ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การสักยันต์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
InternetArchiveBot (คุย | ส่วนร่วม)
Rescuing 1 sources and tagging 0 as dead.) #IABot (v2.0.8
InternetArchiveBot (คุย | ส่วนร่วม)
Rescuing 1 sources and tagging 1 as dead.) #IABot (v2.0.8
บรรทัด 3:
[[ไฟล์:Yant-tattoo.jpg|thumb|250px|การสักยันต์ลงบนแผ่นหลัง]]
 
'''การสักยันต์''' เป็น[[การสัก]]ที่ต่างจากการสักทั่วไปที่มุ่งเน้นเรื่องความสวยงามหรือเพื่องาน[[ศิลปะ]] แต่การสักยันต์มีจุดประสงค์หลักในเรื่องของความเชื่อทาง[[ไสยศาสตร์]] เช่น จะทำให้มีโชค แคล้วคลาด ปลอดภัย อยู่ยงคงกระพัน และพ้นจากอันตรายต่าง ๆ โดยมีความเชื่อว่า รูปแบบลายสักหรือยันต์แต่ละชนิดจะให้คุณที่ต่างกัน<ref name="ประวัติ">[http://www.importancetattoo.com/th/article04.php ประวัติความเป็นมาในการสักยันต์ของไทย] {{Webarchive|url=https://web.archive.org/web/20130906095104/http://www.importancetattoo.com/th/article04.php |date=2013-09-06 }} {{th}}</ref> และผู้ที่ได้รับการสักยันต์จะต้องปฏิบัติตามข้อบังคับที่แต่ละสำนักกำหนดไว้ เช่น ห้ามด่า[[บิดา]][[มารดา]] ห้ามลบหลู่[[ครู]][[อาจารย์]] เป็นต้น<ref name="ข้อห้าม">[http://www.checkduang.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=5360630 การสักยันต์มีหลายสำนักที่มีกฏมีระเบียบว่าควรถืออะไรบ้างเมื่อสักยันต์ที่สำนักนั้นแล้ว] {{th}}</ref>
 
การสัก คือ ''การเอาเหล็กแหลมแทงลงด้วยวิธี การหรือเพื่อประโยชน์ต่าง ๆ กัน ใช้เหล็กแหลมจุ้มหมึกหรือน้ำมันแทงที่ผิวหนังให้เป็นอักขระ เครื่องหมายหรือลวดลาย ถ้าใช้หมึกเรียกว่าสักหมึก ถ้าใช้น้ำมันเรียกว่าสักน้ำมัน''<ref name="ประวัติ"/> ส่วนคำว่า "ยันต์" ตาม[[พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน]] กล่าวว่า ''ยันต์คือตารางหรือลายเส้นเป็นตัวเลข อักขระหรือรูปภาพที่เขียน สัก หรือแกะสลักลงบนแผ่นผ้า ผิวหนัง ไม้ โลหะ เป็นต้น ถือว่าเป็นของขลัง เช่น ยันต์ตรีนิสิงเห ยันต์พระเจ้า ๕ พระองค์ เรียกเสื้อหรือผ้าเป็นต้นที่มีลวดลายเช่นนั้นว่า เสื้อยันต์ ผ้ายันต์ เรียกกิริยาที่ทำเช่นนั้นว่า ลงเลข ลงยันต์''<ref name="พจนานุกรม">[http://dictionary.sanook.com/search/ยันต์ พจนานุกรมแปล ไทย-ไทย ราชบัณฑิตยสถาน]</ref>
 
== ประวัติ ==
การสักยันต์มีมาก่อน[[อาณาจักรสุโขทัย]] โดยต้นแบบน่าจะมาจาก[[ขอม]]ในขณะที่ขอมยังครอบครอง[[ดินแดนสุวรรณภูมิ]]เมื่อประมาณ 1,400 ปีที่แล้ว เพราะ[[อักษร|อักขระ]]และลวดลายที่ใช้สักกันนั้นเป็นแบบ[[อักษรขอม]] และใช้[[ภาษาบาลี]]เป็นส่วนใหญ่<ref>[http://tattoothai-magic.com/index.php?option=com_content&view=article&id=48&Itemid=60&lang=en ความเป็นมาของการสักยันต์]{{ลิงก์เสีย|date=กันยายน 2021 |bot=InternetArchiveBot |fix-attempted=yes }}</ref>
 
ส่วนใน[[ประเทศไทย]][[การสัก]]สืบทอดกันมาแต่โบราณ ในอดีต[[ข้าราชการ]]ของไทยจะทำตำหนิที่ข้อมือคนในบังคับซึ่งเป็นหน้าที่ของแผนกทะเบียนเป็นผู้บันทึกและรวบรวมสถิติชาย สันนิษฐานว่า การทำเครื่องหมายลงบนร่างกายนี้อาจมีมาตั้งแต่สมัย[[อาณาจักรอยุธยา|อยุธยา]]ตอนต้น ในรัชสมัยของ[[สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ]]<ref name="ประวัติ"/><ref> พระปลัดระพิน พุทธิสาโร. (2561). รหัสพุทธธรรม : ยันต์โสฬสที่วัดหน้าพระเมรุ จ.พระนครศรีอยุธยา Code of Buddhadahmma : Yantra Solasa in Wat Na Phra Meru in Ayutthaya http://gps.mcu.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/Yantra-12-6-63-1-1.pdf</ref>