ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อาวีญงปาปาซี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
DTRY (คุย | ส่วนร่วม)
→‎พระสันตะปาปาแห่งอาวีญง: เพิ่มลิงค์ไปยัง "ผู้อ้างตนเป็นพระสันตะปาปา".
Nubbkao (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
 
บรรทัด 2:
'''อาวีญงปาปาซี'''<ref>ราชบัณฑิตยสถาน, ''พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน'', ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 405</ref> ({{lang-en|Avignon Papacy}}) หรือ '''สมณสมัยอาวีญง''' คือช่วงเวลาที่[[พระสันตะปาปา]] 7 พระองค์ประทับ ณ เมือง[[อาวีญง]] [[ราชอาณาจักรฝรั่งเศส]] แทนการประทับที่กรุง[[โรม]]ตามปกติ<ref>''The Avignon Papacy'', P.N.R. Zutshi, '''The New Cambridge Medieval History: c. 1300-c. 1415''', Vol. VI, Ed. Michael Jones, (Cambridge University Press, 2000), 653.</ref> สืบเนื่องมาจากความขัดแย้งระหว่างองค์พระสันตะปาปากับ[[รายพระนามพระมหากษัตริย์และจักรพรรดิฝรั่งเศส|พระมหากษัตริย์ฝรั่งเศส]]
 
ภายหลังจากความขัดแย้งระหว่าง[[สมเด็จพระสันตะปาปาบอนิเฟซที่ 8]] กับ[[พระเจ้าฟิลิปที่ 34 แห่งฝรั่งเศส]] และการสิ้นพระชนม์ของ[[สมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 11]] ผู้สืบทอดตำแหน่งสมเด็จพระสันตะปาปาต่อจาก[[สมเด็จพระสันตะปาปาบอนิเฟซที่ 8]] และดำรงสมณศักดิ์ได้เพียง 8 เดือน [[การประชุมเลือกตั้งพระสันตะปาปา]]ให้[[สมเด็จพระสันตะปาปาเคลเมนต์ที่ 5|อาร์ชบิชอปแบร์ทร็อง]] ชาวฝรั่งเศส ขึ้นดำรงสมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระสันตะปาปาพระองค์ใหม่ในปี ค.ศ. 1305 ทรงปฏิเสธที่จะเสด็จย้ายจากฝรั่งเศสไปประทับที่กรุงโรม และในปี ค.ศ. 1309 ทรงย้ายสันตะสำนักมายังรัฐพระสันตะปาปา ณ อาวีญง ({{lang-en|Papal Enclave at Avignon}}) ซึ่งดำรงอยู่สืบต่อมาอีก 67 ปี ในบางครั้งการที่โรมไร้สมเด็จพระสันตะปาปาประทับอยู่ในครั้งนี้ถูกขนานนามว่า ''พระสันตะปาปาเป็นเชลยของบาบิโลน'' (Babylonian Captivity of the Papacy)<ref>Adrian Hastings, Alistair Mason and Hugh S. Pyper, ''The Oxford Companion to Christian Thought'', (Oxford University Press, 2000), 227.</ref><ref>[http://www.newadvent.org/cathen/07056c.htm Catholic Encyclopaedia entry] para 7</ref> โดยสมเด็จพระสันตะปาปาที่ครองสมณศักดิ์ ณ อาวีญงทั้ง 7 พระองค์ถัดมาล้วนแล้วแต่เป็นชาวฝรั่งเศสทุกพระองค์<ref>Joseph F. Kelly, ''The Ecumenical Councils of the Catholic Church: A History'', (Liturgical Press, 2009), 104.</ref><ref>Eamon Duffy, ''Saints & Sinners: A History of the Popes'', (Yale University Press, 1997), 165.</ref> และในเวลาถัดมาก็ทรงตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศสมากขึ้นเรื่อย ๆ จนในวันที่ 13 กันยายน ค.ศ. 1376 [[สมเด็จพระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 11]] ทรงตัดสินพระทัยเสด็จจากอาวีญงและย้ายสันตะสำนักกลับกรุงโรม (เสด็จถึงกรุงโรม ณ วันที่ 17 มกราคม ค.ศ. 1377) นับเป็นการสิ้นสุดลงของสมณสมัยอาวีญงอย่างเป็นทางการ
 
== พระสันตะปาปาแห่งอาวีญง ==