ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วิธีกงดอร์แซ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Ekapoj yam (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Ekapoj yam (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 13:
วิธีกงดอร์แซสามารถใช้บัตรลงคะแนน[[การลงคะแนนแบบจัดลำดับ|แบบจัดลำดับ]] [[การลงคะแนนแบบคาร์ดินัล|แบบคาร์ดินัล]] หรือใช้การลงคะแนนอย่างง่ายกับผู้สมัครเป็นคู่ๆ ได้ โดยวิธีส่วนใหญ่มักจะใช้[[การลงคะแนนแบบจัดลำดับ]]รอบเดียว ซึ่งผู้ลงคะแนนแต่ละคนจะต้องจัดลำดับผู้สมัครทั้งหมดเริ่มตั้งแต่ลำดับที่ชอบมากที่สุด (เริ่มที่ 1) ไปจนถึงลำดับท้ายสุด (เลขจำนวนที่มากขึ้น) การจัดลำดับนี้มักเรียกว่า ''ลำดับความชอบ (order of preference)'' ในการนับคะแนนสามารถกระทำได้หลายวิธีเพื่อตัดสินผู้ชนะ ในทุกวิธีของกงดอร์แซจะใช้หาผู้ชนะแบบกงดอร์แซในกรณีที่มีผู้ชนะที่เข้าเกณฑ์ หากไม่มีจะต้องใช้วิธีรองอื่นๆ ที่สามารถเลือกผู้ชนะคนอื่นๆ แทนได้ในกรณีที่เกิดผลเป็นวัฏจักร โดยผลลัพธ์จะออกมาแตกต่างกันขึ้นอยู่กับเกณฑ์ที่เลือกใช้
 
ตามขั้นตอนซึ่งระบุไว้ใน[[ข้อบังคับการประชุมของรอเบิร์ต]] (Robert's Rules of Order) สำหรับการลงมติต่างๆ ก็ยังถือเป็นวิธีกงดอร์แซเช่นกันถึงแม้ว่าผู้ลงคะแนนจะไม่ได้ออกเสียงโดยการจัดลำดับก็ตาม โดยในการลงคะแนนจะเกิดขึ้นหลายรอบ และในแต่ละรอบจะมีการลงคะแนนระหว่างตัวเลือกจำนวนเพียงสองตัวเลือก ผู้แพ้ (ตามเกณฑ์เสียงข้างมาก) ในแต่ละคู่จะตกรอบ และผู้ชนะในคู่นั้นจะถูกจับคู่กับผู้ชนะอีกคู่หนึ่งในรอบต่อไป จนสุดท้ายเหลือเพียงผู้ชนะคนสุดท้ายเพียงคนเดียว ระบบนี้จะเหมือนกับการแข่งขันหาผู้ชนะเป็นรอบๆ (single-winner tournament) กล่าวคือจำนวนการจับคู่แข่งขั้นทั้งหมดเท่ากับจำนวนของตัวเลือกลบด้วยหนึ่ง เนื่องจากผู้ชนะแบบกงดอร์แซจะชนะโดยเสียงข้างมากในแต่ละคู่ จึงไม่เคยตกรอบตามข้อบังคับการประชุมของรอเบิร์ต
 
==โดยย่อ==
 
{{clr}}