ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ชาวไทยในประเทศพม่า"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
InternetArchiveBot (คุย | ส่วนร่วม)
Rescuing 1 sources and tagging 2 as dead.) #IABot (v2.0.8
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 52:
มีการค้นพบจารึก[[ภาษาไทย]][[อักษรขอม]]ในประเทศพม่า เชื่อว่าอาจจะมาจากเมือง[[ทวาย]] มิกกี ฮาร์ต นักประวัติศาสตร์ชาวพม่าสันนิษฐานว่าจารึกนี้น่าจะถูกทำขึ้นช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 12-13 ก่อนยุค[[อาณาจักรสุโขทัย]]<ref>{{cite web |url= https://www.youtube.com/watch?v=GAX7Pk5j8c8 |title= โยเดียที่คิด(ไม่)ถึง Deleted scene |author=|date= 8 กรกฎาคม 2560 |work= Magenta Film Studio |publisher=|accessdate= 5 มิถุนายน 2563}}</ref> คริสต์ศตวรรษที่ 17 ภาษาไทยเป็นภาษาราชการและภาษาทางการของ[[มะริด]]และ[[ตะนาวศรี]] ทั้ง ๆ ที่มีชุมชนไทยเป็นชนกลุ่มน้อยขนาดเล็กในนั้น แต่ประชากรส่วนใหญ่ล้วนเป็น[[พม่า]]หรือ[[มอญ]]<ref name="มลายู"/> ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 แอนน์ แฮซเซลไทน์ จัดสัน (Ann Hasseltine Judson) [[มิชชันนารี]][[ชาวอเมริกัน]]เข้าไปเผยแผ่ศาสนาในเมือง[[ไจคามี|แอมเฮิสต์]] โดยได้ศึกษาภาษาไทยจากคนไทยในแอมเฮิสต์ เธอเป็นคนแรกที่แปลพระคัมภีร์เป็นภาษาไทย<ref>{{Cite web|url=https://www.mmtimes.com/news/mother-missionary-schools-ann-hasseltine-judson.html|title=Mother of missionary schools: Ann Hasseltine Judson|date=2019-06-21|website=The Myanmar Times|language=en|access-date=2019-09-25}}</ref>
 
ปัจจุบันชาวไทยในเขตตะนาวศรีเกือบทั้งหมดยังคงใช้[[ภาษาไทยถิ่นใต้]]สำหรับการสื่อสารในชีวิตประจำวันเช่นเดียวกับชาวไทยทาง[[ภาคใต้]]ของประเทศไทย<ref name="ฐิรวุฒิ3">ฐิรวุฒิ เสนาคำ. "ชาวไทยพลัดถิ่นในและจากมณฑลตะนาวศรีกับปัญหารัฐ-ชาติ". ''รัฐจากมุมมองของชีวิตประจำวัน 1'', หน้า 165</ref> ยกเว้นที่บ้านท่าตะเยี๊ยะที่พูด[[ภาษาไทยถิ่นอีสาน]]<ref name="เจ้าพระยา"/>และชาวไทยมุสลิมบางส่วนพูด[[ภาษามลายูเกอดะฮ์|ภาษามลายูไทรบุรี]]<ref name= "มุสลิมสตูล">[http://dc.oas.psu.ac.th/dcms/files//01841/Chapter2.pdf บทที่ 2 พัฒนาการทางสังคมมุสลิมในจังหวัดสตูล], หน้า 25</ref> ส่วนชาวไทยในรัฐกะเหรี่ยงจะใช้[[ภาษาไทยถิ่นเหนือ]]สำหรับการสื่อสารในชีวิตประจำวันเช่นเดียวกับ[[ชาวไทยวน]]ใน[[ภาคเหนือ]]ของไทย<ref name="ผู้จัดการ"/> ชาวไทยทั้งสองกลุ่มมีการเล่าเรียน[[ภาษาไทย|ภาษาไทยมาตรฐาน]] โดยชาวไทยในรัฐกะเหรี่ยงจะมีการสอนภาษาไทยแก่บุตรหลานช่วงปิดเทอมโดยพระสงฆ์ บ้างก็เข้าเรียนในโรงเรียนไทยใน[[จังหวัดตาก]]<ref name="ประชาไท1"/> เดิมชาวไทยกลุ่มนี้จะใช้[[อักษรธรรมล้านนา]]และ[[อักษรพม่า|พม่า]]ในการเขียน แต่ในปัจจุบันมีการเขียนด้วย[[อักษรไทย]]มากขึ้น<ref>{{cite web |url= https://www.youtube.com/watch?v=1UNNjvmB-2k |title= ชีวิต “คนเหนือ” คนไทยติดแผ่นดินในแดนพม่า |author= ประวัติศาสตร์ นอกตำรา |date= 25 ธันวาคม 2563 |work= ยูทูบ |publisher=|accessdate= 21 กันยายน 2564}}</ref> ขณะที่ชาวไทยในเขตตะนาวศรีเล่าเรียนภาษาไทยจากพระสงฆ์ในวัด<ref name="ฐิรวุฒิ3"/> สามารถพบการติดตั้งป้ายภาษาไทยอย่างโดดเด่นตามศาสนสถาน<ref>ฐิรวุฒิ เสนาคำ. "ชาวไทยพลัดถิ่นในและจากมณฑลตะนาวศรีกับปัญหารัฐ-ชาติ". ''รัฐจากมุมมองของชีวิตประจำวัน 1'', หน้า 167</ref> รวมทั้งนิยมสิ่งพิมพ์ภาษาไทย และสื่อโทรทัศน์ภาษาไทย ด้วยมีจินตนาการร่วมกับรัฐไทยมากกว่าพม่า<ref>ฐิรวุฒิ เสนาคำ. "ชาวไทยพลัดถิ่นในและจากมณฑลตะนาวศรีกับปัญหารัฐ-ชาติ". ''รัฐจากมุมมองของชีวิตประจำวัน 1'', หน้า 169</ref>
 
ส่วน[[ภาษาพม่า]]เพิ่งมีการสอนตามโรงเรียนช่วงปี พ.ศ. 2508 เป็นต้นมา เพราะในอดีตเด็กไทยไม่เข้าใจภาษาพม่าเลย<ref>{{cite web |url= https://www.khaosod.co.th/monitor-news/news_1447580 |title= เรื่องเล่าชีวิต ลุงบุญเสริม ไทยพลัดถิ่นสิงขร หนีสงคราม-พม่าไม่ยอมรับ ใช้เวลาหลายสิบปี กว่าจะได้เป็นคนไทย |author=|date= 15 สิงหาคม 2561 |work= ข่าวสด |publisher=|accessdate= 11 ตุลาคม 2561}}</ref> การเรียนรู้ภาษาพม่าของชาวไทยถือเป็นการเอาตัวรอด เพราะลดการคุกคามจากทหารพม่าได้มาก<ref>ทรงชัย ทองปาน และรัชพล ไทยฤทธิ์ (กรกฎาคม-ธันวาคม 2561). "การปรับเปลี่ยนและการธำรงอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของคนไทยพลัดถิ่นหมู่บ้านสิงขร ในเขตตะนาวศรี ประเทศพม่า". ''วารสารพัฒนศาสตร์'' (1:2). หน้า 155</ref> ปัจจุบันชาวไทยในตะนาวศรีที่เป็นลูกครึ่งพม่าไม่สามารถใช้ภาษาไทยได้และนิยมให้ลูกหลานใช้ภาษาพม่าในชีวิตประจำวัน<ref>ทรงชัย ทองปาน และรัชพล ไทยฤทธิ์ (กรกฎาคม-ธันวาคม 2561). "การปรับเปลี่ยนและการธำรงอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของคนไทยพลัดถิ่นหมู่บ้านสิงขร ในเขตตะนาวศรี ประเทศพม่า". ''วารสารพัฒนศาสตร์'' (1:2). หน้า 156</ref> ขณะที่คนไทยสูงอายุบางส่วนยังพบกับอุปสรรคทางภาษาเพราะมีหลายคนพูดพม่าได้น้อยหรือไม่ได้เลย<ref>ทรงชัย ทองปาน และรัชพล ไทยฤทธิ์ (กรกฎาคม-ธันวาคม 2561). "การปรับเปลี่ยนและการธำรงอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของคนไทยพลัดถิ่นหมู่บ้านสิงขร ในเขตตะนาวศรี ประเทศพม่า". ''วารสารพัฒนศาสตร์'' (1:2). หน้า 152</ref> แต่จากการที่ไม่มีโรงเรียนไทย กอปรกับวัดไทยมีพระเชื้อสายไทยจำพรรษาน้อยและมีพระพม่ามาจำพรรษาแทน ทำให้ขาดผู้สอนภาษาไทยแก่บุตรหลานไทยในตะนาวศรี หลายคนพูดภาษาไทยได้แต่อ่านหนังสือไม่ออก<ref>{{cite web |url= https://www.thaipost.net/main/detail/56165 |title= นักวิจัยเพชรบุรีระดมพลังช่วยเด็กไทย 'พลัดถิ่น' ลงพื้นที่เมืองตะนาวศรีเก็บข้อมูล-บริจาคของ |author=|date= 3 กุมภาพันธ์ 2563 |work= ไทยโพสต์ |publisher=|accessdate= 10 มกราคม 2564}}</ref>