ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วิธีกงดอร์แซ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Ekapoj yam (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Ekapoj yam (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 30:
==ขั้นตอนเบื้องต้น==
===การลงคะแนน===
ในการเลือกตั้งแบบกงดอร์แซผู้ลงคะแนนทำการจัดลำดับผู้สมัครแต่ละรายตามลำดับความชอบ หากใช้บัตรลงคะแนนแบบจัดลำดับ ผู้ลงคะแนนจะใส่หมายเลข "1" ให้กับผู้สมัครอันดับแรกที่ชอบ และ "2" ให้กับผู้สมัครอันดับที่สอง เป็นต้น ในวิธีกงดอร์แซแบบอื่นอาจยอมให้ผู้ลงคะแนนจัดลำดับผู้สมัครเท่ากันได้ซึ่งดังนั้นผู้ลงคะแนนอาจออกเสียงเลือกสองคนเท่าๆ กันแทนที่จะชอบคนใดคนหนึ่งมากกว่า<ref>{{Cite web|title=Condorcet|url=https://www.equal.vote/condorcet|access-date=2021-04-25|website=Equal Vote Coalition}}</ref> หากใช้บัตรลงคะแนนแบบให้คะแนน ผู้ลงคะแนนทำการให้คะแนนผู้สมัครตามมาตรคะแนน ตัวอย่างเดียวกับ[[ระบบการลงคะแนนแบบคะแนนรวม]]ซึ่งผู้สมัครรายใดได้คะแนนมากกว่าจะเท่ากับได้รับความพึงพอใจมากกว่า<ref>https://halshs.archives-ouvertes.fr/halshs-01972097/document</ref>
 
เมื่อใดที่ผู้ลงคะแนนไม่ได้ทำการจัดลำดับให้ครบผู้สมัครทุกราย จะตีความว่าผู้ลงคะแนนเลือกผู้สมัครรายที่จัดลำดับมากกว่าผู้สมัครที่ไม่ถูกจัดลำดับ และถือว่าไม่ได้เลือกผู้ใดเลยหากผู้สมัครทั้งคู่ไม่ได้รับการจัดอันดับเลย ในการเลือกตั้งวิธีกงดอร์แซบางวิธีสามารถให้ผู้ลงคะแนนเลือกเขียนชื่อผู้สมัครได้เอง
===การหาผู้ชนะ===
การนับคะแนนจะทำโดยจับผู้สมัครเป็นคู่ๆ แข่งขันกันแบบตัวต่อตัวจนครบทุกคู่ ผู้ชนะในแต่ละคู่จะเป็นผู้สมัครที่ถูกเลือกโดยผู้ลงคะแนนเสียงข้างมาก โดยสามารถหาผู้ที่ได้เสียงข้างมากได้ง่ายเนื่องจากมีเพียงสองตัวเลือกโดยยกเว้นในกรณีที่คะแนนเสมอ ผู้สมัครที่ได้รับเลือกโดยแต่ละผู้ลงคะแนนจะถือเป็นผู้สมัครที่ได้คะแนนสูงกว่า (หรือลำดับสูงกว่า) ในบัตรลงคะแนนของคู่นั้นๆ ตัวอย่างเช่น หาก A จับแข่งขันคู่กับ B จะต้องนับคะแนนเสียงของผู้ลงคะแนนที่ให้อันดับ A สูงกว่า B และจำนวนคะแนนเสียงของผู้ที่ให้อันดับ B สูงกว่า A ซึ่งเมื่อ A ได้คะแนนจากผู้ลงคะแนนมากกว่าดังนั้น A จะเป็นผู้ชนะในคู่นี้ เมื่อนำการจับคู่ทั้งหมดมาแข่งขันกันจนครบ หากมีผู้สมัครรายใดที่สามารถเอาชนะรายอื่นๆ ที่เหลือได้ จะถือว่าผู้นั้นเป็นผู้ชนะแบบกงดอร์แซ
 
ตามที่กล่าวไปข้างต้น หากไม่สามารถระบุผู้ชนะแบบกงดอร์แซได้ จะต้องใช้วิธีการเพิ่มเติมเพื่อหาตัวผู้ชนะ ซึ่งกลไกนั้นย่อมแตกต่างกันตามแต่ละลักษณะของแต่ละวิธี<ref name=":2" /> ในวิธีกงดอร์แซใดๆ ที่ผ่านเกณฑ์ความอิสระของตัวเลือกของสมิธ ในบางครั้งจะสามารถระบุตัวชุดสมิธจากในการแข่งขันแบบตัวต่อตัวได้ และจะสามารถกำจัดผู้สมัครรายอื่นๆ ที่ไม่ได้อยู่ในชุดก่อนการเข้ากระบวนการหาผู้ชนะตามวิธีกงดอร์แซ
 
===การนับคะแนนเป็นคู่และเมตริกซ์===
 
==ตัวอย่างในการลงคะแนนเพื่อเลือกเมืองหลวงของรัฐเทนเนสซี==
{{ตัวอย่างการลงคะแนนเทนเนสซี}}
 
ในการหาผู้ชนะแบบกงดอร์แซนั้นผู้สมัครแต่ละรายจะต้องแข่งขันตัวต่อตัวเป็นคู่ๆ จนครบ โดยในแต่ละคู่ผู้ชนะจะเป็นผู้ที่ได้คะแนนความชอบตามเสียงส่วนมากของผู้ลงคะแนน โดยหลังจากการนับคะแนนในแต่ละคู่แล้วได้ผลลัพธ์ดังนี้
 
{| class="wikitable"
|-
! คู่ !! ผู้ชนะ
|-
| เมมฟิส (42%) vs. แนชวิลล์ (58%)|| แนชวิลล์
|-
| เมมฟิส (42%) vs. แชตตานูกา (58%)|| แชตตานูกา
|-
| เมมฟิส (42%) vs. น็อกซ์วิลล์ (58%)|| น็อกซ์วิลล์
|-
| แนชวิลล์ (68%) vs. แชตตานูกา (32%)|| แนชวิลล์
|-
| แนชวิลล์ (68%) vs. น็อกซ์วิลล์ (32%)|| แนชวิลล์
|-
| แชตตานูกา (83%) vs. น็อกซ์วิลล์ (17%)|| แชตตานูกา
|}
 
โดยผลลัพธ์ตามเมตริกซ์เป็นดังนี้
 
{| class="wikitable"
|-
!ลำดับ 1
! colspan="4" style="background: #ccffcc" | แนชวิลล์ [N]
|ชนะ 3 ↓
|-
!ลำดับ 2
! colspan="3" style="background: #ddddff" | แชตตานูกา [C]
|แพ้ 1 →
↓ ชนะ 2
| style="white-space:nowrap;" | [N] 68%<br/>[C] 32%
|-
!ลำดับ 3
! colspan="2" style="background: #ffeedd" | น็อกซ์วิลล์ [K]
|แพ้ 2 →
↓ ชนะ 1
| style="white-space:nowrap;" | [C] 83% <br />[K] 17%
| style="white-space:nowrap;" | [N] 68% <br />[K] 32%
|-
!ลำดับ 4
! style="background: #ffdddd" | เมมฟิส [M]
|แพ้ 3 →
| style="white-space:nowrap;" | [K] 58% <br />[M] 42%
| style="white-space:nowrap;" | [C] 58% <br />[M] 42%
| style="white-space:nowrap;" | [N] 58% <br />[M] 42%
|}
 
{{clr}}