ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เจ้าพระยารัตนาธิเบศร์ (กุน รัตนกุล)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
NewFrontierHistoryThai (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
NewFrontierHistoryThai (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 27:
 
==ประวัติ==
เจ้าพระยารัตนาธิเบศร์ (กุน) เดิมชื่อว่า กุน แซ่อึ้ง หรือ อึ้งกุน เป็นบุตรชายของกุ๋ย แซ่อึ้ง หรืออึ้งกุ๋ย (黃貴 [[ภาษาแต้จิ๋ว|จีนแต้จิ๋ว]]: ng<sup>5</sup> gui<sup>3</sup> [[ภาษาจีนกลาง|จีนกลาง]]: ''Huáng Guì'') พ่อค้าชาวจีนแต้จิ๋วซึ่งได้อพยพมาค้าขายตั้งเคหสถานอยู่ที่ตำบลบ้านคลองโรงช้าง (วัดโรงช้าง) [[อำเภอเมืองราชบุรี|เมืองราชบุรี]] "จีนกุ๋ย" เป็นพ่อค้าสำเภามีบุตรธิดามาก "จีนกุน" เป็นบุตรคนที่ห้าของจีนกุ๋ย มาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านปรก<ref name=":2">นิธิ เอียวศรีวงศ์. '''การเมืองไทยสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี'''. กรุงเทพฯ; มติชน, พ.ศ. 2550.</ref> ปากแม่น้ำแม่กลองฝั่งเหนือ แขวงเมือง[[จังหวัดสมุทรสงคราม|สมุทรสงคราม]]<ref name=":0">รัตนกุลอดุลยภักดี, พระยา. '''ลำดับสกุลเก่าบางสกุล ภาคที่ ๑'''. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร, 2463.</ref>
 
เจ้าพระยารัตนาธิเบศร์ (กุน) ปรากฏรับราชการครั้งแรก ดำรงตำแหน่งเป็น''พระราชประสิทธิ์''<ref name=":1">{{cite web|title=เรื่องตั้งเจ้าพระยาในกรุงรัตนโกสินทร์|url=https://drmlib.parliament.go.th/site.php?mod=document&op=doc_poll&url=aHR0cHM6Ly9kbC5wYXJsaWFtZW50LmdvLnRoL2JpdHN0cmVhbS9oYW5kbGUvbGlydC81MDI0NTIvMjU0NV8lRTAlQjglOTUlRTAlQjglQjElRTAlQjklODklRTAlQjglODclRTAlQjklODAlRTAlQjglODglRTAlQjklODklRTAlQjglQjIlRTAlQjglOUUlRTAlQjglQTMlRTAlQjglQjAlRTAlQjglQTIlRTAlQjglQjIlRTAlQjglODElRTAlQjglQTMlRTAlQjglQjglRTAlQjglODclRTAlQjglQTMlRTAlQjglQjElRTAlQjglOTUlRTAlQjglOTklRTAlQjklODIlRTAlQjglODElRTAlQjglQUElRTAlQjglQjQlRTAlQjglOTklRTAlQjglOTclRTAlQjglQTMlRTAlQjklOENfJUUwJUI4JTgxJUUwJUI4JUEzJUUwJUI4JUExJUUwJUI4JUE4JUUwJUI4JUI0JUUwJUI4JUE1JUUwJUI4JTlCJUUwJUI4JUIyJUUwJUI4JTgxJUUwJUI4JUEzLnBkZj9zZXF1ZW5jZT0x&handle=502452&uid=0&target=download&ip=49.228.23.17&col_status=false&collection=381|publisher=สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร|page=26}}</ref> เจ้ากรมพระคลังวิเศษในสมัยกรุงธนบุรี ได้ย้ายครอบครัวมาตั้งบ้านเรือนที่หน้า[[วัดราชบุรณราชวรวิหาร|วัดเลียบ]] [[กรุงเทพมหานคร]] และบูรณะวัดโคกเนินที่แม่กลองบ้านเดิมขึ้นเป็น[[วัดใหญ่ (จังหวัดสมุทรสงคราม)|วัดใหญ่]]<ref name=":0" /> พระยาราชประสิทธิ์ (กุน) เป็นที่รู้จักในนามว่า "เจ๊สัวกุน"<ref name=":2" /> มีความคุ้นเคยใน[[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก]]เมื่อครั้งยังทรงดำรงในตำแหน่งเจ้าพระยาจักรี<ref name=":2" /> ครั้งหนึ่ง พระยาราชประสิทธิ์ (กุน) ได้นำฉากไปมอบให้เจ้าพระยาจักรี เป็นโอกาสให้คุณชายฉิม (ต่อมาคือ[[พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย]]) บุตรของเจ้าพระยาจักรีได้แสดงความสามารถทางด้านกาพย์กลอน<ref name=":2" />
 
เมื่อ[[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก]]เสด็จขึ้นครองราชสมบัติเมื่อพ.ศ. 2325 ทรงแต่งตั้งพระราชประสิทธิ์ (กุน) ขึ้นเป็นพระยาศรีพิพัฒน์ จางวางกรมพระคลังสินค้า ต่อมาในพ.ศ. 2348 เมื่อ[[เจ้าพระยาพระคลัง (หน)]] ถึงแก่อสัญกรรม พระยาศรีพิพัฒน์ (กุน) ได้เลื่อนขึ้นเป็นพระยาพระคลัง เสนาบดีกรมคลัง<ref name=":1" /> ได้รับสมยานามว่า "ท่านท่าเรือจ้าง" เนื่องจากจวนเจ้าพระยาอยู่ที่ท่าเรือจ้างข้างวัดเลียบ
[[ไฟล์:วัดพระยาทำวรวิหาร เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร (12).jpg|thumb|[[วัดพระยาทำ]] บูรณะขึ้นโดยเจ้าพระยารัตนาธิเบศร์ (กุน รัตนกุน)]]
เมื่อ[[พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย]]เสด็จขึ้นครองราชสมบัติพ.ศ. 2352 ทรงแต่งตั้งพระยาพระคลัง (กุน) ขึ้นเป็นเจ้าพระยารัตนาธิเบศร์ที่สมุหนายก เจ้าพระยารัตนาธิเบศร์ (กุน) สร้างวัดขึ้นสามแห่งพร้อมกันได้แก่ วัดหัวเมือง (ปัจจุบันเป็นวัดร้างใน[[โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า]]) วัดกลางเมือง ([[วัดกลางบางซื่อ]]) และ[[วัดท้ายเมือง]]<ref>''กรมพระราชวังหลัง'' (กรุงเทพฯ : อมรโปรดักส์, 2534. ที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ พลตรี ม.ล. จวง เสนีวงศ์ 30 ก.ค. 2534). หน้า 151.</ref> นอกจากนี้ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าฯยังมีพระราชโองการให้เจ้าพระยารัตนาธิเบศร์บูรณะวัดนาคที่ริมคลองมอญขึ้นเป็น[[วัดพระยาทำ]] และเจ้าพระยารัตนาธิเบศร์ยังได้สร้างวัดที่[[เกาะเกร็ด]]คือวัดศาลาเจ้าคุณกุน หรือวัดศาลาจีนกุน กลายเป็นวัด[[วัดศาลากุล]]<ref>{{cite web |title=วัดศาลากุล หนุมานหลวงพ่อสุ่น |url=https://kohkred-sao.go.th/public/list/data/detail/id/165/menu/1240/page/1 |publisher=องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะเกร็ด}}</ref>ในปัจจุบัน
 
เจ้าพระยารัตนาธิเบศร์ (กุน) ถึงแก่อสัญกรรมในรัชกาลที่ 2 สันนิษฐานว่าก่อนวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2357 เนื่องจาก[[เจ้าพระยาอภัยภูธร (น้อย บุณยรัตพันธุ์)]] ได้ขึ้นมาเป็นสมุหนายกแทน