ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โพสพ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 27:
รูปลักษณ์ของนางโพสพยุคแรก ๆ เป็นรูปสตรียืนถือพันธุ์พืช ดังพบ[[เจว็ด]]ศิลาชิ้นหนึ่งเป็นรูปเทวสตรียืนถือช่อพันธุ์พฤกษา [[ศิลปะอยุธยา]] และเจว็ดดินเผาพบใน[[พระราชวังโบราณ]] [[จังหวัดพระนครศรีอยุธยา]] เป็นรูปเทวสตรียืนอยู่บนเต่า ยกแขนข้างหนึ่งแต่ชำรุดไปเสียจึงไม่ทราบว่ายกอะไร คาดว่าน่าจะเป็นรูปเคารพของนางโพสพ ปัจจุบันเจว็ดทั้งสองจัดแสดงใน[[พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม]]<ref>''ทิพยประติมา'', หน้า 219-220</ref> ต่อมาในยุค[[กรุงรัตนโกสินทร์]] มีจิตรกรรมนางโพสพใน[[พระที่นั่งไพศาลทักษิณ]] ใน[[พระบรมมหาราชวัง]] เป็นภาพนางโพสพยืนถือรวงข้าวในมือ ปรากฏตัวพร้อมกับเทพองค์ต่าง ๆ สื่อถึงความเป็นสิริมงคลและความสมบูรณ์พูนสุขของแผ่นดิน<ref name="ทิพยประติมา221">''ทิพยประติมา'', หน้า 220-221</ref> ทว่าในยุคหลังมานี้การสร้างรูปลักษณ์อิงจากนางกวักซึ่งเป็นเทพพื้นเมืองเช่นกัน ทำให้โพสพมีลักษณะ "...เป็นหญิงสาวท่าทางอ่อนช้อยสวยงาม ภาพของนางที่สร้างขึ้นเพื่อเคารพบูชาเป็นท่านั่งพับเพียบ มือขวาถือรวงข้าวมือซ้ายถือถุงข้าว แต่งกายนุ่งผ้าถุงห่มผ้าสไบเฉียงแบบหญิงในวังสมัยก่อน"<ref name="โพสพ"/> การสร้างรูปนางโพสพมีการพัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยแต่งกายอย่างตัวละครในวรรณคดีไทย คือสวมสไบเฉียง สวม[[กรอบหน้า]] [[จอนหู]] สวมเครื่องถนิมพิมพาภรณ์ต่าง ๆ นั่งพับเพียบอย่างนางกวัก บ้างก็เป็นรูปนางโพสพขี่ปลาก็มี<ref name="ทิพยประติมา221"/>
 
''[[โคลงทวาทศมาส]]'' ซึ่งเป็นวรรณกรรมของ[[อาณาจักรอยุธยา]]มีการกล่าวถึง "พระไพสพ" ว่าเป็นเทพเจ้าแห่งข้าว [[นิพัทธ์พร เพ็งแก้ว]] อธิบายว่า "ไพสพ" เป็นคำเดียวกับ "โพสพ" ที่พัฒนามาจาก "ไวพศรวพณะศรวณะ" ({{lang-sa|वैश्रवण}} ''Vaiśravaṇa'') คือพระไพศรพณ์ หมายถึง[[ท้าวกุเวร]] หรือ[[ท้าวเวสวัณ]] เทพแห่งความมั่งคั่งและเจ้าแห่งทรัพย์ และ[[เปลื้อง ณ นคร]] อธิบายเพิ่มเติมว่า "โพสพ" พัฒนามาจาก "ไพศรพณ์" เพราะสมัยนั้นถือว่าข้าวเป็นทรัพย์อย่างหนึ่ง<ref name="ทิพยประติมา221"/> ในยุครัตนโกสินทร์ มีเอกสารทางศาสนาคือ ''[[ตำราภาพเทวรูป]]'' และ ''[[นารายณ์ยี่สิบปาง]]'' มี[[พระมหาไชไพรสภ]] เป็นเทพเจ้าแห่งข้าว แต่ต่างกับนางโพสพคือเพศสภาพตามคติชายเป็นใหญ่<ref>''ทิพยประติมา'', หน้า 223-225</ref>
 
ในราชสำนักกัมพูชาก็รับความเชื่อเรื่องนางโพสพของไทยไปด้วย แต่นับถือในฐานะบุรุษเพศตามอย่างช่วงต้น[[กรุงรัตนโกสินทร์]]คือนับถือพระไพสพ ในรัชกาล[[สมเด็จพระหริรักษ์รามาอิศราธิบดี]]จัดให้มีพระราชพิธีบูชาพระไพสพ ด้วยการบูชาภูเขาข้าวเปลือกตั้งแต่ พ.ศ. 2398 เป็นต้นมา<ref>''ราชพงษาวดารกรุงกัมพูชา'', หน้า 287</ref> ปัจจุบันการบูชาแม่โพสพได้สร่างซาลงไป โดยเฉพาะ[[ไทยเชื้อสายมลายู|ชาวไทยเชื้อสายมลายู]]ที่เลิกการบูชาโพสพเพราะขัดกับหลัก[[ศาสนาอิสลาม]]<ref>{{cite web |url=http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1292493085|title=มองคนมลายูในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ ผ่านแว่นวรรณกรรมฯ |author= |date= 18 ธันวาคม พ.ศ. 2553 |work= |publisher=มติชนออนไลน์ |accessdate=20 พฤศจิกายน 2557}}</ref> ต่อมา[[สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง]]ทรงอุปถัมภ์พิธีกรรมโบราณนี้เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2551<ref>[http://www.chinapost.com.tw/asia/thailand/2008/08/11/169635/Thailand-revives.htm Thailand revives worship of Rice Goddess - The China Post]</ref><ref>{{cite web |url=http://www.suphaninsure.com/wizContent.asp?wizConID=56031&txtmMenu_ID=7|title= พิธีอัญเชิญแม่โพสพคืนนา |author=|date=|work= |publisher=สุพรรณอินชัวร์|accessdate=20 พฤศจิกายน 2557}}</ref> บางหมู่บ้านก็มีสตรีแต่งกายเป็นพระแม่โพสพช่วงเทศกาลหรืองานเฉลิมฉลองในท้องถิ่น<ref>[http://i551.photobucket.com/albums/ii474/poepum/100_3013-1.jpg Woman in Pho sop costume]</ref>
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/โพสพ"