ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระพรหมวชิรญาณ (โรเบิร์ต สุเมโธ)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ให้ถูก​ต้อง​
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ย้อนการแก้ไขที่ 9634034 สร้างโดย 58.8.214.75 (พูดคุย)
บรรทัด 14:
|สังกัด = [[เถรวาท]] [[มหานิกาย]]
|วุฒิ =ป.โท​ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์
|วันบวชเณร=พ.ศ.2509
|ตำแหน่ง=อตีดเจ้าอาวาสวัดอมราวดี
}}
'''พระพรหมวชิรญาณ''' วิ.นามเดิม '''โรเบิร์ต คาร์ แจ็คแมน''' '''สุเมโธ''' หรือ '''พระอาจารย์สุเมโธ''' เป็น[[พระราชาคณะเจ้าคณะรอง|พระราชาคณะ​เจ้าคณะ​รอง]]​ ชั้น​ หิรัญ​บัฎฝ่าย[[วิปัสสนาธุระ|วิปัสสนา]]​ธุระ​ เป็นพระเถระอาจารย์[[สายพระป่าในประเทศไทย]] ศิษย์ชาวตะวันตกรูปแรกของ[[พระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท)]] เคยดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดป่านานาชาติ ใน ประเทศไทย วัดอมราวดี ซึ่งตั้งอยู่ทางเหนือของกรุง[[ลอนดอน]] [[สหราชอาณาจักร]] นับตั้งแต่ พ.ศ. 2527 ตราบจนเกษียณตนเองจากตำแหน่งเมื่อ พ.ศ. 2553 และเป็นผู้นำรูปสำคัญในการเผยแพร่คำสอนเรื่อง[[อริยสัจ 4]] ในพระพุทธศาสนามาสู่สังคมชาวตะวันตก
 
== ประวัติ ==
พระพรหมวชิรญาณ (โรเบิร์ต สุเมโธ) เป็นชาวอเมริกัน มีนามเดิมว่า โรเบิร์ต คาร์ แจ็คแมน (Robert Karr Jackman) เกิดที่เมือง[[ซีแอตเติล]] [[รัฐวอชิงตัน]] [[สหรัฐอเมริกา]] เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม ค.ศ. 1934 (พ.ศ. 2477) ท่านออกจากประเทศสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. 1964 (พ.ศ. 2507) เพื่อมาบวชเป็นพระภิกษุที่จังหวัดหนองคาย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย หลังจากนั้นไม่นานท่านก็มีโอกาสไปอยู่กับพระโพธิญาณเถร (หลวงพ่อชา สุภัทโท) พระอาจารย์ผู้มีชื่อเสียงในการสอนกรรมฐาน ณ [[วัดหนองป่าพง]] [[จังหวัดอุบลราชธานี]] ระเบียบการปฏิบัติธรรมของหลวงพ่อชาในวัดหนองป่าพงนี้เป็นที่รู้กันว่าเข้มงวดและเคร่งครัด โดยเน้นที่ความเรียบง่ายและเคร่งครัดต่อพระธรรมวินัย พระอาจารย์สุเมโธได้ฝึกปฏิบัติตามแนวของหลวงพ่อชาเป็นเวลาถึง 10 ปี จึงได้รับเชิญจากมูลนิธิสงฆ์แห่งประเทศอังกฤษ (The English Sangha Trust) ให้เดินทางไปอยู่ที่ลอนดอน ร่วมกับคณะศิษย์ของหลวงพ่อชา อีก 3 รูป
 
มูลนิธิสงฆ์แห่งประเทศอังกฤษมีจุดมุ่งหมายจะเสริมสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมแก่การฝึกพระภิกษุในประเทศตะวันตก โดยมีสำนักสงฆ์บ้านแฮมสเตด (The Hampstead Buddhist Vihara) ณ เมืองลอนดอนเป็นจุดเริ่มต้น สำนักสงฆ์แห่งนี้มีความเหมาะสมพอสมควร แต่คณะสงฆ์ก็เห็นข้อดีของการมีสิ่งแวดล้อมที่สงบกว่า เช่น บรรยากาศในชนบท จึงพยายามตั้งวัดป่าขึ้นในประเทศอังกฤษ และสร้างเสร็จในปี ค.ศ. 1979 (พ.ศ. 2522) โดยดัดแปลงบ้านที่ทรุดโทรมหลังหนึ่งในเวสต์ซัสเซกซ์ (West Sussex) ในเวลาต่อมาสถานที่นี้จึงเป็นที่รู้จักกันในนามว่า Chithurst Buddhist Monastery หรือวัดป่าจิตตวิเวก (Cittaviveka) นั่นเอง