ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โฌแซ็ฟ ฟอร์ล็องซ์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
InternetArchiveBot (คุย | ส่วนร่วม)
Rescuing 1 sources and tagging 0 as dead.) #IABot (v2.0.8
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 34:
ต่อมา ฟอร์ล็องซ์เดินทางไป[[ประเทศอังกฤษ]] ที่เขาพักอยู่เป็นเวลาสองปี โดยเก็บประสบการณ์ที่[[โรงพยาบาลเซนต์จอร์จ]]ใน[[กรุงลอนดอน]] แล้วได้รับการกำกับโดย[[จอห์น ฮันเตอร์ (ศัลยแพทย์)|จอห์น ฮันเตอร์]] เขายังได้เดินทางไปยัง[[ประเทศเนเธอร์แลนด์]]และ[[เยอรมนี]] ครั้นกลับสู่ประเทศฝรั่งเศส เขาก็ได้เริ่มอาชีพจักษุแพทย์ เขามีความแน่วแน่ในการรักษาโรคตาต่าง ๆ และใช้หน้ากากขี้ผึ้งเป็นตัวอย่างให้เห็น<ref name ="Biographie universelle et portative des contemporains">Rabbe, Sainte-Preuve, ''Biographie universelle et portative des contemporains'', Chez l'éditeur, 1836, p.1721</ref>
 
ในปี ค.ศ. 1797 เขาฝึก[[การผ่าตัดตา]]ที่[[บ้านพักคนชรา]]ใน[[ปารีส]] ต่อหน้าคณะกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งจากสถาบัน เช่นเดียวกับสมาชิกหลายคนของรัฐบาล รวมถึงนักวิชาการฝรั่งเศสและต่างประเทศ ในปี ค.ศ. 1798 เขาได้เป็นศัลยแพทย์ที่[[ออแตลเดแซ็งวาลีด]] และ[[ออแตล-ดีเยอเดอปารี|ออแตล-ดีเยอ]] ของปารีส ซึ่งเขาได้ทำการรักษาแบบอินเตอร์เวนชันที่น่าทึ่งจำนวนมาก
 
ฟอร์ล็องซ์ได้รักษาทหารของกองทัพของนโปเลียนที่กลับมาจาก[[การทัพของฝรั่งเศสในอียิปต์และซีเรีย|อียิปต์]] ซึ่งได้รับผลกระทบจากโรคทางตาที่รุนแรง เขารักษาบุคคลที่มีชื่อเสียง เช่น [[ฌ็อง-เอเตียน-มารี ปอร์ตาลีส์]] [[รัฐมนตรีว่าการกระทรวงนมัสการ (ฝรั่งเศส)|รัฐมนตรีว่าการกระทรวงนมัสการ]] และกวี [[ปองซ์ เดอนี อีกูชา เลอเบริง|ปองซ์ เดอนี เลอเบริง]] ได้รับการนำต้อกระจกที่มีอยู่เป็นเวลาสิบสองปีจากดวงตาข้างหนึ่งออก เลอเบริงจึงอุทิศต่อเขาในบทกวีชื่อ''เลคงเกสเดอโลมซูร์ลานาจูร์'' (''Les conquêtes de l’homme sur la nature'')<ref>''O lyre, ne sois pas ingrate !<br>Qu’un doux nom dans nos vers éclate<br>Brillant comme l’astre des cieux !<br>Je revois sa clarté première;<br>Chante l’art qui rend la lumière;<br>Forlenze a dévoilé mes yeux.<br>''Joseph Fr. Michaud, Louis Gabriel Michaud, ''Biographie universelle, ancienne et moderne'', Michaud frères, 1838, p.263</ref> [[จักรพรรดินโปเลียนที่ 1]] มีพระราชกฤษฎีกา แต่งตั้งให้เขาเป็น "ศัลยแพทย์ดวงตาแห่งลีเซ, บ้านพักรับร้องพลเรือน และสถาบันการกุศลทั้งหมดแห่งหน่วยงานต่าง ๆ ของจักรวรรดิ"<ref>Jan Ellen Goldstein, ''Console and Classify. The French Psychiatric Profession in the Nineteenth Century'', Chicago Press, 2002, p. 63</ref> ดังนั้น ฟอร์ล็องซ์จึงได้รับการส่งไปยังจังหวัดฝรั่งเศสเพื่อรักษาโรคตา
 
การงานของเขาขยายไปถึงอังกฤษและ[[อิตาลี]] ซึ่งเขาทำการผ่าตัดฟรีในเมืองต่าง ๆ เช่น ตูริน และโรม ในกรุงโรม เขารักษาพระคาร์ดินัล [[จูเซปเป มารีอา โดรีอา ปัมปีลี|โดรีอา]] และได้รับเกียรติต่อสาธารณชนโดย[[คาโรลีน แห่งบูร์บง-ซิซิลี (ค.ศ. 1798–1870)|คาโรลีน แห่งบูร์บง]] ดยุกแห่งแบร์รี ส่วนต้นฉบับของเขาอย่าง''ข้อควรพิจารณาสำหรับการผ่าตัดของม่านตาเทียม'' (ค.ศ. 1805) ถือเป็นหนึ่งในงานทางการแพทย์ที่สำคัญที่สุดของยุคสมัย<ref>Salvatore De Renzi, ''Storia della medicina Italiana, Volume 5'', Filiatre-Sebezio, 1848, p.430</ref> ฟอร์ล็องซ์เสียชีวิตเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม ค.ศ. 1833 โดยเป็นโรค[[การตกเลือดในสมอง]] ที่ "กาเฟเดอฟอย" ในกรุงปารีส ซึ่งเขาใช้เวลาช่วงเย็นที่นั่นบ่อยครั้ง
 
== เกียรติประวัติ ==
* [[ไฟล์:Legion Honneur Chevalier ribbon.svg|80px|link=Legion of Honour]] [[เครื่องอิสริยาภรณ์เลฌียงดอเนอร์]], อัศวิน<ref name ="Biographie universelle et portative des contemporains"/>
* [[ไฟล์:UK Order St-Michael St-George ribbon.svg|80px|link=Order of St Michael and St George]] [[เครื่องราชอิสริยาภรณ์เซนต์ไมเคิลและเซนต์จอร์จ]], อัศวินกิตติมศักดิ์<ref>''Almanach royal pour l'an MDCCCXXX'', Testu et cie, 1830, p.283</ref>
 
== อ้างอิง ==