ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ยงยุทธ ยุทธวงศ์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ย้อนกลับไปรุ่นที่ 9430602 โดย Taweethamด้วยสจห.
ป้ายระบุ: ทำกลับ
InternetArchiveBot (คุย | ส่วนร่วม)
Rescuing 1 sources and tagging 0 as dead.) #IABot (v2.0.8.1
บรรทัด 40:
ยงยุทธ ยุทธวงศ์ เป็นอาจารย์ที่ภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (2512) จนได้รับโปรดเกล้าฯเป็นศาสตราจารย์ (2526)<ref>http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2526/D/164/1.PDF</ref> และศาสตราจารย์ระดับ 11 (2532) ตามลำดับ ทำงานวิจัยหลังปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแอนเจลิส (2516-8) กับ ศาสตราจารย์พอล บอเยอร์ (ผู้ได้รับรางวัลโนเบล) ได้รับเชิญเป็นศาสตราจารย์เยี่ยม ที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานฟรานซิสโก (2533) และ Distinguished Scholar-in-Residence ที่[[มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด]] (2551) งานวิจัยส่วนใหญ่เป็นงานด้านการพัฒนายาต้านมาลาเรีย โดยเฉพาะกลุ่มของยาที่เรียกว่า แอนติโฟเลต และชีวเคมีพื้นฐานของมาลาเรีย
 
นอกจากนั้นแล้วยังเป็นนักวิจัยอาวุโสที่[[ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ]] และที่ปรึกษาอาวุโสของผู้อำนวยการ [[สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ]] (สวทช.) ผลงานที่สำคัญ คือการค้นพบกลไกของการดื้อยาแอนติโฟเลตของเชื้อมาลาเรีย ซึ่งเกิดจากการกลายพันธุ์ของเอ็นไซม์ในเชื้อที่เป็นเป้าหมายของยา ได้ค้นพบโครงสร้างของเอ็นไซม์นี้ ทำให้สามารถออกแบบและสังเคราะห์ยาใหม่ที่มีฤทธิ์ต่อเชื้อที่ดื้อยาเก่าได้ มีผลงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติ 112 เรื่อง เขียนหนังสือและตำรา 11 เรื่อง สิทธิบัตร 3 เรื่อง เป็นผู้มีผลงานเด่นในเรื่องเกี่ยวกับ[[มาลาเรีย]]และนโยบายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้รับรางวัล[[นักวิทยาศาสตร์ดีเด่นของไทย|นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น]] สาขาชีวเคมี เมื่อปี [[พ.ศ. 2527]] เป็นนักวิทยาศาสตร์คนแรกของโลกที่ค้นพบโครงสร้าง 3 มิติของโปรตีนของเชื้อมาลาเรีย ที่มีความสำคัญโดยเป็นเป้าหมายของยาต้านมาลาเรีย<ref>http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9490000026054</ref> และค้นพบการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างและคุณสมบัติหลายประการของเยื่อหุ้มเม็ดเลือดแดงที่ติดเชื้อมาลาเรีย และความเกี่ยวโยงระหว่างการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้กับอาการของโรคนี้ทาง[[โลหิตวิทยา]] ค้นพบ[[เอนไซม์]]ใหม่และวิถีปฏิกิริยาใหม่ของเชื้อมาลาเรีย โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับการสังเคราะห์และใช้สารโฟเลต อันเป็นแนวทางในการพัฒนายาต้านมาลาเรียชนิดใหม่<ref>{{Cite web |url=http://www.nsm.or.th/modules.php?name=News&file=article&sid=16 |title=สำเนาที่เก็บถาวร |access-date=2006-07-23 |archive-date=2007-09-27 |archive-url=https://web.archive.org/web/20070927103043/http://www.nsm.or.th/modules.php?name=News&file=article&sid=16 |url-status=dead }}</ref>
 
ยงยุทธ ยุทธวงศ์ เป็นผู้อำนวยการศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2528 ถึงปี พ.ศ. 2534 และเป็นผู้อำนวยการคนแรกของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2535<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2535/D/088/7478.PDF ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องให้ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยพ้นจากตำแหน่ง (ศาสตราจารย์ ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์)]</ref> ถึงปี พ.ศ. 2541 และภายหลังการ[[รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549]] เขาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ใน[[คณะรัฐมนตรีคณะที่ 56|คณะรัฐมนตรี]]ของ พลเอก[[สุรยุทธ์ จุลานนท์]]<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2549/E/106/01.PDF พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (คณะรัฐมนตรี ชุดที่มี พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี)]</ref> และได้รับแต่งตั้งเป็นรองนายกรัฐมนตรี<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/E/164/1.PDF พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน 32 ราย)]</ref> ในรัฐบาลของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ซึ่งตั้งขึ้นหลังการ[[รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557]] กระทั่งพ้นจากความเป็นรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2558