ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ช่อง 7HD"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Chumplung (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
InternetArchiveBot (คุย | ส่วนร่วม)
Rescuing 1 sources and tagging 0 as dead.) #IABot (v2.0.8.1
บรรทัด 65:
ในปี พ.ศ. 2510 จอมพล[[ประภาส จารุเสถียร]] ซึ่งดำรงตำแหน่ง[[รายนามผู้บัญชาการทหารบกไทย|ผู้บัญชาการทหารบก]]ในขณะนั้น มีนโยบายให้คณะกรรมการควบคุมวิทยุและโทรทัศน์ของ[[กองทัพบกไทย|กองทัพบก]] ร่วมกับบีบีทีวี ดำเนินการติดต่อนำเครื่องส่งโทรทัศน์สี ของบริษัท[[ฟิลิปส์]]แห่ง[[ฮอลแลนด์]] ระบบแพร่ภาพ 625 เส้น 25 อัตราภาพ มาทดลองใช้งาน โดยบันทึกภาพการประกวด[[นางสาวไทย]] ภายในงานวชิราวุธานุสรณ์ ที่[[พระราชวังสราญรมย์]] ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน ปีเดียวกัน มาถ่ายทอดผ่านคลื่นวิทยุ ใน[[วีเอชเอฟ|ย่านความถี่สูงมาก]] (VHF) ทางช่องสัญญาณที่ 7 และออกอากาศคู่ขนานด้วยระบบแพร่ภาพขาวดำ 525 เส้น 30 อัตราภาพ ทางช่องสัญญาณที่ 9<ref name="tv_research_1969">ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2512/D/010/241.PDF ประกาศสำนักงานสถิติแห่งชาติ การสำรวจเกี่ยวกับการรับวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ. 2511], เล่ม 86 ตอน 10 ง หน้า 241, 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2512. (ในหน้า 25 ของเอกสารตามลิงก์ ระบุตาราง[[รายชื่อสถานีโทรทัศน์ในประเทศไทย]] พร้อมช่องสัญญาณที่ใช้ในขณะนั้น)</ref> ในอีก 2 วันถัดมา คือวันที่ 27 พฤศจิกายน หลังจากนั้น ก็ยุติการแพร่ภาพชั่วคราว เพื่อดำเนินการในทางเทคนิค และเมื่อวันศุกร์ที่ 1 ธันวาคม มีการประกอบพิธีสถาปนาบีบีทีวี และเริ่มออกอากาศช่อง 7 สีอย่างเป็นทางการ โดยในปีต่อมาคือ พ.ศ. 2511 คณะกรรมการฯ ทำสัญญาที่กำหนดให้บีบีทีวีจัดสร้างอาคารที่ตั้งช่อง 7 สี ภายในบริเวณที่ทำการ[[สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก|สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5]] (ททบ.5) ย่าน[[สนามเป้า]] พร้อมติดตั้งเครื่องส่งโทรทัศน์สีกำลังออกอากาศ 500 วัตต์ เพื่อมอบทั้งหมดให้แก่ ททบ.5 แล้วจึงทำสัญญาเช่าช่วงจาก ททบ. เพื่อบริหารงานอีกทอดหนึ่งเป็นระยะเวลา 10 ปี โดยใน 2 ปีแรกใช้บุคลากรและห้องส่ง ร่วมกับ ททบ. พร้อมทั้งนำ[[รถประจำทาง]]เก่าสามคัน เข้าไปจอดไว้ภายในที่ทำการ ททบ.5 สนามเป้า แล้วรื้อที่นั่งออกทั้งหมด เพื่อใช้ติดตั้งอุปกรณ์ต่าง ๆ ไปพลางก่อน
 
เมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2512 บีบีทีวีจัดหาเครื่องส่งโทรทัศน์สีกำลังออกอากาศ 10 กิโลวัตต์ พร้อมเสาส่งสูง 570 ฟุต และเครื่องส่ง[[วิทยุกระจายเสียง]] ระบบเอฟเอ็ม กำลังส่ง 1 กิโลวัตต์ เพื่อส่งมอบให้แก่ ททบ. ก่อนที่เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2513 บีบีทีวีจะย้ายเข้าใช้อาคารที่ทำการถาวรของช่อง 7 สี บริเวณหลัง[[สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร)]] แห่งเดิม (ปัจจุบันเป็นอาคารศูนย์ซ่อมบำรุง[[รถไฟฟ้าบีทีเอส]] และลานจอดรถสำหรับผู้ใช้บริการ[[รถไฟฟ้ามหานคร]] [[สถานีสวนจตุจักร]])<ref name="profile1">[http://www.ch7.com/aboutus/default.aspx?CategoryId=44 ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7] จากเว็บไซต์ช่อง 7 สี</ref> และเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 เวลา 15:30 น. [[พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร]] เสด็จพระราชดำเนินไปยังช่อง 7 สี ทอดพระเนตรการแข่งขัน[[มวยไทย]]และ[[มวยสากล]] โดยเสด็จพระราชกุศล สมทบทุนนักมวยไทย ใน[[มูลนิธิอานันทมหิดล]] พร้อมทั้งพระราชทานถ้วยรางวัล แก่นักกีฬามวยไทยและมวยสากลยอดเยี่ยม<ref>[http://www.ohm.go.th/documents/BR2515004/pdf/T0003_0002.pdf พระราชกรณียกิจ ประจำวันที่ 5, 6 และ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514] {{Webarchive|url=https://web.archive.org/web/20151106210010/http://www.ohm.go.th/documents/BR2515004/pdf/T0003_0002.pdf |date=2015-11-06 }}, [[สำนักราชเลขาธิการ]], [[ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2515|2515]].</ref>
 
ต่อมาในปี พ.ศ. 2521 ททบ. ร่วมกับบีบีทีวี เช่าช่องสัญญาณ[[ดาวเทียม]]ปาลาปาของ[[อินโดนีเซีย]] เพื่อถ่ายทอดสัญญาณจาก[[กรุงเทพมหานคร]]ไปสู่สถานีเครือข่ายทุกภูมิภาคเป็นสถานีแรกของประเทศไทย นอกจากนี้ยังเช่าสัญญาณดาวเทียมนานาชาติ ([[อินเทลแซท]]) ถ่ายทอดเหตุการณ์จากทั่วโลกมายังไทย และในเวลาใกล้เคียงกัน ก็ริเริ่มใช้รถถ่ายทอดสัญญาณดาวเทียมย่านความถี่สูง ([[เคยูแบนด์]]) และรถบรรทุกเครื่องถ่ายทอดนอกสถานที่ (โอ.บี.) ใช้ย่านความถี่[[ซีแบนด์]] ทำหน้าที่เป็นสถานีแม่ข่ายชั่วคราว เพื่อถ่ายทอดสดงานประเพณีที่น่าสนใจ กีฬานัดสำคัญ และเหตุการณ์ในท้องที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ<ref name="profile1" />
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/ช่อง_7HD"