ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Nix Sunyata (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: เครื่องมือแก้ไขต้นฉบับปี 2560
บรรทัด 36:
จากศิลาจารึก[[ปราสาทพระขรรค์]] [[เมืองพระนคร]] ประเทศกัมพูชา ซึ่งจารึกโดย '''พระวีรกุมาร''' พระราชโอรสของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7{{ต้องการอ้างอิงตรงนี้}} จารึกชื่อเมือง 23 เมือง ที่พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทรงสร้างไว้ มีเมืองชื่อ '''ศรีชัยสิงห์บุรี''' ซึ่งสันนิษฐานกันว่าคือเมือง '''ปราสาทเมืองสิงห์''' นี่เอง{{ต้องการอ้างอิงตรงนี้}} และยังมีชื่อของเมือง '''ละโวธยปุระ''' หรือ [[ละโว้]] หรือ[[ลพบุรี]] ที่มี[[พระปรางค์สามยอด]] เป็นโบราณวัตถุร่วมสมัย
 
แต่ในเรื่องดังกล่าว[[ศรีศักร วัลลิโภดม|รองศาสตราจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม]] เห็นว่าการที่นำเอาชื่อเมืองที่คล้ายคลึงกันใน[[ที่ราบลุ่มแม่น้ำ|ลุ่ม]][[แม่น้ำเจ้าพระยา]]ไปเปรียบเทียบกับบรรดาเมืองในเส้นทางคมนาคมในจารึกปราสาทพระขรรค์อย่างง่ายๆ โดยไม่คำนึงถึงหลักภูมิศาสตร์ เท่ากับเป็นการบิดเบือนความจริงอย่างมักง่าย<ref name="sri">ศรีศักร วัลลิโภคม รองศาสตราจารย์. '''พัฒนาการทางสังคม-วัฒนธรรมไทย'''. กรุงเทพฯ:เมืองโบราณ, 2554. หน้า76</ref> เพราะบรรดาปราสาทขอมที่เรียกว่า[[อโรคยาศาล]]นั้นมักพบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (มีพบบ้างในบางส่วนของ[[จังหวัดปราจีนบุรี]]<ref name="sri"/> ซึ่งปัจจุบันได้แยกเป็น[[จังหวัดสระแก้ว]]) และมีรูปแบบแตกต่างจากปราสาทขอมที่พบในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาอย่างสิ้นเชิง<ref name="sri"/> ตรงข้ามกับบรรดาปราสาทของที่พบบนเส้นทางคมนาคมจากละโว้ถึง[[เพชรบุรี]]และปราสาทเมืองสิงห์ แต่ละแห่งก็มีรูปแบบที่แตกต่างออกไป จะมีความคล้ายคลึงกันแต่รูปเคารพ[[พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร]] และ[[นางปรัชญาปารมิตา]]ที่บ่งชี้ว่าน่าจะแพร่หลายมาจากเมืองละโว้ และพระโพธิสัตว์บางองค์นำมาจากเมืองพระนครก็มี<ref name="sri"/> แต่หลักฐานทั้งหมดก็มิได้ปฏิเสธความสัมพันธ์ทั้งสังคมและวัฒนธรรมระหว่างละโว้กับเมืองพระนครในกัมพูชา<ref name="sri"/>
ในสมัย [[รัชกาลที่ 1]] เมืองสิงห์ได้มีฐานะเป็นเมืองหน้าด่าน ในสมัย[[รัชกาลที่ 4]] โปรดให้เจ้าเมืองสิงห์เป็น พระสมิงสิงห์บุรินทร์ ต่อมาในสมัย[[รัชกาลที่ 5]] มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นแบบ[[มณฑลเทศาภิบาล]] ดังนั้นจึงยุบเมืองสิงห์ให้เหลือเป็นฐานะเพียงตำบลหนึ่งในจังหวัดกาญจนบุรี