ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กบฏอินเดีย ค.ศ. 1857"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Narutzy (คุย | ส่วนร่วม)
InternetArchiveBot (คุย | ส่วนร่วม)
Rescuing 1 sources and tagging 0 as dead.) #IABot (v2.0.8
บรรทัด 44:
บริษัทอินเดียตะวันออกเป็นบริษัทร่วมทุนสัญชาติอังกฤษที่มีจุดประสงค์เพื่อทำการค้ากับภูมิภาคอินเดียตะวันออก จัดตั้งในปี ค.ศ. 1600 บริษัทเข้ามาติดต่อค้าขายกับอินเดียและจัดตั้งสถานีการค้าในปี ค.ศ. 1612<ref>{{cite web|url=https://www.britannica.com/topic/East-India-Company|title=East India Company|website=Britannica.com|accessdate=November 10, 2019}}</ref> การเข้ามามีบทบาทในอินเดียทำให้บริษัทขัดแย้งกับเจ้าพื้นเมืองและบริษัทของชาติมหาอำนาจอื่น ๆ จนในปี ค.ศ. 1757 บริษัทอินเดียตะวันออกรบกับ[[จักรวรรดิโมกุล]]และประสบชัยชนะใน[[ยุทธการที่ปลาศี]] ทำให้ได้ครอบครองเบงกอล<ref>{{cite web|url=https://www.britannica.com/event/Battle-of-Plassey|title=Battle of Plassey|website=Britannica.com|accessdate=November 10, 2019}}</ref> หลังจากนั้นบริษัททำสงครามกับ[[ราชอาณาจักรไมซอร์]]และ[[จักรวรรดิมราฐา]] ทำให้ครอบครองดินแดนในอนุทวีปอินเดียมากขึ้น นักประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ลงความเห็นว่าการกบฏครั้งนี้มีที่มาจากหลายสาเหตุ ได้แก่ ความขัดแย้งด้านความเชื่อ การปกครองและพัฒนาอินเดียให้เป็นตะวันตกจนเกินไปของบริติช และการขูดรีดภาษี<ref>{{cite web|url=https://www.britannica.com/event/Indian-Mutiny|title=Indian Mutiny|website=Britannica.com|accessdate=November 10, 2019}}</ref><ref>{{cite web|url=https://www.thoughtco.com/the-indian-revolt-of-1857-195476|title=What Was the Indian Revolt of 1857?|author=Szczepanski, Kallie|website=ThoughtCo|date=August 12, 2019|accessdate=November 10, 2019}}</ref> อีกหนึ่งปัจจัยที่มักถูกพูดถึงคือข่าวลือเรื่องไขมันที่ชโลมปลอกกระสุนปืนเล็กยาวเอนฟิลด์ พี-53 ที่เป็นอาวุธประจำกายทหารซีปอยนั้นทำมาจากไขมันวัวและหมู ซึ่งวัวเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ของชาวฮินดูและหมูเป็นสัตว์ต้องห้ามของชาวมุสลิม<ref>{{cite web|url=https://www.thoughtco.com/sepoy-mutiny-of-1857-1774014|title=Sepoy Mutiny: Indian Revolt of 1857|author=McNamara, Robert|website=ThoughtCo|date=June 25, 2019|accessdate=November 10, 2019}}</ref>
 
วันที่ 29 มีนาคม ค.ศ. 1857 Mangal Pandey ทหารซีปอยผู้ไม่พอใจบริษัทอินเดียตะวันออกใช้ปืนยิงผู้บังคับบัญชาชาวบริติชก่อนจะถูกจับกุมและถูกประหารชีวิต<ref>{{cite web|url=https://www.britannica.com/biography/Mangal-Pandey|title=Mangal Pandey - Biography|website=Britannica.com|accessdate=November 10, 2019}}</ref> การประหารชีวิต Pandey ทำให้ทหารบางส่วนไม่พอใจจนในวันที่ 10 พฤษภาคม เกิดเหตุจลาจลในเมืองมีรัต อาคารต่าง ๆ ถูกเผาและมีประชาชนถูกฆ่า<ref name="David 2003 93">{{Harvnb|David|2003|p=93}}</ref> ทหารซีปอยบางส่วนที่ก่อการกำเริบเดินทางไปยังเดลีอันเป็นที่ประทับของจักรพรรดิ[[บาฮาดูร์ ชาห์ ซาฟาร์]]แห่งโมกุล และเรียกร้องขอการสนับสนุนซึ่งพระองค์ตอบรับ<ref name="Dalrymple">{{cite book|last=Dalrymple|first=William|authorlink=William Dalrymple (historian)|title=The Last Mughal|publisher=Viking Penguin|year=2006|isbn=0-670-99925-3|url=https://books.google.com/books?id=wYW5J-jQn8QC}}</ref> การจลาจลที่เดลีทำให้ทหารซีปอยหน่วยอื่น ๆ ลุกฮือตาม ชาวมุสลิมส่วนใหญ่เข้าร่วมฝ่ายกบฏ<ref>{{cite web|url=https://www.news18.com/news/india/in-1857-hindus-and-muslims-fought-side-by-side-to-take-india-back-from-the-british-sekhar-bandyopadhyay-1397113.html|title=In 1857, Hindus and Muslims fought side by side to take India back from the British|author=Bandyopadhyay, Sekhar|website=News18.com|date=May 10, 2017|accessdate=November 10, 2019}}</ref> ในขณะที่ชาวซิกข์และปาทานสนับสนุนฝ่ายบริติช<ref>{{cite magazine |last=Hussain |first=Hamid |title=The Story of the Storm — 1857 |url=http://www.defencejournal.com/2002/may/storm.htm |magazine=Defence Journal |location=Karachi |type=Opinion |access-date=2019-11-10 |archive-date=2007-09-30 |archive-url=https://web.archive.org/web/20070930030211/http://www.defencejournal.com/2002/may/storm.htm |url-status=dead }}</ref> ฝ่ายกบฏสามารถยึดเมืองสำคัญของ[[รัฐพิหาร]] [[หรยาณา]] [[มัธยประเทศ]] [[มหาราษฏระ]] และ[[อุตตรประเทศ]] ก่อนจะถูกทหารฝ่ายบริติชที่ได้กำลังเสริมมาจากเปอร์เซียและจีนตีโต้ วันที่ 21 กันยายน ฝ่ายบริติชยึดเมืองเดลีคืนจากฝ่ายกบฏได้สำเร็จและเนรเทศจักรพรรดิบาฮาดูร์ ชาห์และพระญาติไปที่[[ย่างกุ้ง]]<ref name=":3">{{Cite book|title=Justice System and Mutinies in British India|last=Bhatia|first=H.S.|publisher=|year=|isbn=|location=|pages=204|quote=|via=}}</ref> ปลายปี ค.ศ. 1857 ฝ่ายบริติชก็เริ่มยึดดินแดนสำคัญคืนได้และตีทัพฝ่ายกบฏในอินเดียกลางจนแตกพ่ายในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1858 ต่อมาวันที่ 8 กรกฎาคม มีการลงนามในสนธิสัญญาสันติภาพ ตามมาด้วยการล้างแค้นกบฏที่ก่อเหตุสังหารหมู่ชาวบริติชในการล้อมเมือง[[กานปุระ]]และ[[ลัคเนา]]ด้วยการแขวนคอหรือยิงด้วยปืนใหญ่<ref>''Long'' (1869), [https://books.google.com/books?id=QXwoAAAAYAAJ&pg=PR397#v=onepage&q=blown&f=false p.&nbsp;397–398]</ref> การกบฏจบลงในวันที่ 1 พฤศจิกายน เมื่อทางบริติชประกาศนิรโทษกรรมกบฏที่ไม่ก่อเหตุฆาตกรรม ก่อนจะประกาศว่าการกบฏจบลงอย่างเป็นทางการในวันที่ 8 กรกฎาคม ค.ศ. 1859<ref>{{cite book |last=Prichard |first=Iltudus Thomas |date=1869 |title=The Administration of India from 1859-1868: The First Ten Years of Administration Under the Crown |location=London |publisher=Macmillan & Co.}}</ref>
 
กบฏอินเดีย ค.ศ. 1857 เป็นเหตุการณ์ที่ทำให้จักรวรรดิโมกุลที่ดำรงอยู่นานกว่า 300 ปีต้องล่มสลาย<ref>{{cite web|url=https://www.britannica.com/topic/Mughal-dynasty|title=Mughal dynasty|website=Britannica.com|accessdate=November 10, 2019}}</ref> ด้านรัฐสภาสหราชอาณาจักรออก[[พระราชบัญญัติรัฐบาลอินเดีย ค.ศ. 1858]] ทำให้บริษัทอินเดียตะวันออกสิ้นสภาพในการปกครองอินเดียและถ่ายโอนอำนาจการปกครองไปยังราชสำนักอังกฤษโดยตรง<ref>Wolpert, Stanley (1989). ''A New History of India'' (3d ed.), pp. 239–40. Oxford University Press. ISBN 0-19-505637-X.</ref> ส่วนกองทหารซีปอยถูกรวมเข้ากับกองทัพอินเดียที่จัดตั้งใหม่ภายใต้บัญชาการของราชสำนักอังกฤษ