ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ภาษาไทยถิ่นใต้"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Somsak Ung (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 456:
 
== ภาษาทองแดง ==
'''ภาษาทองแดง''' ใน ''พจนานุกรมภาษาถิ่นใต้ พุทธศักราช 2525'' ให้ความหมายไว้ว่า "การพูดภาษากลางปนภาษาใต้หรือพูดเพี้ยน" ซึ่งเกิดขึ้นได้กับทุกคนที่ใช้ภาษาไทยผิดเพี้ยนไปจากมาตรฐานกำหนด ไม่ได้จำกัดว่าเป็นคนภาคใดหรือจังหวัดใด ๆ<ref name="ทองแดง">{{cite web |url= http://kb.tsu.ac.th/jspui/bitstream/123456789/940/1/Article%204.pdf |title= ลักษณะทางภาษาทองแดงของชาวไทยภาคใต้ |author= ปรีชา ทิชินพงศ์ |date= |work= มหาวิทยาลัยทักษิณ |publisher=|accessdate= 24 กันยายน 2564}}</ref> อย่างเช่น เมื่อผู้ใช้ภาษาไทยถิ่นใต้เป็นภาษาแม่ไปพูดภาษาไทยมาตรฐาน ก็ย่อมจะนำลักษณะบางประการของภาษาถิ่นของตนปะปนเข้ากับภาษาไทยมาตรฐานจนผิดเพี้ยน เรียกว่า "ทองแดง"<ref name="ทองแดง"/> และ[[ชาวไทยเชื้อสายมลายู]]ในสามจังหวัดชายแดนใต้ที่พูดภาษาไทยมาตรฐานไม่ชัด เพราะติดสำเนียงมลายู ก็จะถูกเรียกว่า "ทองแดง" เช่นกัน<ref>{{cite book | author = นิยามาล อาแย | title = ตัวตนคนมลายูมุสลิมในเขตเมืองยะลา | url = https://peaceresourcecollaborative.org/wp-content/uploads/2019/10/314258.pdf | publisher = สาขาวิชาพัฒนามนุษย์และสังคม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ | location = | year = 2552 | page = 124 }}</ref>
 
แต่เดิมชาวไทยในแถบภาคใต้จะไม่นิยมใช้ภาษาไทยมาตรฐาน เพราะเป็นภาษาของเจ้านายหรือราชสำนัก หากชาวใต้คนใดพูดภาษาไทยกลาง ก็จะถูกคนใต้ด้วยกันมองด้วยเชิงตำหนิว่า "ลืมถิ่น" หรือ "ดัดจริต" เพราะแม้จะพูดภาษาไทยมาตรฐานแต่ยังคงติดสำเนียงใต้อยู่ จึงถูกล้อเลียนว่า "พูดทองแดง"<ref name="ทองแดง"/>
'''ภาษาทองแดง''' เดิมเป็นอีกชื่อของภาษาไทยถิ่นใต้ เป็นชื่อที่แปลมาจากชื่อเดิมคือ "ภาษาตามโพร" สันนิษฐานว่า การตั้งชื่อนี้มาจากชื่อของ[[อาณาจักรตามพรลิงก์]] (ตาม-พระ-ลิง) {{ต้องการอ้างอิงตรงนี้}} ซึ่งคำว่า ตามพร (ะ) - แปลว่าทองแดง ({{lang-sa|Tāmbra}} ''ตามพร'', {{lang-pi|Tāmba}} ''ตามพ'') แต่ในปัจจุบัน คำว่าภาษาทองแดง จะหมายถึง ผู้ที่มีภาษาแม่เป็นภาษาไทยถิ่นใต้ เมื่อพูดภาษาไทยมาตรฐานแล้ว สำเนียงจะไม่ชัด กล่าวคือ มีสำเนียงของภาษาไทยถิ่นใต้ หรือใช้คำศัพท์ที่มีอยู่เฉพาะในภาษาไทยถิ่นใต้ มาปะปนอยู่กับภาษาไทยมาตรฐาน ชาวใต้จะเรียกอาการนี้ว่า แหลงทองแดง (ทองแดงหล่น) ตัวอย่างเช่น การออกเสียงอักษร ฮ. แทนเสียง ง., การออกเสียง ควฺ, ขวฺ แทนเสียง ฟ., ฝ. (การจับผิดว่า ชาวใต้คนหนึ่งคนใด "แหลงทองแดง" หรือพูดไม่ได้สำเนียงมาตรฐาน ชาวใต้ถือเป็นการดูแคลน จะอนุญาตให้จับผิดได้ เฉพาะชาวใต้ด้วยกัน หรือเป็นคนที่สนิทสนมเท่านั้น) ปัจจุบันผู้ที่พูดภาษาใต้ไม่ชัด หรือออกสำเนียงใต้ไม่ชัดเจนก็เรียกว่าแหลงทองแดงเช่นกัน
 
'''แหลงข้าหลวง''' คำนี้เป็นภาษาไทยใต้สำเนียงสงขลา โดยทั่วไปใช้สำหรับดูถูก[[ไทยเชื้อสายจีน|คนไทยเชื้อสายจีนในภาคใต้]]ซึ่งภาษาไทยสำเนียงกรุงเทพเป็นสำเนียงถิ่น (บ้างอาจจะใช้เรียกผู้ที่ใช้ภาษาไทยกลางแท้ เช่นภาษาไทยมาตรฐานและสำเนียงสุพรรณบุรีด้วย), โดยเฉพาะเมื่อคนนั้นมีความพยายามที่จะพูดภาษาไทยใต้ และพูดไม่ได้สำเนียงใต้ โดยเฉพาะพลาดพลั้งในการใช้อนุประโยค ที่เป็นแบบ[[ภาษาแต้จิ๋ว|ภาษาหมิ่นใต้]]{{ต้องการอ้างอิงตรงนี้}}
 
== อ้างอิง ==