ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รัฐประหารในประเทศสยาม มิถุนายน พ.ศ. 2476"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Miwako Sato (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: เครื่องมือแก้ไขต้นฉบับปี 2560
Pp1011 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 8:
เมื่อรัฐบาลสิ้นสุด ผู้สนับสนุนรัฐบาลชุดที่แล้ว เช่น พระยาทรงสุรเดช ถูกกีดกันออกจากแวดวงการเมือง ด้านพระยามโนปกรณ์นิติธาดาต้องเดินทางไปที่[[ปีนัง]] พระยาพหลพลพยุหเสนามอบหมายให้[[เจ้าพระยาพิชัยญาติ]] ประธานสภาผู้แทนราษฎร นำความกราบบังคมทูล[[พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ณ [[วังไกลกังวล]] [[อำเภอหัวหิน|หัวหิน]] เพื่อโปรดเกล้าฯ ให้เปิดประชุมสภาฯ พร้อมถวายรายงานเรื่องการยึดอำนาจ
 
การรัฐประหารในครั้งนี้ มีบันทึกของพระยาพหลพลพยุหเสนาไว้ว่า ง่ายดายกว่าเมื่อ[[การปฏิวัติสยาม|ครั้งปฏิวัติวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475]] มาก ในขณะที่เรื่องของการบีบบังคับ[[ปรีดี พนมยงค์|นายปรีดี]]ไปยังประเทศฝรั่งเศสนั้น มีบันทึกไว้ว่า หลวงพิบูลสงคราม และพระยาพหลพลพยุหเสนาได้กระซิบกับทางนายปรีดีโดยผ่านทาง[[หลวงอดุลเดชจรัส (อดุล อดุลเดชจรัส)|หลวงอดุลเดชจรัส]] ว่าให้เดินทางออกไปก่อน และ "เพื่อนฝูงจะแก้ไขให้กลับมาภายหลัง" ซึ่งการรัฐประหารครั้งนี้ ผู้ก่อการต้องกระทำ หาไม่แล้ว อาจจะถูกจัดการหมดทั้งคณะจากกลุ่มที่นิยมระบบการปกครองแบบเก่าก็ได้<ref>หน้า 17, ''อำนาจ ๒'' โดย [[รุ่งมณี เมฆโสภณ]] (มีนาคม พ.ศ. 2555) ISBN 978-616-536-079-1</ref><ref>สิริรัตน์ เรืองวงษ์วาร, ''ประวัติศาสตร์การเมืองไทย ตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 จนถึงปัจจุบัน'', สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง, พ.ศ. 2539, หน้า 86-87</ref>
 
== ดูเพิ่ม ==