ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ท่าอากาศยานตาก"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
InternetArchiveBot (คุย | ส่วนร่วม)
Rescuing 2 sources and tagging 0 as dead.) #IABot (v2.0.8
Love Krittaya (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 42:
ต่อมาในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2533 [[การบินไทย]] ได้ใช้เครื่องบินแบบ[[เอทีอาร์ 72]] ทำการบินรับ-ส่ง เส้นทางกรุงเทพฯ-ตาก-แม่สอด-เชียงใหม่ ไป-กลับ จนถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2537 จึงขอหยุดทำการบิน เนื่องจากผู้โดยสารน้อยไม่คุ้มค่าต่อการทำการบิน โดยในปัจจุบันยังมีเครื่องบินที่ใช้ในราชการพลเรือน ทหาร ตำรวจและเครื่องบินส่วนบุคคล ทำการบินเป็นครั้งคราว<ref name=history>{{cite web|url=https://minisite.airports.go.th/tak/about1231.html|title=ความเป็นมาของท่าอากาศยานตาก|work=[[กรมท่าอากาศยาน]]|accessdate=11 มิถุนายน 2563}}</ref> และเป็นฐานในการทำ[[ฝนหลวง]]<ref>{{Cite web|url=https://web.archive.org/web/20171126090517/http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9520000030053|title=ตากเปิดฐานปฏิบัติการตั้งฐานเติมสารฝนหลวงบรรเทาภัยแล้งและไฟป่า|work=[[เอเอสทีวีผู้จัดการ]]|date=16 มีนาคม 2552|accessdate=26 พฤศจิกายน 2560}}</ref>
 
=== การแผนการอนุญาตให้ บมจ. ท่าอากาศยานไทย เข้าบริหารท่าอากาศยาน ===
เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 [[กรมท่าอากาศยาน]]ได้ประกาศแผนการมอบสิทธิ์การบริหารท่าอากาศยานตากให้ [[ท่าอากาศยานไทย|บมจ. ท่าอากาศยานไทย]] เช่นเดียวกับ[[ท่าอากาศยานอุดรธานี]] (ภายหลังได้เพิ่ม[[ท่าอากาศยานชุมพร]]และ[[ท่าอากาศยานสกลนคร]]เข้ามาด้วย)<ref name="UdonHubIsan">{{Cite web |url=https://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01eco01220461&sectionid=0103&day=2018-04-22 |title=ทอท.ปั้นสนามบินอุดรฯฮับอีสาน |work=[[มติชน]] |date=22 เมษายน 2561 |accessdate=26 เมษายน 2561 |archive-date=2018-04-25 |archive-url=https://web.archive.org/web/20180425181757/https://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01eco01220461&sectionid=0103&day=2018-04-22 |url-status=dead }}</ref> โดยจะนำเสนอให้[[กระทรวงคมนาคม]]พิจารณาเห็นชอบ<ref>{{Cite web|url=https://www.dailynews.co.th/economic/611190 |title=ทย.ยกสนามบินอุดรฯ-ตาก ซบอกทอท.|work=[[เดลินิวส์]] |date=20 พฤศจิกายน 2560|accessdate=26 พฤศจิกายน 2560}}</ref><ref>{{Cite web|url=https://www.prachachat.net/property/news-74654 |title=กรมท่าอากาศยานย้ำชัด! ยกให้ ทอท.บริหารสนามบินแค่ “อุดรธานี-ตาก”|work=[[ประชาชาติธุรกิจ]] |date=20 พฤศจิกายน 2560|accessdate=26 พฤศจิกายน 2560}}</ref> แต่กระทรวงคมนาคมยังไม่อนุมัติในทันที โดยให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) รวบรวมข้อมูลจากทั้งของกรมท่าอากาศยาน, บมจ. ท่าอากาศยานไทย และ[[สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย]] ไปศึกษาวิเคราะห์ถึงผลดีและผลเสียก่อน<ref>{{Cite web|url=http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/783260 |title='อาคม' เบรกส่ง 'ทอท.' บริหารสนามบินอุดร-ตาก |work=[[กรุงเทพธุรกิจ]] |date=29 พฤศจิกายน 2560|accessdate=1 ธันวาคม 2560}}</ref>
 
บรรทัด 49:
โดย บมจ. ท่าอากาศยานไทยเปิดเผยว่าได้วางแผนให้ท่าอากาศยานตากเป็นสนามบินสำหรับขนส่งสินค้าทางอากาศ ไม่เน้นการรับส่งผู้โดยสาร โดยอ้างว่าเพื่อที่จะไม่แข่งขันกับ[[ท่าอากาศยานแม่สอด]]ของกรมท่าอากาศยาน<ref name="UdonHubIsan" /> อย่างไรก็ตามในเดือนเมษายน 2561 หอการค้าจังหวัดตาก, กำแพงเพชร และสุโขทัย ได้ร่วมกันเสนอให้[[นกแอร์|สายการบินนกแอร์]] (ซึ่งมีเครื่องบินขนาดเล็กจึงสามารถใช้งานรันเวย์ปัจจุบันของท่าอากาศยานตากที่มีความยาวเพียง 1,500 เมตรได้) พิจารณาเปิดเส้นทางเที่ยวบินโดยสารระหว่าง[[ท่าอากาศยานดอนเมือง]]กับท่าอากาศยานตาก<ref>{{Cite web|url=https://web.facebook.com/taksociety/photos/a.508639432547954.1073741923.183152031763364/1662441123834440/?type=3 |title=ขอรายงานความคืบหน้า เรื่องสายการบินนกแอร์ ตาก-ดอนเมือง ว่าเราดำเนินการเรื่องนี้อย่างเกาะติดตลอด |work=TAK @taksociety |date=23 เมษายน 2561|accessdate=26 เมษายน 2561}}</ref><ref>{{Cite web|url=https://www.thairath.co.th/content/1271649 |title=หอการค้า 3 จว. หนุนบินโลว์คอสต์ ทำการบินมา จ.ตาก เพิ่มความสะดวกคนเดินทาง|work=[[ไทยรัฐ]] |date=3 พฤษภาคม 2561|accessdate=3 พฤษภาคม 2561}}</ref> แต่ในเดือนกรกฎาคมปีเดียวกัน บมจ.ท่าอากาศยานไทยได้แจ้งว่าจะไม่พัฒนาท่าอากาศยานตากในด้านการขนส่งผู้โดยสาร โดยอ้างว่ามี[[อุปสงค์]]ไม่ถึงหนึ่งล้านคนต่อปี<ref name="Tak_no_passengers" /> (ถือเป็นจำนวนที่สูงมาก เนื่องจากในปี พ.ศ. 2560 ท่าอากาศยานในพื้นที่อื่นโดยรอบ ได้แก่ ท่าอากาศยานพิษณุโลก มีผู้โดยสารขาเข้าและขาออกรวมประมาณ 6 แสนคนต่อปี และท่าอากาศยานแม่สอดมีประมาณ 2 แสนคนต่อปี<ref>[http://www.airports.go.th/th/content/349/1659.html ข้อมูลสถิติการขนส่งทางอากาศภายในประเทศ ปี 2017]</ref>) และจะมุ่งเน้นพัฒนาในด้านการรองรับ[[ขนส่งอากาศยาน]]โดยเฉพาะ ด้านกระทรวงคมนาคมได้ปฏิเสธแผนการดังกล่าว เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายให้สนามบินทั้ง 4 แห่งที่จะโอนให้ ทอท. นั้นรองรับด้านการท่องเที่ยวด้วย และให้ ทอท. ทำแผนการดำเนินการรับโอนและบริหารท่าอากาศยานตากใหม่<ref>{{cite web|url=https://www.mcot.net/view/5b433c84e3f8e4f60986253e |title= คมนาคมตีกลับแผนโอน 4 สนามบินให้ ทอท.|work=สำนักข่าวไทย |date=9 กรกฎาคม 2561|accessdate=15 กันยายน 2561|}}</ref> ต่อมาเดือนกันยายน 2561 นายสมชัย กิจเจริญรุ่งโรจน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดตากกล่าวว่าคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติเห็นชอบให้ดำเนินการโอนสนามบินให้ ทอท. แล้ว โดยที่ ทอท. จะเข้าพัฒนาท่าอากาศยานตากทั้งในด้านการขนส่งและการรองรับนักท่องเที่ยว<ref>{{cite web|url=https://www.dailynews.co.th/economic/665667 |title="ตาก" วอนรัฐปัดฝุ่น 2 สนามบินเก่า ดันฮับอากาศบูมท่องเที่ยว|work=เดลินิวส์|date=12 กันยายน 2561|accessdate=15 กันยายน 2561|}}</ref>
 
อย่างไรก็ตามภายหลังจากที่มีรัฐบาลชุดใหม่ในปี พ.ศ. 2562 กรมท่าอากาศยาน และกระทรวงคมนาคมซึ่งมีนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงฯ ได้เปลี่ยนแปลงแผนการ โดยจะให้ บมจ. ท่าอากาศยานไทย เข้าบริหารท่าอากาศยานตาก, ท่าอากาศยานอุดรธานี และ[[ท่าอากาศยานบุรีรัมย์]] ในลักษณะการบริหารสัญญาร่วม หรือการจ้าง บมจ. ท่าอากาศยานไทย บริหารจัดการ โดยไม่ต้องมีการประมูล และกรมท่าอากาศยานยังคงเป็นเจ้าของสนามบินทั้งสามแห่งดังกล่าว<ref>{{cite web|url=https://www.thansettakij.com/content/409033|title= เบื้องลึกเด้งอธิบดีทย. เซ่นการเมืองขวางทอท.ฮุบสนามบิน|work=ฐานเศรษฐกิจ|date=8 กันยายน 2562|accessdate=26 กันยายน 2562|}}</ref> แต่หลังจากนั้นข่าวคราวก็ได้เงียบหายไป ไม่มีความคืบหน้าใดอีก นอกจากนี้ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2563 นายถาวร เสนเนียม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ยังได้เสนอแนวคิดอื่น เช่นพัฒนาท่าอากาศยานตากให้เป็นสถานที่สำหรับซ่อมและจอดเครื่องบิน รวมถึงขยายรันเวย์ให้ยาวขึ้น แต่จะต้องมีบริษัทเอกชนเข้ามาร่วมลงทุน<ref>{{cite web|url=https://mgronline.com/business/detail/9630000066520|title= “ถาวร” ดันผุดศูนย์ซ่อมเครื่องบิน “ตาก” ดึงเอกชนลงทุน คุมตลาดโซนจีนตอนใต้-พม่า-ลาว|work=[[ผู้จัดการออนไลน์]]|date=29 มิถุนายน 2563|accessdate=17 กันยายน 2564|}}</ref><ref>{{cite web|url=https://www.prachachat.net/property/news-486773 |title=‘ถาวร’ ดึงต่างชาติร่วมลงทุนโปรเจ็กต์ ‘แฮงการ์’ สนามบิน จ.ตาก 3,000 ไร่|work=[[ประชาชาติธุรกิจ]]|date=5 กรกฎาคม 2563|accessdate=17 กันยายน 2564|}}</ref>
 
== อาคารสถานที่ ==