์]]{{sfn|Barnett|1989|pp=395–396}} คำประกาศ[[แวร์มัคท์]]ของ[[อดอล์ฟ ฮิตเลอร์]]ในปี ค.ศ. 1935 ได้เร่งรัดการกำหนดของเขาให้กับกองพลน้อยที่ 6 และกองทัพกลุ่มที่ 6 ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นกองทัพที่ 4 {{sfn|Barnett|1989|pp=395–396}}
บรรทัด 45:
 
=== การบุกครองโปแลนด์ ===
ฮิตเลอร์ได้อนุมัติเค้าโครงสำหรับ[[การบุกครองโปแลนด์|การรุกรานโปแลนด์]]ของ[[กองบัญชาการใหญ่กองทัพบกเยอรมัน]]กับกองทัพสองกลุ่มในช่วงการบรรยายสรุปทางทหาร เมื่อวันที่ 26-27 เมษายน ค.ศ. 1939{{sfn|Kennedy|2015|p=71}} กองทัพที่ 4 ของคลูเกอได้รับมอบหมายให้เป็นกองกำลังของ[[กองทัพกลุ่มเหนือ]]ภายใต้การบัญชาการโดย[[เฟดอร์ ฟ็อน บ็อค]]{{sfn|Barnett|1989|pp=396–397}} การทัพโปแลนด์ได้เริ่มต้นขึ้น เมื่อวันที่ 1 กันยายน โดยใช้ประโยชน์จากชายแดนที่ยืดยาวติดกับประเทศเยอรมนี กองทัพที่ 4 ได้เคลื่อนทัพไปทางตะวันออกเข้าสู่ฉนวนจากทางตะวันตกของ[[พอเมอเรเนีย]]เพื่อเข้าสมทบกับกองทัพที่ 3 เมืองท่าเรือดันท์ซิชได้ถูกยึดครองภายในวันแรก{{sfn|Barnett|1989|pp=79–80}}
{{โครงส่วน}}
 
ในวันต่อมา ด้วยความวิตกกังวลต่อแนวป้องกันของโปแลนด์ที่แข็งแกร่งตามแนวแม่น้ำเบรดาไม่ปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจน กองทัพที่ 4 ได้ข้ามแม่น้ำ ทำการปิดล้อมกองพลทหารราบที่ 9 กองพลทหารราบที่ 27 และกองพลน้อยทหารม้าพอเมอเรเนียของโปแลนด์ไว้ในฉนวน คลูเกอได้ส่งกองพลยานเกราะที่ 10 จากกองทัพของเขาเองให้ข้ามแม่น้ำวิสตูล่า ไปสมทบกับกองทัพที่ 3 เมื่อวันที่ 3 กันยายน{{sfn|Kennedy|2015|p=82}} กองทัพน้อยยานเกราะที่ 19 ([[ไฮนทซ์ กูเดรีอัน]]) ได้เข้ายึดครองเมืองเบรสท์ เมื่อวันที่ 17 กันยายน ภายหลังสามวันของการสู้รบใน[[ยุทธการที่เบรสท์-ลีตอฟสก์]]{{sfn|Kennedy|2015|p=98}} กองทัพกลุ่มเหนือได้รับแจ้งข่าวว่า การบุกครองโปแลนด์ทางตะวันออกของกองทัพในวันเดียวกัน และได้รับคำสั่งให้อยู่ทางตะวันตกของแม่น้ำ Bug เมืองเบรสท์ได้ถูกส่งไปให้กับกองทัพโซเวียต เมื่อวันที่ 22 กันยายน สำหรับการโอบล้อมต่อกองกำลังโปแลนด์ในช่วงเริ่มต้นของการบุกครอง คลูเกอได้รับการยกย่องจากฮิตเลอร์ว่าเป็นหนึ่งในผู้บัญชาการที่เก่งกาจที่สุดของเขา{{sfn|Barnett|1989|pp=396–397}}
 
=== ยุทธการที่ฝรั่งเศส ===
[[ไฟล์:Bundesarchiv_Bild_146-1973-023-19,_Frankreich,_Günther_v._Kluge,_Adolf_Hitler.jpg|thumb|Kluge with Hitler during a troop visit in France, 1940]]
{{โครงส่วน}}