ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระราชวังโบราณ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Mda (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
== พระราชวังโบราณมีดังนี้:ของไทย ==
 
* [[พระราชวังโบราณ อยุธยา]]
พระราชวังโบราณ อยุธยา คือ พระราชวังหลวง ใน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
 
เนื้อหา [แสดง]
1 ประวัติ
2 พื้นที่
2.1 เขตพระราชฐานชั้นนอก
2.2 เขตพระราชฐานชั้นกลาง
2.3 เขตพระราชฐานชั้นใน
2.4 สวนไพชยนต์เบญจรัตน์
2.5 สวนองุ่น
2.6 วัดพระศรีสรรเพชญ์
3 อ้างอิง
 
 
[แก้] ประวัติ
เมื่อ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง)ทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยา ขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๑๘๙๓ พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้ สร้างพระที่นั่ง ๔ องค์ ได้แก่ พระที่นั่งไพฑูรย์มหาปราสาท พระที่นั่งไพชยนต์มหาปราสาท และ พระที่นั่งไอศวรรย์มหาปราสาท ในเขตวัดพระศรีสรรเพชญ์ในปัจจุบัน และ ยังโปรดเกล้าฯให้สร้าง พระที่นั่งมังคลาภิเษกมหาปราสาท และ พระที่นั่งตรีมุขด้วย พระราชวังระยะแรกนี้ เป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ ๗ พระองค์ เป็นเวลา ๙๘ ปี
 
ครั้นเมื่อสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติเมื่อ พ.ศ. ๑๙๙๑ ทรงยกบริเวณพระราชวังเดิม ได้แก่ พระที่นั่ง ๓ องค์นั้น ให้เป็นพุทธาวาส หรือ ให้เป็นวัดพระศรีสรรเพชญ์ แล้วจึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายพระราชวังมาสร้างใหม่ทางด้านเหนือของพระราชวังเดิม ใกล้แม่น้ำลพบุรี คูเมืองด้านเหนือ โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระที่นั่งเบญจรัตนมหาปราสาท และ พระที่นั่งสรรเพชญ์มหาปราสาท เป็นพระที่นั่ง ๒ องค์แรก
 
มีพระที่นั่งอีกองค์หนึ่งซึ่งสร้างในเขตนี้ แต่ไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดว่าสร้างในรัชสมัยใด ก็คือ พระที่นั่งมังคลาภิเษก หรือ พระที่นั่งวิหารสมเด็จ พระมหาปราสาท ๓ องค์นี้ เป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ ๑๖ พระองค์ เป็นเวลา ๑๘๒ ปี
 
ในสมัยของสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ทรงขยายให้วังหลวงกล้างขวางมากขึ้นกว่าเดิม โดยให้เขตพระราชวังไปเชื่อมติดกับ วัดพระศรีสรรเพชญ์ แล้วก็ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระมหาปราสาทเพิ่มอีก ๒ องค์ คือพระที่นั่งสุริยาศน์อัมรินทร์ และ พระที่นั่งจักรวรรดิ์ไพชยนต์
 
ต่อมาในรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงสร้างพระที่นั่งบรรยงก์รัตนาสน์ ขึ้นเป็นที่ประทับอีกองค์หนึ่ง ดังนั้นวังหลวงสมัยอยุธยาตอนปลายมี พระมหาปราสาทรวมทั้งสิ้น ๖ องค์ เป็นที่ประทับของ พระมหากษัตริย์ ๑๐ พระองค์ เป็นเวลา ๑๓๗ ปี จนเสียกรุงศรีอยุธยาเมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๐
 
พระบรมมหาราชวังในกรุงเทพมหานครนั้น ได้สร้างเลียนแบบพระบรมมหาราชวังในกรุงศรีอยุธยา
 
 
== พระราชวังโบราณของจีน ==
* [[นครต้องห้าม]]
พระราชวังต้องห้าม (จีน: 紫禁城; พินอิน: Zǐjìn Chéng จื่อจิ้นเฉิง; อังกฤษ: Forbidden City) จากชื่อภาษาจีน แปลตามตัวอักษรได้ว่า "เมืองต้องห้ามสีม่วง" พระราชวังต้องห้ามตั้งอยู่ใจกลางของกรุงปักกิ่ง เมืองหลวงของประเทศจีน ( 39°54′56″N, 116°23′27″E) เป็นพระราชวังหลวงมาตั้งแต่สมัยกลางราชวงศ์หมิงจนถึงราชวงศ์ชิง พระราชวังต้องห้ามยังรู้จักกันในนาม พิพิธภัณฑ์พระราชวัง (ภาษาจีน: 故宫博物院; พินอิน: Gùgōng Bówùyùan) ครอบคลุมพื้นที่ 720,000 ตารางเมตร อาคาร 800 หลัง มีห้องทั้งหมด 9,999 ห้อง [1] และมีพระที่นั่ง 75 องค์ ใช้ระยะก่อสร้างประมาณ 14 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 1949 จนถึง พ.ศ. 1963
 
พระราชวังต้องห้ามตั้งอยู่ทางทิศเหนือของจตุรัสเทียนอันเหมิน นักท่องเที่ยวสามารถเข้าสู่พระราชวังต้องห้ามได้ทางจตุรัสนี้ ผ่านประตูเทียนอันเหมิน บริเวณรอบจตุรัสเทียนอันเหมิน เรียกว่า อาณาเขตหลวง โดยมีสิ่งก่อสร้างสำคัญอยู่โดยรอบ เช่น มหาศาลาประชาคม หอพระสมุด ห้องหับต่างๆอีกมาก รวมทั้งยังมีสวน ลานกว้าง ทางเดินเชื่อมกันโดยตลอด ในอดีตภายในเป็นที่ประทับของจักรพรรดิ โดยมีสนมกำนัล ขันที และข้าหลวงรับใช้ ซึ่งคนเหล่านี้ต้องอาศัยอยู่ในนครต้องห้ามตลอดชีวิต เพื่อความสำราญของจักรพรรดิ ในวังจะมีวิเสท 6,000 คน ประกอบพระกระยาหาร มีสนมกำนัล 9,000 นาง ซึ่งมีขันที 70,000 คน คอยดูแลให้ มีคำเล่าลือกันว่า พระนางซูสีไทเฮา เวลาเสวยก็จะมีพระกระยาหารถึง 148 ชุด และทรงส่งขันทีไปเสาะหาชายหนุ่มซึ่งเข้าวังแล้วจะไม่มีผู้ใดพบเห็นอีกเลย
 
แม้ว่าประเทศจีนจะไม่มีสถาบันพระมหากษัตริย์แล้ว พระราชวังต้องห้ามก็ยังคงเป็นสัญลักษณ์ของประเทศจีน และภาพประตูเทียนอันเหมินก็ยังปรากฏอยู่ในตราประจำสาธารณรัฐประชาชนจีนอีกด้วย นอกจากนี้ พระราชวังต้องห้ามยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ซึ่งไม่นานมานี้ ทางรัฐบาลจีนได้มีนโยบายจำกัดปริมาณนักท่องเที่ยวเพื่อจะอนุรักษ์สภาพของอาคารและสวนหย่อมไว้
 
ยูเนสโกได้ประกาศให้พระราชวังต้องห้ามร่วมกับพระราชวังเฉิ่นหยางเป็นหนึ่งในมรดกโลกในนาม พระราชวังหลวงแห่งราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิงในปักกิ่งและเฉิ่นหยาง เมื่อ พ.ศ. 2530 (ค.ศ. 1987) โดยเป็นมรดกโลกที่เป็นสิ่งก่อสร้างด้วยไม้โบราณที่ใหญ่ที่สุดในโลก
 
{{แก้กำกวม}}