ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Phudis Sornsetthee (คุย | ส่วนร่วม)
เปลี่ยนให้เป็นภาพปัจจุบัน แสดงถึงความปัจจุบันของพระองค์ก่อนสวรรคต
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
InternetArchiveBot (คุย | ส่วนร่วม)
Rescuing 5 sources and tagging 0 as dead.) #IABot (v2.0.8.1
บรรทัด 51:
=== การขึ้นทรงราชย์ ===
[[ไฟล์:Ananda Mahidol portrait photograph.jpg|thumb|left|พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ทรงฉายพระบรมฉายาลักษณ์ในฉลองพระองค์เต็มยศ เมื่อเสด็จนิวัตพระนครครั้งที่ 1 พ.ศ. 2481-2482]]
วันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2478 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสละราชสมบัติ และมิได้ทรงสมมติเจ้านายพระองค์ใดพระองค์หนึ่งเป็นรัชทายาท ดังนั้น คณะรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรจึงได้อัญเชิญเสด็จพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดลที่มีพระชันษาเพียง 9 ปี ซึ่งเป็นเจ้านายเชื้อพระบรมวงศ์พระองค์ที่ 1 ในลำดับพระราชสันตติวงศ์ตาม[[กฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พระพุทธศักราช 2467]] ขึ้นทรงราชย์เป็น'''สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล''' สืบพระราชสันตติวงศ์ต่อไปตั้งแต่วันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2478<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2477/A/1330.PDF ประกาศ สภาผู้แทนราษฎรรับทราบในการที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสละราชสมบัติและลงมติเห็นชอบในการอัญเชิญ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล ขึ้นทรงราชย์], เล่ม 51, ตอน 0ก, 7 มีนาคม พ.ศ. 2477, หน้า 1330 </ref> และได้รับการเฉลิมพระนามใหม่เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2478 ว่า '''สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล'''<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2477/A/1407.PDF ประกาศ เรื่อง เฉลิมพระนามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว], เล่ม 51, ตอน 0ก, 25 มีนาคม พ.ศ. 2477, หน้า 1407 </ref><ref>คำว่า "พระบาท" นั้น ใช้นำหน้า "สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว" ที่ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกแล้ว จาก [http://story.thaimail.com/5may/5_2.html วันฉัตรมงคล เว็บไซต์ Thaimail] {{Webarchive|url=https://web.archive.org/web/20070811012615/http://story.thaimail.com/5may/5_2.html |date=2007-08-11 }}</ref>
 
ในขณะนั้นพระองค์ทรงมีพระชนมพรรษาเพียง 8 พรรษา และยังทรงประทับอยู่ ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ จึงทำให้ต้องมีการแต่งตั้ง[[ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์#ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในรัชกาลที่ 8|ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์]]เพื่อบริหารราชการแผ่นดินแทนจนกว่าจะทรงบรรลุนิติภาวะ ได้แก่ [[พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุวัตน์จาตุรนต์]] [[พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา]] และ [[เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม)]] <ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2477/A/1332.PDF ประกาศพิเศษ เรื่อง ตั้งคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์], เล่ม 51, ตอน 0ก, 7 มีนาคม พ.ศ. 2477, หน้า 1332 </ref>
บรรทัด 117:
ในปี พ.ศ. 2481 คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ได้ให้[[สำนักพระราชวัง]]จัดสร้างพระราชลัญจกรประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลขึ้น ซึ่ง[[เจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี (หม่อมราชวงศ์ปุ้ม มาลากุล)]] สมุหพระราชวัง ได้ปรับปรุงพระราชลัญจกรรูป[[พระโพธิสัตว์]]สวนดุสิต ที่เคยใช้ในรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] มาใช้เป็นพระราชลัญจกรประจำพระองค์ โดยการสร้างพระราชลัญจกรนั้น ใช้แนวคิดจากพระบรมนามาภิไธยก่อนทรงราชย์ นั่นคือ "อานันทมหิดล" ซึ่งหมายถึง เป็นที่ยินดีแก่แผ่นดิน ดังนั้น จึงได้ใช้รูปพระโพธิสัตว์ ซึ่งมีหมายความเดียวกันว่า เป็นความยินดีและเป็นเดชยิ่งในพื้นพิภพ มาเป็นพระราชลัญจกรประจำพระองค์
 
พระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ 8 นั้น เป็นตรางา ลักษณะกลมศูนย์กลางกว้าง 7 เซนติเมตร มีรูปพระโพธิสัตว์ประทับอยู่เหนือบัลลังก์ดอกบัว พระบาทขวาห้อยอยู่เหนือบัวบาน ซึ่งหมายถึง แผ่นดิน พระหัตถ์ซ้ายถือดอกบัวตูม มีเรือนแก้วอยู่ด้านหลังแถบรัศมี ซึ่งมีข้อแตกต่างจากพระราชลัญจกรที่ใช้ในรัชกาลที่ 5 คือ มีการเพิ่มรูปฉัตรตั้งไว้ข้างแท่นที่ประทับของพระโพธิสัตว์ <ref>[http://se-ed.net/kingrama8/logo.html พระราชลัญจกร รัชกาลที่ 8] {{Webarchive|url=https://web.archive.org/web/20070927215711/http://se-ed.net/kingrama8/logo.html |date=2007-09-27 }} จากเว็บไซต์ Debsirin History Networks </ref>
 
== พระราชกรณียกิจ ==
บรรทัด 145:
 
; พระบรมราชานุสาวรีย์ ณ วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร
วัดสุทัศนเทพวรารามถือเป็น[[วัดประจำรัชกาล]]ของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร เนื่องจากเป็นสถานที่ที่ประดิษฐานพระบรมราชสรีรางคารของพระองค์ ดังนั้น จึงมีการจัดสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ขึ้น ณ บริเวณลานประทักษิณ ชั้นล่างมุมทิศตะวันตกเฉียงเหนือ พระวิหารหลวง พระบรมรูปหล่อด้วยสำริด ขนาดเท่าพระองค์จริง ทรงฉลองพระองค์ชุดจอมทัพ ประทับยืน ประดิษฐานบนแท่นหินอ่อนยกพื้นสูง มีแผ่นทองเหลืองจารึกเกี่ยวกับกำหนดการสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ เบื้องหลังเป็นแผ่นหินอ่อนวงโค้ง ประดิษฐาน[[พระปรมาภิไธย#พระปรมาภิไธยย่อ|พระปรมาภิไธยย่อ]] "อปร" ภายใต้[[พระมหาพิชัยมงกุฎ]]<ref>[http://www.watsuthat.thai2learn.com/rama8.php พระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ 8] {{Webarchive|url=https://web.archive.org/web/20070929044053/http://www.watsuthat.thai2learn.com/rama8.php |date=2007-09-29 }} จาก เว็บไซต์วัดสุทัศนเทพวราราม</ref>
 
; พระบรมราชานุสาวรีย์ ณ โรงเรียนเทพศิรินทร์
บรรทัด 275:
 
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
* [http://se-ed.net/kingrama8/ เฉลิมพระเกียรติยศพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ] {{Webarchive|url=https://web.archive.org/web/20051207043328/http://se-ed.net/kingrama8/ |date=2005-12-07 }} จาก Debsirin History Networks
* [http://kanchanapisek.or.th/kp11/index.th.html มูลนิธิอานันทมหิดล]
* [http://www.anandamahidolfoundation.or.th/ ชมรมผู้รับพระราชทานทุนอานันทมหิดล] {{Webarchive|url=https://web.archive.org/web/20080214151859/http://www.anandamahidolfoundation.or.th/ |date=2008-02-14 }}
 
{{เริ่มกล่อง}}